Posted on Leave a comment

สาเหตุและอาการ “กระดูกหัวเข่าเคลื่อน”

กระดูกหัวเข่าเคลื่อน

ข้อ หรือข้อต่อ (joint) เกิดจากการประกอบกันขึ้นของปลายกระดูกอย่างน้อย 2 ชิ้น ข้อต่อในร่างกายคนเรามีมากมายหลายร้อยข้อ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ข้อที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า และข้อที่ยึดติดแน่นและรวมกัน เช่น กะโหลกศีรษะ

โดยทั่วไปแล้วข้อต่อเกิดจากกระดูกสองท่อนมาต่อกัน โดยมีเอ็นหรือพังผืดยึดเอาไว้ อาจมีช่องข้อหรือไม่มีก็ได้ การฉีกขาดของเอ็น หรือพังผืดที่ยึดจะทำให้เกิดข้อเคลื่อนขึ้นได้

ข้อเคลื่อน ภาษาอังกฤษเรียกว่า dislocation of joint หมายถึง การหลุดของข้อออกจากแนวปกติ ทำให้กลายเป็นข้อที่ไม่มั่นคง ดังนั้นข้อเคลื่อนจึงเป็นภาวะที่ปลายกระดูกหรือหัวกระดูกสองอัน ที่มาชนกันประกอบกันขึ้นเป็นข้อ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ทำให้เยื่อหุ้มข้อนั้นมีการฉีกขาดหรือมีการยืดของเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และเส้นประสาท บริเวณนั้นมีการฉีกขาดหรือชอกช้ำไป

ความไม่มั่นคงของข้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ระดับที่ข้อหลวมเพียงเล็กน้อย
  2. ระดับที่ผิวข้อเคลื่อนออกจากกัน แต่ยังมีบางส่วนสัมผัสกันอยู่
  3. ระดับที่ผิวข้อเลื่อนหลุดออกจากกันทั้งหมด

การที่ข้อต่อเคลื่อนหรือข้อต่อหลุด หมายถึง มีแรงมากกระทำที่ข้อนั้นอย่างรุนแรง จนทำให้เยื่อหุ้มข้อหรือบางคนเรียกว่าเอ็นยึดข้อ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงของข้อต่อนั้นๆ ฉีกขาด จนข้อเคลื่อนหรือหลุดออกจากกัน เมื่อมีข้อเคลื่อน ข้อหลุด จะต้องมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อเสมอ

ข้อเคลื่อน ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด แล้วมีปลายกระดูกอันหนึ่งหลุดออกมาข้างนอก
  2. มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อเป็นช่องเล็กมาก แต่กระดูกที่ดันผ่านช่องเล็กนั้นออกมาอยู่ข้างนอก ทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายๆกับการกลัดกระดุม
  3. การที่ข้อที่หลุดยังอยู่ในเยื่อหุ้มข้อ

สาเหตุของกระดูกข้อเคลื่อน

เกิดจากการบาดเจ็บที่ทำให้ข้อเคลื่อน เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากความเสื่อมเป็นแต่กำเนิด เช่น ข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด เป็นต้นแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

สาเหตุของกระดูกข้อเคลื่อน

พยาธิสรีรภาพ เมื่อมีแรงมากระทำที่ข้อจะทำให้ข้อเคลื่อนซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อของหลอดเลือด เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หากข้อที่เคลื่อนไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่เดิม เส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณข้อจะถูกกด ทำให้เกิดอัมพาตของเส้นประสาท (Nerve palsy) และเกิดการตายของเนื้อเยื่อตรงบริเวณที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดนั้นๆ นอกจากนี้กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่ได้รับอาหารจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเหมือนเดิม กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมลง และมีภาวะข้ออักเสบ ข้อจะเคลื่อนไหวได้จำกัดและมีอาการปวด

  1. สาเหตุอาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิด เกิดจากพยาธิสภาพ หรือเกิดจากการกระแทกที่บริเวณข้อ
  2. ข้อเคลื่อน ข้อหลุด พบได้บ่อยในกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ เกิดจากการที่หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า อาจหลุดออกเป็นบางส่วน หรือหลุดออกโดยสมบูรณ์ จะมีการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่หลุด ทำให้มีอาการปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ ติดขัด หรือถืงแม้เคลื่อนไหวได้ แต่ก็เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ รูปร่างของข้อจะเปลี่ยนไป
  3. ที่พบได้บ่อยจากการเล่นกีฬา คือ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสะบ้าหลุด ตัวอย่างเช่น ข้อไหล่หลุดจะพบว่า บริเวณไหล่ที่เคยนูน จะแบนราบลงเป็นเส้นตรง เหมือนไม้บรรทัด และไม่สามารถเอื้อมมือข้างนั้น ไปแตะบ่าด้านตรงข้ามได้ ข้อศอกหลุด จะพบว่า ส่วนข้อศอกนั้นนูนบวมขึ้น มองจากด้านหน้าจะพบว่า ต้นแขนยาวกว่าปลายแขน แต่ถ้ามองมาจากทางด้านหลัง จะพบว่า ต้นแขนสั้นกว่าปลายแขน เป็นต้น
  4. เกิดจากการถูกตี หกล้ม หรือการเหวี่ยง การบิด หรือกระชากอย่างแรงที่ข้อนั้น หรือเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน

อาการของกระดูกหัวเข่าเคลื่อน

อาการและอาการแสดงที่สำคัญของข้อเคลื่อน ได้แก่ ปวดมาก บวมรอบๆ ข้อ กดเจ็บ มีอาการฟกช้ำ รูปร่างของข้อที่ได้รับอันตรายเปลี่ยนรูปไปจากเดิมและความยาวของแขนหรือขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บอาจสั้นหรือยาวกว่าปกติ เคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้ตามปกติ

มีอาการปวดซึ่งจะลดลงทันทีเมื่อได้รับการรักษาโดยการจัดข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่ เมื่อข้อเคลื่อนหรือหลุดจะทำให้ข้อนั้นๆ เคลื่อนไหวได้ลดลงหรือไม่ได้เลย ทำให้แขนขาข้างที่ข้อเคลื่อนสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะผิดปกติ

อาการข้อเคลื่อนที่พบได้บ่อย

  1. บวม, ปวด, กดเจ็บบริเวณข้อ
  2. ข้อมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม สีของบริเวณข้อที่ได้รับบาดเจ็บเปลี่ยนไปจากเดิม
  3. การเคลื่อนไหวข้อทำไม่ได้ หรือทำได้น้อยมาก ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ
  4. มีการหดสั้นของอวัยวะ เช่น แขน หรือขา
  5. อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา
  6. การที่ข้อเคลื่อน อาจมีอันตรายต่อเส้นประสาท และหลอดเลือดใกล้เคียง

การรักษา กระดูกหัวเข่าเคลื่อน

ให้ใช้ความเย็นประคบเพื่อลดบวมและลดปวด ดึงข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่เดิมโดยไม่ต้องผ่าตัด (Close reduction) บางรายอาจต้องดมยาเพื่อดึงข้อให้เข้าที่เดิม หากไม่สำเร็จอาจต้องผ่าตัดเพื่อดึงข้อให้เข้าที่ ต่อมาให้ข้อพักอยู่นิ่งๆ นานประมาณ 3-6 สัปดาห์เพื่อให้เอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อหายเป็นปกติ ป้องกันมิให้ข้อหลุดอีก ข้อเล็กแพทย์จะใส่เครื่องพยุง เข้าเฝือกหรือดึงถ่วงไว้และนัดดูอาการหากข้อใหญ่ เช่น ข้อสะโพก จะรักษาโดยการดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (Skin traction) หลังจากดึงข้อให้เข้าที่แล้ว

  1. ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อ และกระดูกที่เคลื่อนให้อยู่ในท่าที่สบาย หรือเจ็บน้อยที่สุดก่อนพบแพทย์ โดยให้พักข้ออยู่นิ่งๆ
  2. ถ้าเป็นข้อเคลื่อนครั้งแรก อย่าพยายามดึงให้เข้าที่เอง
  3. ให้ข้อนั้นอยู่นิ่ง ๆ ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณข้อ หลักสำคัญคือต้องประคบด้วยความเย็น
  4. ใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ ให้ส่วนนั้นให้อยู่ในท่าพัก
  5. นำส่งโรงพยาบาล การทิ้งไว้นานจะทำให้การดึงเข้าที่ลำบาก และถ้านานเกินไปอาจต้องทำการผ่าตัด

การปฐมพยาบาลเมื่อมีข้อเคลื่อนหรือหลุดเกิดขึ้น อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงกระดูกหักได้ หรือบางรายอาจมีกระดูกหักชิ้นเล็กๆ ร่วมด้วย จึงควรเอกซเรย์ให้เห็นชัดเจน ก่อนที่จะดึงเข้าที่ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัดรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ อาจจะใช้มืออีกข้างช่วยประคองในกรณีที่เป็นไหล่ หรือข้อศอก จากนั้นประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อให้เลือดออกน้อยที่สุด แล้วรีบมาพบแพทย์ให้จัดการรักษาโดยทันที

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

อาการหน้ารู้ของ “กระดูกลูกสะบ้า”

กระดูกลูกสะบ้า

ในโรคนี้กระดูกอ่อนที่บุอยู่ผิวในของกระดูกสะบ้าจะมีลักษณะนิ่มตัวเป็นหย่อม ๆ ลักษณะของโรคเกิดขึ้นได้หลายช่วงอายุ เช่น ตั้งแต่วัยรุ่น วัยเด็กโต วัยผู้ใหญ่ ตลอดจนวัยสูงอายุ  ซึ่งมีอาการข้อเสื่อมร่วมด้วย  ในรายผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำ ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การที่กระดูกสะบ้าหลุดเคลื่อนที่

อาการของกระดูกลูกสะบ้า

จะเกิดความเจ็บปวดที่ด้านหลังของกระดูกสะบ้า  ทั้งนี้อาจเกิดจากรูปร่างไม่สบกันพอดีกับปลายล่างกระดูกต้นขา  เวลางอและเหยียดขาจะมีบริเวณหนึ่งที่รับน้ำหนักมากกว่า พวกที่เป็นในวัยเด็ก จะพบส่วนที่เป็นบริเวณกระดูกสะบ้าด้านหลังมีลักษณะสีเปลี่ยนเป็นสีเหลืองด้าน ๆ เป็นหย่อมขนาด ๐.๕-๑ ซม. และถ้ากดอาจลอกตัวขึ้นเป็นชิ้น  ถ้าเป็นมานานกระดูกอ่อนจะหลุดหายไปเลย  คงเหลือกระดูกใต้ผิวข้อรับน้ำหนักอยู่ ลักษณะความเจ็บปวดจะปวดร้าวไปบริเวณด้านหน้าและด้านในของเข่า  จะปวดเวลาเดินลงบันได ในการนั่งงอเข่านาน ๆ แม้นั่งเก้าอี้ก็จะทำให้ปวดได้ ต้องนั่งเหยียดขา ความเจ็บปวดจึงจะลดลง

สาเหตุ จากสันที่ขอบบนของผิวข้อส่วนมีเดียล คอนดาล์ยของกระดูกต้นขา ทำอันตรายแก่ส่วนผิวข้อของกระดูกสะบ้าด้านใน นอกจากนี้อาจจากสาเหตุอื่น ซึ่งยังไม่ทราบแน่

พยาธิวิทยา มีการเสื่อมสภาพที่ส่วนล่างทางพื้นผิวข้อด้านในของสะบ้าคือกระดูกอ่อนฮัยอาไลน์อ่อนตัวลง และมักจะเป็นร่อง อาจเป็นแผล และมักจะทำให้เกิดออสตีโออาร์ไธรติสของข้อระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา

ลักษณะทางคลินิค คนไข้บอกว่าปวดหลังกระดูกสะบ้า อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อออกกำลัง ขึ้นหรือลงบันได เข่าอาจทรุดอ่อนลงเป็นระยะ ในระยะต้นการตรวจเข่าจะพบว่าไม่มีอาการแสดงที่ผิดปรกติ มีเสียงเสียดสี (crepitus) ระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา ขณะงอและเหยียดข้อเข่า มีเสียงดังกริ๊กที่สะบ้าเกิดขึ้นขณะที่เหยียดเข่าเต็มที่ 150 องศา ทำให้ปวดได้ โดยการเสียดสีระหว่างสะบ้ากับกระดูกต้นขา ขณะที่ขาเหยียดตรง ถ้าสะบ้าเอียงไปด้านข้างและคลำพื้นผิวด้านหลังผ่านผิวหนัง จะทำให้ปวด นอกจากนี้ ในรายที่เป็นนานแล้วอาจมีน้ำในข้อเข่า ภาพรังสีข้อเข่าอาจปรกติ กระดูกใต้กระดูกอ่อนอาจทึบเพิ่มขึ้น ภาพรังสีกระดูกสะบ้าถ่ายท่า Skyline View อาจเห็นพื้นผิวข้อขรุขระเล็กน้อย

ลูกสะบ้า

วิธีการรักษาลูกสะบ้า

  1. การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าเพื่อให้เข่ากระชับ  การเสียดสี แรงกดที่เข่าจะได้ลดลง
  2. การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน
  3. การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าในระยะที่มีอาการปวดเข่า
  4. จะต้องหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้แรงที่ไปกดสะบ้าสูงขึ้น ได้แก่ คุกเข่า นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ และนั่งยองๆ
  5. รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดอาการปวด และการอักเสบเมื่อจำเป็น

หากการรักษาขั้นต้นไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด แพทย์จะไม่แนะนำวิธีนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากผลการรักษาก็ยังไม่ดีนัก

การผ่าตัดแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อทำความสะอาดแต่งผิวสะบ้าให้เรียบ รวมถึงการเจาะกระดูกเพื่อให้มีการซ่อมแซม
  2. การผ่าตัดจัดตำแหน่งลูกสะบ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในกรณีที่มีปัญหาลูกสะบ้าอยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

การป้องกันกระดูกลูกสะบ้า

การป้องกันโรคนี้ดีกว่าการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และมีวิธีป้องกัน ดังนี้

  1. การฝึกฝนกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง
  2. การลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับร่างกาย
  3. การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี การอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย  การยืดกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังเล่นกีฬา  และการเพิ่มระดับของกีฬาอย่างเหมาะสม

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

กลุ่ม “ยาทาแก้ปวดเข่า” ที่ได้ผลดี

ยาทาแก้ปวดเข่า

ปัจจัยสาเหตุของอาการปวดเข่า

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของข้อเข่า ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนักตัว การใช้งานของข้อเข่า การบาดเจ็บของข้อเข่า และความแข็งแรงของข้อเข่า เป็นต้น เมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีการใช้งานของข้อเข่ามากขึ้นและนานขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่า และเป็นโรคเข่าเสื่อมได้ ในเพศหญิงจะพบอาการข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่า เพศชายถึง ๒ เท่า ในคนอ้วนหรือเมื่อน้ำหนักมากขึ้น ข้อเข่าก็จะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อรับน้ำหนักตัวของเรานี้ ทำให้โรคนี้ลุกลามมากขึ้น ในด้านการใช้งานของข้อเข่า เช่น การยืนติดต่อกัน นานๆ การขึ้นบันไดจำนวนมาก การนั่งยองๆ การนั่ง พับเพียบ หรือการยกของหนัก เป็นต้น ถ้าต้องทำท่าทางเช่นนี้อยู่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ก็ช่วยเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยงให้เป็นโรคนี้มากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย เมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่าก็อาจส่งผลกระทบต่อการเสื่อมของข้อเข่าได้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก เราพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้

การรักษาเข่า โดยใช้ยาสมัยใหม่

หรือยาตามโรงพยาบาล คลินิก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาบำรุงกระดูกอ่อน ส่วนใหญ่แล้วยาประเภทนี้จะเป็นบรูเฟน , อินโดซิด , steroid ซึ่งจะมีผลข้างเคียงอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร ดังนั้นไม่แนะนำให้ทานติดต่อกันเป็นเวลานานครับ ควรจะปรึกษาแพทย์ ครับ

ยาที่ใช้รักษาอาการปวดเข่าก็มีตั้งแต่การใช้ยาแก้ปวดธรรมดาๆเช่น พาราเซตามอล ไม่ค่อยพบปัญหาหาใช้ตามขนาดที่กำหนด ยาแก้ปวดกลุ่มNSAID ซึ่งยากลุ่มนี้มักเป็นปัญหาเพราะหาซื้อง่ายแก้ปวดได้ดี แต่มักส่งผลให้ระคายเคืองกระเพาะอาจทำให้เลือดทางในทางเดินอาหาร หรือกระเพาะทะลุได้ รวมทั้งอาจมีผลต่อหัวใจได้ครับ ดังนั้นควรใช้อย่างระวังในความควบคุมการสั่งโดยแพทย์ครับ

ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (NSAIDs)

ยากลุ่ม NSAIDs (Non Steroidal Anti inflammatory Drugs หรือยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สตีรอยด์) ตัวอย่างเช่น แอสไพริน (aspirin) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ไพร็อกซีแคม (piroxycam) เป็นต้น ยากลุ่มนี้เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีผลกดการทำงานของไต ทำให้ร่างกายมีน้ำคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดการบวมน้ำและความดันเลือดสูงขึ้น และยังไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เมื่อเกิดแผลแล้วเลือดไหลหยุดยาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ยากลุ่มนี้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดหรืออักเสบเท่านั้น โดยให้กินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ควรหยุดยา หรือถ้าจะใช้ต่อเนื่องกันควรอยู่ภายใต้การดูแลสั่งจ่ายของแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งยังควรระวังการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่เป็นหรือมีประวัติการเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยโรคเลือด เป็นต้น

การรักษาเข่า โดยใช้ยาสมัยใหม่

ยายับยั้งเอนไซม์คลอออกซิเจน เนส-๒ (COX II inhibitors)

เพื่อลดอาการอันไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม NSAIDs จึงมีความพยายามในการวิจัยและพัฒนายากลุ่มใหม่ที่มีผลข้างเคียงลดน้อยลง คือ ยากลุ่ม COX II inhibitors ตัวอย่างเช่น เซเลค็อกซิบ (celecoxib), โรเฟ็กค็อกซิบ (rofecoxib) เป็นต้น ซึ่งทางทฤษฎีเชื่อว่ามีผลข้างเคียงต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยกว่ายากลุ่มเดิม แต่เมื่อมีการใช้ยากลุ่มใหม่นี้มากขึ้น ก็พบอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด จนเป็นเหตุให้บริษัทผู้ผลิตถอนยาโรเฟ็กค็อกซิบออกจากตลาดไป (เลิกจำหน่าย) พร้อมทั้งเพิ่มคำเตือนเกี่ยวกับอาการอันไม่พึงประสงค์ของยาที่ยังมีจำหน่ายอยู่ในตลาดให้ระวังเรื่องนี้มากขึ้น

ยากลูโคซามีน (Glucosamine)

ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์บำรุงกระดูกอ่อน และลดการเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อเข่า ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการรักษาประมาณ ๑ – ๑ ๑/๒ เดือน จึงจะได้ผลดี

ยาชุด

ยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมากในชนบท คือ ยาชุดแก้ปวดข้อ ที่มีการบรรจุยาหลายชนิด ๓-๕ เม็ดในซองเดียวกัน เพื่อให้กินทั้งหมดครั้งเดียวพร้อมกันเป็นชุด ซึ่งมักประกอบด้วยยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายกังวล ยาสตีรอยด์ เป็นต้น การใช้ยาชุดนี้มีอันตรายมากถ้ามีการใช้ติดต่อกันนานๆ (โรคข้ออักเสบ เป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันนานๆ) โดยเฉพาะยาสตีรอยด์ ถ้ามีการใช้ติดต่อกันมากกว่า ๗-๑๔ วัน ยานี้จะไปกดการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย เช่น ไต ภูมิคุ้มกัน เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นต้น เมื่อไตทำงานน้อยลง น้ำก็จะสะสมในร่างกายมากขึ้น ทำให้ตัวบวมน้ำ ความดันเลือดสูงขึ้น และเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายก็จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาชุดที่จัดรวมอยู่ในซองเดียวกันจำหน่ายในร้านยาหรือร้านชำทั่วไป เพราะมีอันตรายมาก

Posted on Leave a comment

“ปวดเข่าเวลาขึ้นลงบันได” สัญญาณบ่งบอกอาการเข่าเสื่อม

ปวดเข่าเวลาขึ้นลงบันได

อาการปวดข้อเข่าจากการขึ้นลงบันได เสียงก๊อกแก๊กดังจากหัวเข่ามีได้ 2 ลักษณะ คือ แบบที่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย และแบบที่มีเสียงร่วมไปกับอาการปวด หรือรู้สึกข้อเข่าไม่มั่นคง บางครั้งอาจทำให้เสียวเข่าได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่หัวเข่าแบบที่ไม่มีอาการปวดเข่าร่วมด้วยนั้น พบเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เป็นเวลานานๆ เช่นการนั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้เตี้ย เสียงดังในลักษณะนี้เกิดจากการขบกันของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นในข้อเข่า โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่ในกรณีที่มีเสียงที่ดังก๊อกแก๊ก หรือรู้สึกเข่าลั่น ร่วมกับอาการปวดเข่า อาจเกิดจากความผิดปกติบริเวณหัวเข่า เช่น ข้อเข่าเสื่อมจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระ หรือมีนำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อย ส่งผลให้เกิดการแทกระหว่างผิว ย่อมทำให้เกิดเสียงได้มากขึ้น หรือมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงดังเมื่อมีการขยับข้อเข่าได้เช่นกัน

เช็คอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง สัญญาณ “ข้อเข่าเสื่อม”

1. รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ
2. รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด
3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า
4. รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ
5. รู้สึกปวดเข่า และปวดเสียวมากขึ้นเมื่อต้องลงน้ำหนัก หรือยืนด้วยขาข้างเดียว
6. ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้ ขาโก่งมากขึ้น

ปวดเข่าเวลาขึ้นลงบันได ควรปฏิบัติอย่างไร

การลงบันไดย่อมเกิดผลเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทำให้ผู้ที่ข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้ว ยิ่งเสื่อมขึ้นไปอีก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะถูกเสียดสีจนเสื่อมเสียมากขึ้น เกิดกระดูกงอกหรือหินปูนมาแทนที่ ทำให้ผิวกระดูกภายในข้อขรุขระ และยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น เนื่องจากข้อเข่าเหยียดออกหรืองอไม่เต็มที่ ในกรณีที่เกิดอาการปวดกะทันหันจนอ่อนแรงลง เกิดจากเยื่อบุผิวภายในข้อหย่อนเกินไป จึงถูกหนีบระหว่างกระดูกในข้อเข่า เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง ทำให้หมดแรงลงทันที

จะเห็นได้ว่า การขึ้นลงบันไดโดยเฉพาะการลงบันไดนั้น มิใช่วิธีออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่ข้อเข่าเสื่อมเพราะกำลังของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอที่จะประคองข้อเข่าไว้ให้มั่นคงเวลาก้าวลง ถึงแม้ว่าการก้าวขึ้นบันไดมีผลเสียน้อยกว่าการก้าวลง แต่ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้วอาจเกิดผลเสียเช่นเดียวกับการก้าวลงบันไดด้วย จากการเสียดสีทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ และที่สำคัญคือ เมื่อเดินขึ้นบันไดแล้ว ย่อมต้องลงบันไดด้วย เมื่อเข้าใจกลไกของการขึ้นลงบันไดแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หรือเดินขึ้นลงบนทางลาดหรือที่ต่ำโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรหาผ้าพันยึดรัดข้อเข่าไว้เมื่อต้องเดินขึ้นลงบันได อาจเดินขึ้นทางบันไดแต่ลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์

แน่นอน วิธีที่ดีที่สุดคือ การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าให้แข็งแรง กล้ามเนื้อที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าที่ด้านหน้าของต้นขา ซึ่งกระดูกสะบ้าฝังตัวอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อนี้บริเวณหัวเข่า โดยเริ่มจากนั่งหรือนอนเหยียดหัวเข่าให้ตรง พยายามเกร็งกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขาให้กดเข่าลง เห็นกระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ขึ้นและลงเมื่อผ่อนกล้ามเนื้อ ทำครั้งละประมาณ 5-10 ครั้งทุก 2 ชั่วโมง อาจบริหารกล้ามเนื้อด้วยวิธีนี้ในท่ายืนได้ วิธีการออกกำลังกายนี้ นอกจากช่วยทำให้ข้อเข่ามั่นคงกระชับขึ้นแล้ว ยังทำให้กระดูกอ่อนที่บุผิวกระดูกภายในข้อเข่าเสื่อมช้าลง เพราะเป็นการช่วยให้อาหาร และออกซิเจนดูดซึมเข้ากระดูกอ่อนได้เร็วขึ้น

การออกกำลังกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขา ยังอาจใช้ถุงทรายถ่วงที่ปลายเท้าเพื่อต้านแรงเหยียดข้อเข่าอีก โดยอาศัยหลักการเล่นกล้ามสร้างให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ขึ้น แต่ทั้งนี้การเล่นกล้ามนั้นต้องใช้น้ำหนักมากที่สุดที่ขาจะยกได้ กล้ามเนื้อจึงจะโตและแข็งแรงกว่าปกติได้

การนั่งยองๆ เป็นอีกท่าหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง แต่อาจใช้เป็นท่าทดสอบว่า ข้อเข่าติดขัดในท่างอหรือไม่ กล้ามเนื้อมีกำลังพอที่จะพยุงข้อเข่าหรือไม่ เพราะข้อเข่าที่ติดขัดย่อมนั่งยองๆ ไม่ได้ และกล้ามเนื้อที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถลุกยืนตัวตรงจากท่านั่งยองๆ ดังกล่าวได้

ความเชื่อที่ว่า ข้อเข่าเสื่อมเพราะการนั่งพับเพียบนั้น อาจจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง แต่การนั่งพับเพียบเป็นเวลานานๆ ทำให้การซึมผ่านของอาหารไปยังกระดูกอ่อนเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว ทั้งนี้ชาวออสเตรเลียที่ไม่เคยนั่งพับเพียบเลยมีสถิติข้อเข่าเสื่อมมากไม่แพ้ประเทศไทย

ข้อเข่าเสื่อมจึงมีสาเหตุได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การใช้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น น้ำหนักมากไป ขึ้นลงบันไดมากไป วิ่งมากไป และการใช้ข้อเข่าน้อยเกินไป เช่น นั่งเฉยๆ เข้าเฝือกนานเกินไป ดังนั้น การปฏิบัติตนให้ถูกต้องย่อมป้องกันข้อเข่าเสื่อมได้

หากคุณมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง หรือเริ่มมีเสียงก๊อกแก๊กดังจากหัวเข่าร่วมกับมีอาการปวด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด และได้รักษาทันท่วงที หากละเลยอาจทำให้เกิดปัญหาในการทรงตัว หรืออาจเดินไม่ได้ต้องอยู่บนรถเข็น ้

แก้ไขอาการปวดเข่าจากการขึ้นลงบันได เข่ามีเสียงได้อย่างไร?

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม การรักษาในระยะแรกอาจใช้วิธีการบริหารหัวเข่า ถ้าอาการยังไม่มาก อาจเริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และกล้ามเนื้อสะโพก รวมถึงหลีกเลี่ยงการงอเข่ามากๆ เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้แข็งแรงแล้วจะช่วยทำให้ลูกสะบ้าเอียงน้อยลง ช่วยลดแรงกระแทก นอกจากนี้ควรใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี รับประทานยาบำรุงข้อ ใช้ที่พยุงข้อ ฉีดยา ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม หรือวิธีการผ่าตัด แต่หากเป็นหมอนรองกระดูกฉีกขาดอาจใช้วิธีบริหารข้อเข่า ฉีดยา หรือถ้าเป็นมากอาจต้องผ่าตัดส่องกล้อง
ทั้งนี้วิธีแก้ไขรักษาดังที่กล่าวมาจำเป็นต้องทำร่วมกับการลดน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากเรามีน้ำหนักตัวที่พอดี ก็จะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้ และหลีกเลี่ยงการยืน เดินนานๆ เพราะจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา และเพิ่มอาการบาดเจ็บมากขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สารพัดปัญหากับ “อาการชาที่หัวเข่า”

อาการชาที่หัวเข่า

“อาการชาที่หัวข่าว” เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากร่างกายขาดวิตามินบี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการบำรุงปลายเส้นประสาทโดยเฉพาะ แต่บางครั้ง อาการชาตามปลายมือปลายเท้าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน หรือภาวะขาดไทรอยด์ เป็นต้น เมื่อมีอาการหัวเข่าชา จึงไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ อาการชาขาข้างเดียวในลักษณะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น

  • มีกระดูกสันหลังเสื่อมหรือเคลื่อน
  • มีช่องไขสันหลังตีบแคบ
  • เส้นประสาทบริเวณขาถูกกดทับ
  • เส้นเลือดที่ขาอุดตัน

สาเหตุที่ทำให้ชาที่หัวเข่า

  • การนอนทับเส้น หรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ซึ่งกดทับเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนทำให้เกิดอาการชา
  • การขาดวิตามินบี เพราะวิตามินบีมีทำหน้าที่บำรุงและซ่อมแซมระบบประสาท หากร่างกายได้รับวิตามินบีน้อยเกินไปจะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ และมีอาการมือเท้าชา
  • การป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • การได้รับสารเคมีหรือยาบางชนิด การถอนยา เช่น การได้รับยากันชัก พิษจากโลหะหนักบางชนิด อาการถอนยากลุ่ม Benzodiazepine
  • ภาวะเครียด หรือ วิตกกังกวล
สาเหตุที่ทำให้ชาที่หัวเข่า

มือเท้าชาเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

โรคที่เป็นสาเหตุของอาการมือเท้าชามีหลายโรค โดยจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค เช่น

  • โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไขข้อกระดูก เนื่องจากกระดูกหรือข้ออยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และขัดขวางการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ช้า ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการชาตามมือตามเท้าแล้ว ก็ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ อีกด้วย
  • โรคเบาหวาน อาการมือเท้าชา เป็นอาการหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการรุนแรง ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดที่สุด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลเพิ่มสูงกว่าที่เป็นอยู่ 
    แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ให้สังเกตว่า มีอาการอื่นๆ ของโรคเบาหวานหรือไม่ เช่น ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว หิวบ่อยมากขึ้น เป็นต้น หากพบว่ามีแนวโน้มจะเป็น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเบาหวาน และสาเหตุของอาการมือเท้าชาโดยด่วน
  • ภาวะขาดไทรอยด์ เมื่อมีอาการมือเท้าชา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งสังเกตได้จากการเป็นตะคริวบ่อยๆ มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย บางรายอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย
    หากอาการไม่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการงดรับประทานอาหารที่มีไขมัน เลือกรับประทานธัญพืชเป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยอาหารเสริมจำพวกแร่ธาตุสังกะสี และแร่ธาตุซีเลเนียม
  • พิษสุราเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้เกิดอาการมือเท้าชาได้ เกิดจากการดื่มสุรามากเกินไป ในขณะเดียวกันก็รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ ส่งผลให้เกิดอาการมือเท้าชาในที่สุด
    สำหรับใครที่มีอาการมือเท้าชาบ่อยๆ และเป็นคนที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำด้วยแล้ว สงสัยได้เลยว่า นั่นอาจเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรังก็ได้
  • ภาวะติดเชื้อ เกิดจากร่างกายติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันแย่ลง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบางชนิดไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะวิตามินบี ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาตามปลายมือปลายเท้า นอกจากนี้ หากเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต ก็อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
    วิธีสังเกตว่า ตนเองติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือไม่ ให้ดูว่า มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็วกว่าปกติร่วมด้วยหรือไม่ หากไม่แน่ใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเม็ดเลือดขาวซึ่งจะทราบผลได้เร็วที่สุด
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวบางโรค ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือเท้าชาได้เหมือนกัน เช่น โรคหลอดเลือด โรคไต โรคอักเสบเรื้อรัง หรือในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น

วิธีรักษาอาการมือเท้าชา

วิธีรักษาอาการมือเท้าชา แบ่งออกตามความรุนแรงและอาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

  • การรักษาเมื่ออาการไม่รุนแรง
    กรณีที่มีอาการมือเท้าชาแบบไม่รุนแรงมากนัก เช่น มีอาการชาแปล็บๆ ซ่าๆ เป็นระยะ สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางใหม่ หรือสะบัดข้อมือสักพัก ก็จะช่วยให้อาการชาค่อยๆ ทุเลาลง และหายไปในที่สุด แต่หากมีอาการชาแบบนี้บ่อยๆ อาจรักษาด้วยการรับประทานวิตามินบีเสริม และให้ยาต้านการอักเสบของเส้นประสาทและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยบำรุงและซ่อมแซมเส้นประสาทได้ดี
  • การรักษาเมื่ออาการรุนแรงและต่อเนื่อง
    สำหรับผู้ที่มีอาการชามือและเท้า แบบรุนแรงและต่อเนื่อง แม้จะสะบัดมือหรือเปลี่ยนท่าทางแล้ว อาการชาก็ยังไม่ทุเลาลง การรักษาเริ่มแรก แพทย์จะให้ยาต้านการอักเสบของเส้นประสาทก่อน และเฝ้าดูผลการรักษา หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะผ่าตัดเอ็นที่กดรัดเส้นประสาทนั้นออก
  • การรักษาตามอาการ
    หากอาการมือเท้าชา มีสาเหตุมาจากโรคร้ายบางโรค การรักษาจะต้องรักษาตามอาการที่เป็นอยู่ พร้อมกับรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุไปด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้ค่อยๆ ทุเลาลง และไม่รุนแรงกว่าเดิม นอกจากนี้ ในบางรายแพทย์ก็อาจจะให้วิตามินเสริมแก่ร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบีที่จะช่วยบำรุงระบบประสาท และลดอาการชาตามมือตามเท้าได้ดี

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดตึงเข่า” อาการที่คนออกกำลังกายต้องเจอ

ปวดตึงเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน นักกีฬา ผู้ที่บาดเจ็บจากการออกกำลังกายก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยจุดเริ่มต้นอาการอาจเริ่มจากปวดหลัง
ปวดก้น และลุกลามทำให้เกิดอาการปวดที่เข่า  อาการปวดเข่าเช่นนื้จึงเกิดจากกล้ามเนื้อก้นอ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อที่สะโพกไม่สมดุล ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักอาการปวดเข่าในแบบต่างๆ ว่ามีอาการแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้หาทางแก้ไขให้ถูกต้นตอของปัญหา

* ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

เป็นการประเมินอาการของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม บ่งถึงอาการปวดมาก ตึงมาก ใช้งานข้อได้น้อยมิติ ประกอบด้วย

  1. อาการปวดข้อ (Pain dimension)
  2. อาการข้อฝืด ข้อตึง (Stiffness dimension)
  3. การใช้งานข้อ (Function dimension)

1. อาการปวดข้อ (Pain dimension)

  • ปวดข้อเข่าขณะเดิน ในอิริยาบถเดินบนพื้น เรียบ เช่น เดินในห้างสรรพสินค้า ท่านมีอาการปวดเข่ามากน้อยเพียงไร?
  • ปวดข้อเข่าขณะขึ้นลงบันได ภายหลังท่านขึ้นลงบันได 1 ชั้น ท่านมีอาการปวดเข่ามากน้อยเพียงไร? หากอาการปวดไม่เท่ากันในขณะขึ้น หรือลงบันได ให้บันทึกในส่วนที่มีอาการปวดมากกว่า
  • ปวดข้อเข่าตอนกลางคืน ในช่วงกลางคืน ท่านมีอาการปวดเข่าที่รบกวนการนอนหรือไม่
  • ปวดข้อเข่าขณะพัก ในอิริยาบถที่พักการใช้งานข้อ หรือขณะนั่งเฉยๆ ไม่ยืน ไม่เดิน ท่านมีอาการปวดเข่ามากน้อยเพียงไร?
  • ปวดข้อเข่าขณะยืนลงนํ้าหนัก ท่านมีอาการปวดเข่ามากน้อยเพียงไร หากท่านยืนลงน้ำหนักขาข้างที่ปวด โดยไม่มีการขยับข้อเข่า

2. อาการข้อฝืด ข้อตึง (Stiffness dimension) อาการข้อฝืด ยึดตึงของท่านในแต่ละช่วงของวัน

  • ข้อฝืดช่วงเช้า (ขณะตื่นนอน) ขณะตื่นนอนตอนเช้า ท่านสามารถขยับข้อเข่าได้ดีหรือไม่ ท่านรู้สึกว่าข้อเข่าตึงมากน้อยเพียงไร ? 
  • ข้อฝืดในช่วงระหว่างวัน ในช่วงระหว่างวันที่ท่านทำงาน หากท่านเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เช่น จากท่านั่งไปยืน หรือจากยืนไปเดิน เป็นต้น ท่านสามารถขยับข้อเข่าได้ดีหรือไม่ ท่านรู้สึกเหมือนมีกาวยึดข้อเข่าไว้ หรือรู้สึกตึงมากน้อยเพียงไร ? (หมายเหตุ: บางรายจะมีอาการตึงมากตอนเช้า ในขณะที่บางรายรู้สึกตึงมากในระหว่างวัน)
อาการปวดตึงเข่า

3. การใช้งานข้อ (Function dimension) ความสามารถในการใช้งานข้อของท่านในอิริยาบถต่างๆ

  • การลงบันได ท่านมีความลำบากในการลงบันได ท่านสามารถทำได้คล่องแคล่วหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับวามสามารถในวัยหนุ่มสาว
  • การขึ้นบันได ท่านมีความลำบากในการขึน้ บันได ท่านสามารถทำได้คล่องแคล่วหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับวามสามารถในวัยหนุ่มสาว
  • การลุกยืนจากท่านั่ง ท่านมีความลำบากในขณะเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่ง (เก้าอี้) ไปยืน ท่านสามารถทำได้คล่องแคล่วหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในวัยหนุ่มสาว
  • การยืน ท่านมีความลำบากในการยืนหรือไม่? ท่านสามารถยืนได้นานหรือไม่? เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในวัยหนุ่มสาว 
  • การเดินบนพื้นราบ ท่านมีความลำบากในการเดินพื้น เรียบ เช่น เดินในห้างสรรพสินค้าหรือไม่ 
  • การขึ้นลงรถยนต์ ท่านมีความลำบากในอิริยาบถขึ้นลงจากรถยนต์หรือรถโดยสารมากน้อยเพียงไร เมื่อเปรียบเทียบกับ ความสามารถในวัยหนุ่มสาว
  • การไปซื้อของ ท่านสามารถไปตลาด หรือไปซูเปอร์มาร์เก็ต จับจ่ายใช้สอยได้เหมือนสมัยหนุ่มสาวหรือไม่? (หมายเหตุ : คนที่ตอบว่าไม่ไปแล้วเพราะไม่จำเป็นต้องไป ให้ถามว่าหากให้ไป สามารถไปได้ดีหรือไม่)
  • การใส่กางเกง ท่านมีความลำบากในอิริยาบถใส่กางเกง (ชั้นใน หรือชั้นนอก)สามารถยืนใส่ได้ดีเหมือน เดิมหรือไม่?
  • การลุกจากเตียง ท่านมีความลำบากในขณะเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านอนแล้วลุกขึ้นนั่ง ข้างเตียง
  • การถอดกางเกง ท่านมีความลำบากในการถอดกางเกง (ชั้นใน หรือชั้นนอก) สามารถยืนถอดได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่? หรือต้องนั่งจึงจะถอดได้
  • การอาบนํ้าเอง ท่านมีความลำบากในการอาบน้ำหรือไม่? ต้องการคนช่วยอาบหรือไม่
  • การนั่ง ท่านมีความลำบากในการเปลี่ยนอิริยาบถจากยืนลงนั่งเก้าอี้ (ไม่ใช่นั่งพื้น )
  • การนั่งส้วม ท่านมีความลำบากในการนั่งส้วม (ส้วมที่ใช้ประจำ) หรือไม่? เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในวัยหนุ่มสาว การลงนั่ง หรือลุกขึ้น จากโถลำบาก หรือทุลักทุเล
  • การทำงานบ้านหนักๆ ท่านมีความลำบากในการทำงานบ้านหนัก ๆ เช่น ล้างห้องน้ำล้างรถ รดต้นไม้ในสวน ถูบ้าน ดูดฝุ่นตัดหญ้า กวาดใบไม้ ยกหรือหิว้ ของหนัก เป็นต้น ท่านสามารถทำได้คล่องแคล่วเหมือนเดิมหรือไม่? เมื่อเปรียบเทียบ กับความสามารถในวัยหนุ่มสาว 
  • การทำงานบ้านเบาๆ ท่านมีความลำบากในการทำงานบ้านเบา ๆ เช่น ทำกับข้าว ล้างถ้วยจาน ปัดฝุ่น เช็ดโต๊ะ จัดโต๊ะ เป็นต้น ท่าน สามารถทำได้คล่องแคล่วเหมือนเดิมหรือไม่? เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในวัยหนุ่มสาว

หากดูแลตัวเองตามที่แนะนำข้างต้นแล้วภายใน 3-5 วันอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก่อนที่อาการจะลุกลาม

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สัญญาณอันตราย “เวลาลุกแล้วปวดเข่า”

เวลาลุกแล้วปวดเข่า

ในแต่ละวันคนเราเคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวในหลายทิศทาง  แต่อวัยวะส่วนที่รับศึกหนักที่สุดคือ  ” เข่า ” ข้อต่อของกระดูกรับน้ำหนักช่วงล่าง  ที่ต้องแบกรับน้ำหนักของอวัยวะทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะเรื่อยลงมาจนถึงโคนขา

เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมีหน้าที่หลักคือ  งอและเหยียดตรงหรือหมุนได้เล็กน้อย  แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ การรับน้ำหนักของร่างกายเอาไว้นั่นเอง  บางขณะของการเคลื่อนไหวเข่าต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ  เช่นขณะที่ก้าวขึ้นบันได  เข่าต้องรับน้ำหนักของตัวเราเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า  ขณะที่ลุกขึ้นยืน  น้ำหนักตัวทั้งหมดจะทิ้งมาที่ข้อเข่า  เวลากระโดด   วิ่ง  ข้อเข่าจะถูกกระแทกด้วยน้ำหนักตัวส่วนบนทั้งหมดทุกครั้ง  ดังนั้นจะทำอะไรก็ให้นึกถึงเข่าเอาไว้บ้าง  ว่าอาจได้รับบาดเจ็บเอาง่าย ๆ

หลายๆ คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกเดินไปไหน จะต้องเคยปวดหลังบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ อาการปวดหลังใครๆ ก็เป็นได้ แต่ปวดหลังแบบไหนที่เป็นเรื่องปกติ แบบไหนที่อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องรีบหาหมอด่วน เพราะเป็นสัญญาณอันตราย เตือนภัยถึงโรคที่อาจจะต้องใช้เวลารักษานับปีได้ ไปดูกัน

สัญญาณอันตรายในข้อเข่า

  1. เจ็บปวด  คืออาการที่พบบ่อยที่สุดกับข้อเข่า  เริ่มตั้งแต่ปวดแบบเมื่อยๆ พอทน  ปวดเป็นพัก ๆ หรือในรายที่ได้รับบาดเจ็บก็จะปวดแบบเฉียบพลันได้เหมือนกัน  การปวดเข่ามักพบในคนวัยกลางคนเรื่อยไปจนถึงผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะในคนที่มีอิริยาบทประจำวันซ้ำๆ  เช่น  นั่งทั้งวัน  ยืนทั้งวัน  นั่งพับเพียบนานๆ  นั่งสมาธินานๆ ท่าทางเหล่านี้ข้อเข่าจะถูกกดทับ  และเอ็นกับกล้ามเนื้อจะถูกยึดมาก  ทำให้ปวดได้ง่าย  และอาจเรื้อรังได้ด้วย  ยิ่งในกลุ่มของคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย  ยิ่งพบอาการเช่นนี้ในวัยที่สูงขึ้นมากที่สุด
  2. ฝืด หรือ ยึด  อาจเป็นเฉพาะในบางช่วง  เช่น นั่งนานๆ แล้วลุก  หลังตื่นนอนตอนเช้า  หรือหลังได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า  ถ้าคุณเคยมีอาการอย่างนี้ละก็  แสดงว่า ข้อเข่าเริ่มมีปัญหาเสียแล้ว  ต้องหันมาสนใจและค้นหาสาเหตุให้พบ รวมทั้งวิธีผ่อนคลายที่ดีที่สุด  คือการบีบนวด  และดัดเหยียดเข่าให้ตรง  เพื่อยึดกล้ามเนื้อด้านหลังเข่า  และควรฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  3. บวม   ถ้าบวมทันที  หลังจากได้รับบาดเจ็บ  สาเหตุมักมาจากเลือดออกในข้อ  แต่ถ้าเข่าบวมอย่างช้า ๆ มักเกิดขึ้นเพราะความผิดปกติขององค์ประกอบภายใน
  4. เข่าอ่อน   มีหลายสาเหตุ  ที่พบมากเกิดขึ้นเพราะบางองค์ประกอบภายในข้อขัดขวางการงอหรือเหยียดเข่าในทันที  เช่น  กระดูกอ่อนหรือเส้นเอ็นฉีกขาด เศษกระดูกหลุดอยู่ในข้อ ฯลฯ
  5. เสื่อม  มักพบในหญิงวัยกลางคน ร่วมกับปัจจัยเสริม เช่นหกล้ม  เดินทางไกล  นั่งคุกเข่านานๆ ยืนนาน  เหล่านี้เป็นต้น  อาการที่ฟ้องให้รู้ว่าเข่าของคุณอาจเสื่อมก็คือ  มักปวดโดยเข่าไม่บวม  โดยเฉพาะเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นขณะก้าวขึ้นลงบันไดหรือเดินระยะไกลๆ  ต่อมาเดินในระยะใกล้ก็ปวด  ลุกจากเก้าอี้ก็ปวด  เข่าอ่อน  หกล้มง่าย  ในรายที่เรื้อรังอาจมีน้ำคั่ง  เข่าอุ่น  หรืออาจมีรูปเข่าผิดไปจากปกติได้
  6. กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอักเสบ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น นั่งในท่าเดิมนานๆ ก้มๆ เงยๆ บ่อย ทำงาน หรือเล่นกีฬาที่ต้องเอี้ยวตัวในท่าเดิมซ้ำๆ นานๆ เมื่อใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นแล้วจะรู้สึกปวด อาการปวดแบบนี้ เพียงแค่หยุดใช้บริเวณช่วงข้อต่อที่ปวดสักพัก อาการปวดก็จะดีขึ้นได้เองเช่นกัน
  7. ข้อต่ออักเสบ เกิดจากการใช้ข้อตาอที่เดิมซ้ำๆ เช่น ก้มๆ เงยๆ บิดตัวไปมา อาการคล้ายกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นอักเสบ เพียงแต่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อ เช่น ข้อเท้า หัวเข่า หัวไหล่ อาการปวดแบบนี้ เพียงแค่หยุดใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นสักพัก อาการปวดจะดีขึ้น และหายได้เอง
สัญญาณอันตรายในข้อเข่า

ทำอย่างไรไม่ให้อาการปวดเข่ากำเริบ

         ถ้ายังไม่ปวด  หรือแม้กระทั่งปวดจนทนทุเลาลงแล้ว  ควรใช้วิธีเหล่านี้สำหรับการป้องกันอาการปวดเข่ากำเริบ 

  1. พยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป หรือน้อยเกินไป  โดยควบคุมการบริโภคไขมัน  แ้ง  และโปรตีน  สร้างอุปนิสัยในการรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนเหมาะสม  และอย่าเอาเรื่องอ้วนหรือไม่อ้วนมาวิตกกังวลซ้ำเข้าไป
  2. มีใจสงสาร อย่าแสดงฤทธานุภาพของตัวเองด้วยการยกน้ำหนักเกินกำลัง  เล่นกีฬาอย่างหักโหม  นั่งพับเพียบบำเพ็ญเพียรอย่างยาวนาน  ฯลฯ  พึงสังวรไว้ว่า  เข่าเท่านั้นที่รับศึกหนักตามลำพังจากอาการ  ” เกินพอดี ”  ของคุณสงสารมันซะบ้าง
  3. จัดกิจวัตรใหม่  ในแต่ละวัน  รู้จักออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อเข่าเสียบ้าง  อย่ามัวแต่นอนหลับไม่รู้  นอนคู้ไม่เห็น  หรือคิดแต่จะกิน จะนอน  จะทำงาน  เพียงอย่างเดียว
  4. พบแพทย์แต่เนิ่นๆ หากมีอาการปวดเข่าแบบผิดสังเกต  ควรไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด  เพื่อขอคำปรึกษา และลงมือรักษาเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ปล่อยนานไป  การฟื้นฟูให้กลับมาสู่ภาวะปกติยิ่งทำได้ยาก

      ในกรณีนี้  ทางออกคือ  พิจารณาว่าตัวเองน้ำหนักมากไปไหม  หากอ้วนให้พยายามลดน้ำหนัก  ประคบร้อนราว  10- 15 นาที  เสี่ยงการนั่งยองๆ  ใช้ไม้เท้าช่วยขณะเดิน  เลี่ยงการนั่งพับเพียบ  ห้ามนวด  ถู  หรือดัดเข่าด้วยแรงที่หนักเกินไป  ขณะเดียวกันให้หาวิธีบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงขึ้นบ้าง  ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะแนะนำได้

ส่วนใครที่มีอาการปวดหลังแบบปวดๆ หายๆ แต่ไม่มีความผิดปกติอื่น อาจเกิดจากการนั่งทำงาน หรือเอี้ยวตัวในท่าเดิมๆ นานจนเกินไป ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายบ้าง และหลีกเลี่ยงการยกของหนักจนเกินไป หากเป็นผู้สูงอายุก็สามารถยืดเส้นยืดสายช้าๆ เพื่อป้องกันการอักเสบของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

อาการและสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ “เส้นเอ็นหัวเข่าตึง”

เส้นเอ็นหัวเข่าตึง

เอ็น หรือ เอ็นยึด หรือ เส้นเอ็น (ligament) หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลายทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด เอ็น หมายถึง เนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า  เอ็นข้อต่อ,   เอ็นเส้นใย,  เอ็นแท้

  • เอ็นคล้ายคลึงกับเอ็นกล้ามเนื้อและพังผืด เอ็น ประกอบด้วย คอลลาเจน
  • เอ็นยึดระหว่างกระดูกชิ้นหนึ่งกับกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง
  • เอ็นกล้ามเนื้อยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก
  • พังผืดเชื่อมกล้ามเนื้อมัดหนึ่งกับกล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่ง

เส้นเอ็นเข่า แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่… 

  1. อยู่ทางด้านข้างของข้อทางด้านใน จะจำกัดการเคลื่อนไหวทางด้านข้าง      
  2. อยู่ทางด้านข้างของข้อทางด้านใน จะจำกัดการเคลื่อนไหวทางด้านข้าง      
  3. อยู่ภายในข้อเข่า เอ็นลักษณะไขว้กันอยู่ทางด้านหน้า ซึ่งจำกัดการเคลื่อนไหวทางด้านหน้า     
  4. อยู่ภายในข้อเข่า เอ็นลักษณะไขว้กันอยู่ทางด้านหน้าจำกัดความเคลื่อนไหวทางด้านหลัง
    กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำหน้าที่รองรับและให้ความมั่นคงกับข้อ และช่วยในการเคลื่อนไหว

เส้นเอ็นเข่ายึด เส้นเอ็นเข่าตึง อาการ

“เส้นยึด เส้นตึง” คำพูดที่ฟังดูคุ้นหูแต่ไม่ค่อยจะน่าเอ็นดูสักเท่าไหร่ เพราะถ้ามีอาการขึ้นมาทีไร เป็นต้องรีบแจ้นไปหาหมอนวดทุกที เวลาที่เราพูดถึงเส้นยึดนั้นเข้าใจกันหรือไม่ว่าอาการเป็นอย่างไร เส้นอะไรที่ยึด แล้วกับการที่ต้องไปนวดกันทุกสัปดาห์นั้นช่วยได้จริงหรือ

“เส้น” หมายถึงเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างข้อกับกล้ามเนื้อ ซึ่งมีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย แต่เส้นที่ยึดกันส่วนใหญ่ มักเป็นเส้นเอ็นระหว่างสะโพกที่เกาะจากสะโพกไปข้อเข่า เส้นเอ็นข้างข้อเข่า เส้นเอ็นต้นคอ เส้นหลัง และส่วนมาก 80% เส้นที่สามารถตึงตัวได้บ่อย คือ เส้นเอ็นบ่า หรือที่มักเรียกกันว่า สะบักจม

“ยึด” คือ อาการที่เส้นเอ็นเกิดการตึงตัว เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดรั้ง ขาดความยืดหยุ่น หากทิ้งให้กล้ามเนื้อหดตัวนานๆ ไม่คลาย จะเป็นก้อนแข็งตึง กดแล้วเจ็บ พบมากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ และกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากการใช้ร่างกายซ้ำๆ อยู่ในท่าเดิมนานๆ รวมไปถึงการใช้อิริยาบถที่ผิดท่าผิดทาง

การนวดเป็นการบรรเทา หรือการรักษาชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ถ้านวดแล้วไม่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ชีวิตก็กลับไปตึงเหมือนเดิม ถ้าคุณยังนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ วันละ 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน เมื่อมีอาการปวด พอถึงวันหยุดก็วิ่งไปหาหมอนวดกันสักครั้ง เช้าวันจันทร์ก็กลับไปนั่งกันใหม่ ชีวิตวนไปอยู่แบบนี้ บอกได้ทันทีว่าอาการเส้นยึด เส้นตึง ก็จะวนเวียนอยู่กับคุณแบบนี้ไม่มีทางหาย

เส้นเอ็นเข่ายึด เส้นเอ็นเข่าตึง อาการ
  • “เส้นยึด เส้นตึง” พบมากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ และกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • การฉีดยาคลายกล้ามเนื้อตรงบริเวณที่มีอาการยึดตึง จะช่วยกล้ามเนื้อบริเวณนั้นให้คลายตัวและกลับมามีความยึดหยุ่น แต่ควรต้องปรับเปลี่ยนนิสัย ออกกำลัง

การรักษาภาวะเส้นยึด ให้หายขาดและได้ผลในระยะยาวต้องทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดนั้นยืดออก ประกอบกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ คนไข้ต้องให้ความร่วมมือกับคุณหมอ

การรักษาทำได้โดยการฉีดยาคลายกล้ามเนื้อตรงบริเวณที่มีอาการยึดตึง เพื่อแก้ไขกล้ามเนื้อบริเวณนั้นให้คลายตัวและกลับมามีความยึดหยุ่น การรักษาโดยการฉีดยาเป็นเหมือนการขึ้นทางด่วน เพราะฉีดแล้วอาการจะดีขึ้นทันที แต่คุณต้องลงให้ถูกที่ ต้องปรับเปลี่ยนนิสัย ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แบบนี้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน แต่หากขึ้นทางด่วนแล้วหลงลงไม่ถูกที่ จะไปลาดพร้าวแต่ดันไปลงบางนา ฉีดยาแล้วก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม อาการก็กลับมาเป็นใหม่ ต้องขับวนไปอยู่แบบนี้ไม่หายขาดสักทีขอบอก

การออกกำลังกาย คือหัวใจสำคัญของการรักษาอาการเส้นตึง หากคุณไม่อยากถูกเส้นทำมึนตึงด้วย ต้องคอยช่วยกันเหยียดยืดเอาไว้ โดยการทำ Stretching Exercise หรือการออกกำลังกายด้วยโยคะ เพราะการยืดเหยียดจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรค “กระดูกข้อเข่า”

กระดูกข้อเข่า

โรคกระดูกเสื่อม เสียงจากข้อ เวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เสียงขณะหักข้อนิ้วและข้อมือเสียงจากเข่าขณะกำลังลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า เสียงจากกระดูกต้นคอเวลาหมุนคอ เป็นต้น

หมอมักได้รับคำถามจากคนไข้และคนรอบตัวอยู่เสมอว่า เสียงเหล่านี้เกิดจากอะไรมีอันตรายหรือไม่ จำเป็นต้องไปตรวจเพิ่มเติมไหม บทความนี้จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้

รู้จักกับข้อต่อ

ไดอาร์โทรไดอัลจอยต์ (Diarthrodial Joint) ซึ่งพบมากที่สุดในร่างกาย ข้อต่อประเภทนี้ประกอบไปด้วยกระดูกสองชิ้นมาบรรจบกันตรงผิวกระดูกอ่อน โดยมีปลอกหุ้มข้อต่อ (Joint Capsule) ห่อหุ้มผิวกระดูกอ่อนอยู่ภายในปลอกหุ้มข้อต่อจะมีของเหลวที่ใช้หล่อลื่นข้อต่อเรียกว่า น้ำไขข้อ (Synovial Fluid) ซึ่งมีก๊าซ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่

เสียงจากข้อต่อกระดูกข้อเข่า

ภาษาอังกฤษเรียกว่า เครพิทุส (Crepitus) เราสามารถสังเกตอาการนี้ได้โดยวางฝ่ามือไว้ที่ข้อ แล้วขยับข้อนั้นไปมา สังเกตความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  • แบบละเอียด (Fine Crepitus) เป็นความรู้สึกคล้ายการใช้นิ้วมือขยี้เส้นผม เกิดจากการบดขยี้ของเยื่อบุผิวที่หนาตัวขึ้น จากการอักเสบเรื้อรังพบได้ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์และวัณโรคข้อ
  • แบบหยาบ (Coarse Crepitus) คล้ายมีเสียงกุกกักหรืออาจได้ยินเสียงลั่นในข้อขณะตรวจ เกิดจากการเสียดสีของผิวกระดูกอ่อนที่ขรุขระหรือมีเศษกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆ หลุดและแขวนลอยอยู่ภายในข้อ พบบ่อยในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ระยะท้ายๆ ที่ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรง
รู้จักกับข้อต่อ

ในคนปกติอาจตรวจพบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากเส้นเอ็นรอบๆ ข้อพลิกระหว่างเหยียดหรืองอข้อต่อ

สำหรับคนที่ชอบหักข้อนิ้วมือเพื่อให้เกิดเสียงนั้น จากการสำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากรร้อยละ 25 - 50 ชอบหักข้อนิ้วให้เกิดเสียงก๊อบแก๊บ โดยข้อกลางนิ้วและข้อโคนนิ้วเป็นข้อที่นิยมหักมากที่สุด ส่วนข้อปลายนิ้วและข้อโคนนิ้วโป้งไม่ค่อยมีการหัก และพบว่านิสัยชอบหักนิ้วยังสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาชีพใช้แรงงาน ชอบกัดเล็บ สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด

เสียงในข้อส่ออันตราย

เสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ มีอันตรายหรือไม่ มีวิธีสังเกตง่ายๆ ดังนี้

  1. สังเกตว่ามีอาการเจ็บหรือปวดหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานข้อ เช่น การเดินลงน้ำหนัก งอหรือเหยียดข้อ หากมีอาการเจ็บปวดอาจเกิดจากข้อเสื่อมหรือเอ็นอักเสบ ควรไปพบแพทย์
  2. สังเกตข้อที่มีเสียงนั้นว่ามีการบวมรอบ ๆ ข้อหรือไม่หากมีอาการบวมและแดง ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็นโรคข้ออักเสบได้
  3. สังเกตว่ามีการผิดรูปของข้อหรือไม่ เช่น ข้อโตขึ้น ข้อโกงขึ้น มีก้อนหรือกระดูกแข็งยื่นออกมาก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

ข้อควรรู้กับ “ยาเพิ่มน้ำในข้อเข่า”

ยาเพิ่มน้ำในข้อเข่า

ข้อเข่าของเรา มีลักษณะคล้ายกับข้อต่อ (Joint) ของเครื่องยนต์ ประกอบด้วย กระดูกผิวข้อ ซึ่งมีลักษณะเรียบลื่น เป็นมันวาว มีสีและลักษณะคล้ายกับผิวของงาช้าง ภายในมีส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำเลี้ยงข้อ” มีลักษณะเป็นของเหลวใสอยู่ภายในช่องว่างของข้อเข่า มีลักษณะพิเศษคือ มีความเหนียว ยืดหยุ่นได้ และเหมือนไข่ขาว ทำหน้าที่ในการช่วยลดหรือดูดซับแรงกระแทกต่อเข่า ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ทำหน้าที่คล้ายๆ โช้กอัพ และช่วยหล่อลื่น ลดแรงเสียดทานของผิวข้อเหมือนกับน้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันจาระบี

ในข้อเข่าที่เป็นปกติจะมีช่องว่างระหว่างข้อต่อ ในช่วงนั้นจะมีของเหลวที่มีลักษณะใส หนืด และลื่นบรรจุอยู่ เรียกว่า น้ำเลี้ยงข้อ (synovial fluid) โดยทั่วไปในบริเวณข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยงข้อปริมาณประมาณ 2 มิลลิลิตร  แต่ในข้อเข่าที่มีขนาดเล็ก เรียงข้ออาจจะมีปริมาณน้อยกว่านั้น

น้ำเลี้ยงข้อมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

  • กระจายแรงกระแทกได้ดี เพราะนำเรียงข้อมีลักษณะเหนียว เมื่อมีแรงมากระทำ น้ำเหนียว ๆ นี้จะกระจายแรงไปทั่ว ๆ ข้อ ทำหน้าที่เหมือนเบาะรองรับข้อต่อ ลดแรงกระแทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ
  • หล่อลื่นข้อ ทำให้การเคลื่อนไหวข้อเป็นไปอย่างราบรื่นดีขึ้น
  • นำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงกระดูกอ่อนผิวข้อ แนะนำของเสียจากกระดูกอ่อนออกจากข้อผ่านเข้าไปยังเส้นเลือดและน้ำเหลือง เพราะข้อของเราไม่มีเลือดมาเลี้ยง สารอาหารทุกอย่างจึงต้องลำเลียงผ่านทางน้ำเลี้ยงข้อเท่านั้น

ส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงข้อเข่า

น้ำเลี้ยงข้อประกอบไปด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ที่มีความเข้มข้นประมาณ 3 –  4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จะประกอบด้วยหลาย ๆ โมเลกุลมาเกาะกัน ทำให้เป็นโมเลกุลใหญ่ขนาด 6,500 – 11,000 กิโลดาลตัน จึงรองรับน้ำหนักข้อได้ดี เมื่อสังเคราะห์มาแล้วจะอยู่ในเนื้อข้อได้นานถึง 20 ชั่วโมง

“กิโลกรัมดาลตัน คือ หน่วยน้ำหนักของสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เป็นหน่วยน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนและเอนไซม์ เช่น โปรตีนมีน้ำหนักโมเลกุล 100,000  ดาลตัน หรือเท่ากับ 100 กิโลดาลตัน”

สารลูบริซิน (lubrisin) ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีน มีลักษณะคล้ายเมือก มีความหนืดและมีความยืดหยุ่นสูง มีหน้าที่ป้องกันการสัมผัสและการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อหุ้มข้อ

ผู้ที่มีอาการข้อเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นลดลงและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสารไฮยาลูโรนิกเสื่อมคุณภาพ จึงมีน้ำหนักโมเลกุลโดยรวมน้อยกว่าของคนปกติ (แต่ละโมเลกุลไม่เกาะกันดังเดิม น้ำหนักมวลจึงลดลงเหลือประมาณ 2,700 – 4,500 กิโลดาลตัน) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สูญเสียคุณสมบัติการรองรับแรงกระแทก เมื่อมีแรงกดลง กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ป้องกันปลายกระดูกของกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะเกิดการกระทบกระแทกและเสียดสีกัน พึ่งเป็นต้นเหตุของการอักเสบ ปวดบวมที่เกิดขึ้น นอกจากนี้พอมีการสร้างขึ้นมาใหม่ก็จะถูกทำลายอย่างรวดเร็ว จึงอยู่ได้นานแค่ 11 ชั่วโมงเท่านั้น

ส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงข้อ

แนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อมมีหลายวิธี และจุดมุ่งหมายของการรักษาทุกวิธีคือ ท่าลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การมุ่งหวังที่จะแก้ไขข้อที่ผิด หรือทำให้กระดูกอ่อนหนาขึ้นมานั้นยังไม่มีวิธีการใด ๆ ที่ได้ผลชัดเจน ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กลัวการผ่าตัดจึงพยายามหาหนทางการรักษาอื่น ๆ ซึ่งการฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเทียม หรือ viscosopplementation ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า หากปล่อยให้ข้อเข่าเสื่อม จะมีการเปลี่ยนแปลงความสมดุลของน้ำเลี้ยงข้อ จากภาวะความเป็นกลางไปเป็นภาวะความเป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวเร่งการทำลายความสมบูรณ์ของผิวข้อมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะข้อเสื่อมก็จะเป็นมาก และเป็นเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการหมั่นดูแลรักษาสุขภาพของข้อเข่าให้ถูกต้องแต่แรก จะช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าให้ทำหน้าที่รับใช้เราได้ยาวนานขึ้น คนที่มีน้ำหนักมากและมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 ถ้าควบคุมหรือลดน้ำหนักได้ ก็จะช่วยลดแรงกระแทกต่อผิวข้อ ทำให้อาการปวดเข่าหายไปได้ คนที่นั่งงอเข่าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ ต้องฝึกเหยียดเข่าบ่อยๆ เพื่อลดแรงกดของกระดูกสะบ้ากับกระดูกปลายเข่า ร่วมกับการฝึกออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ เข่า และต้นขา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อให้ทำงานแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อต่อ

แต่ถ้าหากอยากป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อม หรือเริ่มเสื่อมไปบ้างแล้ว คุณหมอแนะนำว่า ในปัจจุบันมีวิธีเติมน้ำเลี้ยงข้อเข่า เพื่อทดแทนน้ำเลี้ยงข้อที่มีการลดลง โดยการนำน้ำเลี้ยงข้อสังเคราะห์ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำเลี้ยงข้อปกติ มาช่วยในการป้องกันและรักษา โดยการฉีดเข้าไปในข้อเข่าที่มีอาการ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ ซึ่งมีผลการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะข้อที่เสื่อม จุดประสงค์เพื่อช่วยหล่อลื่น และกระตุ้นเซลล์เยื่อบุข้อให้ทำการสร้างน้ำเลี้ยงเข่าที่ปกติขึ้นมาทดแทน เป็นวิธีที่ปลอดภัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเลือกให้น้ำเลี้ยงข้อเข่านี้กับผู้ที่ได้รับการรักษาโดยการรับประทานยา ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี