Posted on Leave a comment

“ปวดข้อเข่า” สาเหตุและการรักษาที่คุณควรรู้

ปวดข้อเข่า คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย อาการปวดข้อเข่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่มักมีกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังขาและข้อเข่ามาก ปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวด ดังนั้น หากเกิดอาการปวด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุด แต่หากเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจดูแลรักษาด้วยตนเอง

ปวดข้อเข่า รักษา

ลักษณะอาการปวดการข้อเข่า

ความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่า ขึ้นอยู่กับสาเหตุ บริเวณที่ปวด และสภาพทางกายภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยผู้ป่วยปวดเข่าจะมีอาการทั่วไปดังนี้

  • งอเข่าหรือยืดเข่าได้ลำบาก
  • ผิวหนังที่เข่าแดงหรือสัมผัสแล้วรู้สึกอุ่น
  • เกิดเสียงผิดปกติเมื่อขยับเข่า เช่น เสียงดังกึก เสียงลั่นในข้อ

บางครั้ง อาการปวดเข่าอาจเกิดขึ้นในระดับที่รุนแรง ดังนี้

  • เกิดอาการปวด ร่วมกับอาการบวม แดง และเป็นไข้
  • ไม่สามารถยืนได้ ล้มเมื่อพยายามยืน หรือเดินลำบาก
  • รู้สึกชาบริเวณขาข้างที่ผิดปกติ
  • เข่ามีรูปร่างผิดปกติ

สาเหตุของอาการปวดข้อเข่า

โดยทั่วไปแล้วอาการปวดเข่าเกิดจากสาเหตุหลัก คือ การบาดเจ็บบริเวณเข่า การอักเสบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการปวดเข่าอาจเกิดจากความผิดปกติบริเวณใกล้เคียงแต่ส่งผลให้มีอาการปวดที่เข่าได้ เช่น เกิดจากกลุ่มอาการปวดเข่าบริเวณกระดูกสะบ้า

การรักษาอาการปวดข้อเข่า

การรักษาอาการปวดข้อเข่าทำได้หลายวิธี แตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการปวด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การบำบัดรักษา การฉีดยา การผ่าตัด และการแพทย์ทางเลือก

  • การใช้ยาส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นก่อน และรักษาโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่ออาการปวดเข่า จี๊ดๆ หรือ ปวดเข่าตอนนอน เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์
  • กายภาพบำบัดรักษา แพทย์จะแนะนำวิธีการเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลัง ซึ่งในบางรายอาจให้ใช้เครื่องมือเสริมเพื่อป้องกันและรองรับแรงที่มากระทำกับข้อเข่า เช่น การใช้วัสดุรองรับอุ้งเท้าในผู้ป่วยข้อเสื่อม นอกจากนั้น ผู้ป่วยซึ่งปวดเข่าควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสียหายของเข่า ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายและเล่นกีฬาในท่าที่ถูกต้อง หรือหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การฉีดยา ในบางครั้งแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดยาเข้าไปที่เข่าโดยตรง ซึ่งยาที่แพทย์ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษา
  • การผ่าตัด แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปวดเข่าเข้ารับการผ่าตัด แต่โดยส่วนใหญ่อาการปวดเข่าไม่ใช่การบาดเจ็บที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ผู้ป่วยจึงควรศึกษาถึงผลกระทบของการรักษาก่อนการตัดสินใจผ่าตัด
  • การแพทย์ทางเลือก ปัจจุบันมีงานวิจัยออกมาให้ข้อมูลถึงวิธีการรักษาอาการปวดเข่าวิธีใหม่ ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือการฝังเข็ม
  • กลูโคซามีนและคอนดรอยติน (Glucosamine and Chondroitin) ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า กลูโคซามีนและคอนดรอยดิน ซึ่งเป็นสารที่มักถูกนำมาใช้เป็นอาหารเสริม หากรับประทานร่วมกัน จะมีประโยชน์ช่วยฟื้นฟูข้อเสื่อม โดยจะเห็นผลชัดเจนในผู้ป่วยที่มีอาการปวดปานกลางหรือปวดค่อนข้างรุนแรง

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี