Posted on Leave a comment

ปวดเข่าข้างเดียว อาการที่เกิดคุณได้ทุกเมื่อ

ปวดเข่าข้างเดียว อาการที่เกิดคุณได้ทุกเมื่อ

ปวดเข่าข้างเดียว คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของขาให้สามารถยืดและงอได้ หัวเข่าเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงมักเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ส่วนมากมักจะไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับการดูแลเข่า นอกจากเข่าเกิดอาการบาดเจ็บจึงจะทำการดูแลรักษา ซึ่งการที่ทำการดูแลเฉพาะเวลาที่เกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว  นั้น เข่าก็อาจจะไม่สามารถกลับมาใช้ได้ดังเดิม ทาง arukou ขอแนะนำให้ท่านได้อ่านบทความนี้

ปวดเข่าข้างเดียวในวัยรุ่น

หากยังอายุไม่ถึง 45 อย่าลืมไปตรวจเช็คสาเหตุอื่นๆ ถ้ามีอาการปวดข้อต่ออื่นๆร่วมด้วย อาจมีสาเหตุจากทั้งเก๊าท์ เก๊าท์เทียม รูมาตอย โรคภูมิแพ้ตัวเองต่างๆ ในอายุน้อยๆสามารถออกกำลังได้ปกติ แต่ต้องศึกษาท่าทางการออกกำลังอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของข้อเข่า หากปวดมาก หรือน้ำหนักตัวมาก หรืออายุ 45 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น อาจจะหลีกเลี่ยงท่าออกกำลังที่ต้องใช้เข่า ท่าที่ต้องกระโดด ท่าสควอท หากอายุยังไม่เกิน 30 ปีควรเริ่มเสริมความแข็งแรงให้มวลกระดูก ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 – 1500 มิลลิกรัมต่อวัน มีมากในนม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วต่างๆ ชีส ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ไม่ควรรับประทานเกินกว่านี้เพราะอาจทำให้ท้องผูก เกิดแคลเซียมสะสมเป็นตะกอนนิ่ว หรือสูงมากอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนี้เพื่อให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีควรได้ควบคู่กับวิตามินดีและฟอสฟอรัส (เช่นจากเนื้อสัตว์ ถั่ว นม ไข โดยมากอาหารที่มีแคลเซียมสูงมักมีฟอสฟอรัสอยู่แล้ว) ส่วนเรื่องการดูแลกระดูกอ่อนรองข้อเข่า อาจเสริมด้วยอาหารที่มีซิงค์และวิตามินซีสูง เพราะสองตัวนี้จะช่วยเรื่องการสร้างคอลลาเจนอันเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย (เนื้อเยื่อเกี่ยวพันก็คือเนื้อเยื่อจำพวกเอ็น กระดูกอ่อน ส่วนประกอบของผิวหนัง) หากอายุมากขึ้น อาจลดปริมาณการออกกำลังที่ต้องใช้ข้อเข่าเยอะลงนะ เพราะข้อเข่าจะเริ่มเสื่อมตามวัยอยู่แล้ว

ปวดเข่าข้างเดียว สาเหตุ
อาการที่เกิดขึ้นได้กับวัยรุ่น ไม่จำเป็นต้องสูงวัยเสมอไป

วิธีป้องกันปวดเข่าข้างเดียว และปวดเข่าในวัยรุ่น

  1. บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอยู่เสมอ โดยนั่งเหยียดและกระดกปลายเท้าโดยไม่งอเข่า และสามารถออกกำลังกายบริหาร โดยใช้ท่าหมุนหัวเข่า หมุนไปกลับ 3 เช็ต เช็ตละ 20 ครั้ง หรืออาจเป็นท่าอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้
  2. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือหลายขั้นๆ มากเกินไป
  3. ควบคุมน้ำหนักของร่างกายไม่ให้มากเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  4. หากมีอาการปวดหัวเข่ามากๆ จนทนไม่ไหว สามารถเลือกทานยาแก้อักเสบของข้อเข่าได้ แต่ควรทานเมื่อจำเป็นเท่านั้น
  5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ต้องงอเข่ามากๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งคุกเข่านานๆ

หากมีอาการเจ็บปวดมาก หรือรู้สึกเสียงแปร๊บที่หัวเข่า ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี อย่าซื้อยามาทานเองทุกครั้งที่มีอาการปวดเป็นอันขาด เพราะนอกจากจะไม่ใช่วิธีการรักษาที่ถูกต้องแล้ว อาจมีความเสี่ยงที่จะดื้อยา หรือใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ถูกต้องได้

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

ปวดเข่าด้านหน้า ปวดเหนือหัวเข่า อาการที่พบเจอมากในหมู่นักวิ่ง

ปวดเข่าด้านหน้า ปวดเหนือหัวเข่า

อาการ “ปวดเข่าด้าหน้า ปวดเหนือหัวเข่า” เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในหมู่นักวิ่ง ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดก็คือ “ผิวใต้สะบ้าอักเสบ” หรือ Runner’s Knee เวลาไปปรึกษาแพทย์ ก็มักจะได้รับคำแนะนำให้หยุดวิ่ง เดี๋ยวเข่าเสื่อม! ซึ่งอันที่จริงแล้วการวิ่งไม่ได้สัมพันธ์กับการเกิดเข่าเสื่อม แต่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวมากกว่า ว่าแล้วเราลองมาทำความเข้าใจกันดูว่าอาการปวดเข่านั้นเกิดจากอะไรกันแน่

สาเหตุหลักที่พบมากที่สุดของการปวดเข่าจากการวิ่ง คือ การก้าวยาวเกินไป หรือ Overstride โดย Overstride คือ การวิ่งลงส้นในขณะที่เข่าตึง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกระแทกขึ้นมาถึงเข่าได้มาก ทำให้กล้ามเนื้อช่วยรับแรงได้น้อย เปรียบเสมือนการตอกเสาเข็มนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราอยากวิ่งต่อไป ก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ก้าวยาวเกินไป

ปวดเข่าด้านหน้า ปวดเหนือหัวเข่า

ปวดหัวเข่า จี๊ดๆ ปวดหัวเข่า เวลานั่งยองๆ งอเข่าแล้วปวด ควรปฏิบัติตามนี้

  1.  เพิ่มรอบขาให้เร็วขึ้นในความเร็วเท่าเดิม
    การเพิ่มรอบขานั้นสามารถทำให้ก้าวสั้นลงได้ เพื่อลดโอกาสการเกิด Overstride ซึ่งการเพิ่มรอบขานั้นไม่จำเป็น ต้องให้ได้ถึง 180 รอบ/นาทีก็ได้ เพราะการเพิ่มรอบขาให้เร็วขึ้น 10% สามารถช่วยลดแรงกระแทกที่เข่าลงได้ถึง 30%
  2. งอลำตัวไปข้างหน้ามากขึ้น หรือพับตัวช่วงสะโพกไปข้างหน้า แต่หลังยังตรงอยู่
    การงอลำตัวประมาณ 15 องศา จะช่วยลดแรงกระแทกที่เข่าได้อย่างชัดเจน การงอลำตัวไปข้างหน้าทำให้ก้าวยาวยากขึ้น จะช่วยลดโอกาสการเกิด Overstride ได้
  3. ฝึกวิ่งลงเท้าโดยค่อนไปทางหน้าเท้าแทนการวิ่งลงส้น
    วิธีนี้แนะนำให้ใช้ก็ต่อเมื่อได้ลองปรับท่าวิ่งตาม 2 ข้อแรกแล้วยังมีอาการปวดอยู่เพราะว่าการวิ่งลงหน้าเท้า ถึงแม้จะช่วยลดแรงกระแทกที่เข่าได้ แต่จะไปเพิ่มแรงที่ข้อเท้าแทน อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ ข้อเท้า เท้า และน่องมากขึ้น หากเปลี่ยนท่าอย่างไม่ถูกวิธี

อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าก็คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps) และกล้ามเนื้อสะโพกด้านข้าง (Gluteus Medius) ไม่แข็งแรงพอ โดยกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ามักจะสัมพันธ์กับอาการปวดเข่าในนักวิ่งชาย ส่วนกล้ามเนื้อสะโพกด้านข้างจะสัมพันธ์กับอาการปวดเข่าในนักวิ่งหญิง ดังนั้นเราจึงต้องเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2 ส่วนนี้ด้วยการ Squat, Leg Extension, Hip Abduction และท่าอื่นๆ อีกมากมาย

สรุปสั้นๆ ออกกำลังกายให้หายปวดเข่าจี๊ดๆ ดังนี้

  1. เพิ่มรอบขาให้เร็วขึ้นในความเร็วเท่าเดิม
  2. งอลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยขณะวิ่ง
  3. เปลี่ยนให้การลงเท้าค่อนมาทางหน้าเท้ามากขึ้น
  4. เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

7 ท่าบริหารแก้ปวดเข่า คุณเองก็ทำได้ง่ายๆ

ท่าบริหารแก้ปวดเข่า

ปัญหาอาการปวดเข่าเป็นปัญหาที่หลายคนต้องประสบพบเจออยู่แล้ว ไม่ว่าจะ แม่บ้าน นักกีฬา หรือใครก็ตามแต่ วันนี้ทาง arukou ขอแนะนำท่าบริหารแก้ปวดเข่า ที่คุณทำได้ง่ายๆ ที่บ้านและยังได้ผลดีด้วย กายบริหารเป็นยาวิเศษที่เยี่ยมยอดจริงๆ

บริหารเข่า

ท่าบริหารแก้ปวดเข่า ทั้ง 7 ท่า

1.นอนราบลงกับพื้น คว่ำมือ เหยียดแขนตรงแนบลำตัว เริ่มจากงอเข่า แล้วค่อย ๆ ยกขาขึ้นทีละนิด จนขาเป็นมุม 90 องศากับพื้น หลังจากนั้นให้เกร็งมือ ยืดขาให้ตึง ยกศีรษะขึ้นพอประมาณ (ให้พอมองเห็นหน้าท้องของตัวเองได้) ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที / 3 ครั้ง

2.นั่งบนเก้าอี้หลังตรง ไม่พิงพนัก มือทั้ง 2 ข้างแนบชิดลำตัว ยกขาซ้ายวางพาดไว้บนขาขวาใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่าซ้าย และค่อยๆ ออกแรงกดจนรู้สึกตึง โดยหลังตรง และขาขวาต้องตั้งตรงทำมุม 90 องศาเสมอ ค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง

3.เริ่มจากท่านอนหงายก่อน แล้วประกอบเท้าเข้าหากัน ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาและสะโพก

4.นั่งบนเก้าอี้หลังตรง ไม่พิงพนัก มือทั้ง 2 ข้างแนบชิดลำตัว และนั่งทับมือทั้งสองข้างไว้ ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้นขนานกับพื้น ยกให้ได้มากที่สุด จากนั้นค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆ วางขาลง ทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง

5.เริ่มจากนั่งลงบนพื้น ยืดขาตรง ใช้ผ้าขนหนูพันขาข้างใดข้างหนึ่งเอาไว้ แล้วดึงปลายผ้าขนหนูออกด้านนอกด้วยมือแค่ข้างเดียว ให้เกร็งขาไว้ไม่ให้ขาแยกออกจากกัน ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำขาข้างละ 5 ครั้ง ท่านี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา และช่วยให้ต้นขากระชับขึ้นด้วย ถ้าทำเป็นประจำต่อเนื่อง

6.นั่งบนเก้าอี้หลังตรง ไม่พิงพนัก มือทั้ง 2 ข้างแนบชิดลำตัว และนั่งทับมือทั้งสองข้างไว้เหยียดขาข้างใดข้างหนึ่งออกไปให้ตรงขนานกับพื้น จากนั้นกระดกข้อเท้าเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆ คลายข้อเท้า วางขาลง ทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง

7.ท่านี้เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ โน้มตัว แล้วเหยียดขาไปด้านหน้า เกร็งเท้าให้เท้าแตะพื้น ห้ามเท้าลอย เข่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที / 3 ครั้ง จะเป็นการบริหารเพื่อลดอาการปวดขา ปวดเข่า และช่วยให้ต่อมน้ำเหลืองไหลเวียนได้ดีขึ้นด้วย

8.เริ่มจากนั่งชันขาขึ้นมาหนึ่งข้าง แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับขาข้างที่ยกเอาไว้ให้แน่น จากนั้นค่อย ๆ เอียงตัวไปด้านหน้า (ถ้าทำแล้วรู้สึกว่าน่องตึงคือถูกต้อง) ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ทำขาข้างละ 3 ครั้ง

หรือกิจกรรมกลางแจ้งที่ช่วยบริหารเข่าได้ แถมได้ออกกำลังกายแบบคาดิโอ้อีกด้วย

กิจกรรมกลางแจ้งบริหารเข่า

  1. ปั่นจักรยาน โดยจะปั่นจักรยานแบบมีล้อทั่วไปที่เห็นได้ตามท้องถนน หรือจะเป็นเครื่องปั่นจักรยานออกกำลังกายที่อยู่ตาม fitness ก็ไม่มีปัญหาครับ  แต่ถ้าให้แนะนำ แนะนำให้เป็นเครื่องปั่นจักรยานออกกำลังกายดีกว่านะ เนื่องจาก หนึ่งไม่ต้องเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุจักรยานล้ม หรือรถเชี่ยวชนขณะปั่นตามที่สาธารณะ และสองคือปั่นได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องชะลอ เพราะไม่ว่าจะปั่นเร็วปั่นแรงแค่ไหนตัวนักปั่นก็ยังคงอยู่กับที่ แต่ถ้าเป็นปั่นจักรยาน เมื่อปั่นเร็วมากไปก็ต้องผ่อนอาจจะเพราะกลัวล้มหรือกลัวชนใดๆก็แล้วแต่ จึงทำให้เสียจังหวะในการปั่นได้ เว้นแต่ว่าจะได้ปั่นจักรยานในพื้นที่จักรยานจริงๆที่ทำให้ปั่นได้ต่อเนื่องอันนี้ก็ถือได้ผลลัพท์เท่ากัน ที่เพิ่มมาอีกอย่างคงเป็นความสนุกด้วยนะ
  2. เดินเร็วในนํ้า เจอท่าบริหารเข่าท่าแรกเชื่อว่าหลายท่านคงงง มันคืออะไรให้ไปเดินเร็วในนํ้า การฝึกเดินเร็วในนํ้านั้นสามารถบริหารกล้ามเนื้อบริเวณเข่าให้แข็งแรงได้ครับ แต่มีเงื่อนไขว่า ระดับความสูงของนํ้าต้องไม่สูงเกินระดับเอ็วขึ้นไปนะครับ หรือที่เหมาะสมที่สุดคือ ระดับนํ้าประมาณหัวเข่าเรานั่นแหละครับ แต่ขณะเดียวกันถ้าระดับนํ้าสูงเกินไป นํ้าจะทำให้เกิดแรงลอยตัวของร่างกาย ซึ่งจำทำให้เราไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อขาอย่างเต็มที่และอาจเป็นการใช้กล้ามเนื้อต้นแขนทำงานแทน จึงผิดวัตถุประสงค์ของการบริหารเข่าในนํ้าไปโดบปริยาย 

    การเดินในนํ้าที่ระดับความสูงประมาณเข่านั้น เมื่อเดินด้วยความเร็วไปได้สักระยะนั้น สิ่งแรกที่เราจะรับรู้ได้เลย คือ จะรู้สึกหนืด เดินได้ช้าเมื่อเทียบกับบนบก เนื่องจากนํ้าเป็นตัวต้านทานการเคลื่อนไหวของเรา เราจึงต้องออกแรงขามากขึ้นโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขาเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ซึ่งการออกแรงแบบนี้แหละครับที่มีส่วนสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ ถ้าได้ทำอย่างเป็นประจำสมํ่าเสมอ ครั้งละ 20-30 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดใต้ข้อพับเข่า” อาการธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน

ปวดใต้ข้อพับเข่า อาการ

เวลาลุก-เดิน จะค่อนข้างลำบาก ซึ่งจุดบาดเจ็บนี้เรียกว่า Hamstring strain คือ อาการบาดเจ็บธรรมดาๆนี่แหละ ซึ่งอาการบาดเจ็บนี้จะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังที่ทำหน้าที่ในการงอเข่านั่นเองครับ แต่ส่วนมากจะเกิดบริเวณใกล้ข้อพับเข่า เนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็น ซึ่งง่ายต่อการฉีกขาด ทำให้เกิดอาการ ปวดใต้พับเข่า ซึ่งรวมถึงอาการปวดขาพับด้านหลังเข่า ด้วยนั่นเอง

โรคนี้คือการบาดเจ็บกล้ามเนื้อธรรมดา ซึ่งการบาดเจ็บนั้นเกิดที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ซึ่งทำหน้าที่งอเข่าที่มีชื่อว่ากล้ามเนื้อ Hamstring นั่นเองคับผม โดยอาการปวดส่วนมากนั้นมักจะเกิดที่บริเวณใกล้ข้อพับเข่า เนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่จะไปเกาะที่กระดูกต้นขา ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนแอ ที่ง่ายต่อการฉีกขาด เนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นใบของเส้นเอ็นที่มาเชื่อมต่อกันนั้น มันเป็นคนล่ะประเภท การยึดเกาะกันและกันจึงทำได้ไม่ดีทำให้ฉีกขาดได้ง่ายนั่นเอง

ปวดข้อพับเข่า

สาเหตุของปวดใต้ข้อพับเข่า

ทำกิจกรรมที่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ hamstring อย่างเฉียบพลัน เช่น การวิ่งเร็ว การวิ่งเร็วสลับกับหยุดวิ่งแบบฉับพลันทันทีอย่างต่อเนื่อง

  • การใช้งานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมากเกินไป
  • กล้ามเนื้อต้นขาทั้ง ฝั่งแข็งแรงไม่สมดุลกัน คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps) แข็งแรงกว่าต้นขาด้านหลัง (hamstring) จึงทำให้กล้ามเนื้อ hamstring ถูกกระชากในขณะที่กล้ามเนื้อ quadriceps ออกแรง เหตุที่ถูกกระชาก เนื่องจากกล้ามเนื้อ hamstring มีแรงไม่พอต้านกล้ามเนื้อ quadriceps
  • กล้ามเนื้อ hamstring ตึงมาก และขาดความยืดหยุ่นจึงทำให้ง่ายต่อการบาดเจ็บเมื่อใช้งานหนัก
  • การฝึกออกกำลังกายงอเข่า โดยมีลูกตุ้มมาถ่วงที่ขาแล้วมีนํ้าหนักมากเกินไป หรือทำถี่เกินไปจนกล้ามเนื้อล้าและบาดเจ็บ
  • ออกกำลังกายโดยการวิ่งบ่อย วิ่งนาน หรือวิ่งถี่เกินไป โดยที่ไม่ยืดกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อน

โดยอาการของเจ็บข้อพับเข่าด้านใน

ปวดใต้ข้อพับเข่า ปวดมากขึ้นเมื่องอเข่า

  • จะรู้สึกปวดแปล็บที่ใต้ข้อพับเข่าเมื่อวิ่งเร็ว หรือเปลี่ยนจากท่านั่งไปยืนแบบฉับพลัน เมื่อเรานั่งนานๆอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจาก ขณะนั่งกล้ามเนื้อ hamstring หดตัวอยู่ แต่พอเราลุกขึ้นยืน กล้ามเนื้อถูกยืดแบบฉับพลันจึงทำให้เกิดอาการปวดได้
  • ในรายที่มีอาการปวดในระยะแรกๆ อาจมีอาการบวมที่ต้นขาด้านหลังใกล้ข้อพับเข่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับข้างปกติ
  • ในรายที่อักเสบรุนแรง อาจเดินได้ลำบาก และจะปวดทุกครั้งที่ก้าวขาลงนํ้าหนัก

การฟื้นฟูของอาการปวดข้อพับเข่า

สามารถรักษาได้ด้วยตนเองโดยมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

  • ประคบเย็น ทันทีเมื่อรู้สึกปวด
  • นอกยกขาข้างที่ปวดเหนือระดับหัวใจพร้อมประคบเย็น
  • ยืดกล้ามเนื้อ Hamstring ให้บ่อยเท่าที่บ่อยได้เพื่อลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ใช้ Foam roller ช่วยนวดคลาย ยืดกล้ามเนื้อจะช่วยให้หายไวขึ้น
  • ใช้ที่ซัพพอร์ตเข่าช่วยในการออกกำลังกาย หรือถนอมเข่า

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ข้อเข่าเทียม” อีกทางเลือกในรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเทียม รักษา

ข้อเข่าเทียมอีกทางเลือกในการรักษาของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมทาง arukou ขอแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับข้อเข่าเทียมกันสักหน่อย

เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยส่วนกระดูก 3 ชิ้น คือ ส่วนปลายของกระดูกต้นขา  ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้าหัวเข่าโดยมีเอ็นยึดกระดูกทั้ง 3 ไว้ให้มั่นคง และมีกล้ามเนื้อเกาะตามกระดูกเพื่อความเคลื่อนไหว บริเวณผิวของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นจะคลุมด้วยกระดูกอ่อน ซึ่งมีลักษณะสีขาวมันเรียบ กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นเบาะกันการกระแทกกันของกระดูก และผิวที่เรียบทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ส่วนที่เหลือของข้อเข่าที่ไม่ได้คลุมด้วยกระดูกอ่อนจะถูกคลุมด้วยเยื่อหุ้มข้อ ซึ่งมีลักษณะบางและเรียบทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อจะช่วยหล่อลื่นบริเวณผิว

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 

การรักษาข้อเข่าอักเสบเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งาน ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดและกระแทกที่เข่า เช่น การนั่งยองๆ, คุกเข่า, ขึ้นลงบันได, วิ่ง หรือการยกของหนัก ทานยาเพื่อลดการอักเสบในเข่า การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้เข่ามีการเคลื่อนไหวที่มั่นคง ถ้าการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล อาจพิจารณาฉีดยาเข่าในข้อเข่าเพื่อลดการอักเสบและเพื่อเพิ่มการหล่อลื่นในเข่า เช่น ยาพวกสเตอรอยด์ หรือน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมสังเคราะห์ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอาจทำให้ผู้ป่วยลดการเจ็บปวดและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ข้อเข่าเทียม

สาเหตุสำคัญที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของ “ผิวกระดูกอ่อน” ของข้อเข่า ซึ่งมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานข้อเข่าหนัก ทำให้มีการขัดสีและถลอกของผิวกระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่รอบเข่าจนถึงเนื้อกระดูก ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือบางกรณี ข้อเข่าอาจมีการซ่อมแซมตัวเอง และพอกตัวหนาขึ้น เกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวติดขัดและมีเสียงดัง ผู้ป่วยที่มีอาการมาก หมายถึง กระดูกงอกผิดปกติหรือมีการสึกกร่อนไปมาก จะทำให้ขาโก่งเข้าด้านในหรือเกบิดออกนอก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นผู้สูงอายุ และเพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมมากว่าเพศชาย
  2. ข้ออักเสบเรื้อรัง โรคที่พบบ่อย คือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยข้ออักเสบเรื้อรังจะทำให้เยื่อหุ้มข้ออักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อมากขึ้นทำให้เข่าบวมแดง เมื่อมีการอักเสบนานจะทำให้ส่วนกระดูกถูกทำลาย
  3. ข้ออักเสบจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย จากแรงกระแทกที่รุนแรง หรือจากการแตกร้าวของกระดูกและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นผลทำให้ผิวข้อเสียไม่เรียบ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสมควรทำในผู้ป่วย

  1. ปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ปวดมากเวลาเดิน ขึ้นลงบันได ลุกหรือนั่ง
  2. ปวดเข่าเวลาพัก เช่น ปวดเวลานอน
  3. มีการอักเสบบวมแดงของเข่า โดยมีอาการบ่อยและเรื้อรัง
  4. มีการผิดรูปของเข่า เช่น เข่าโค้งออก หรือเกเข้าใน
  5. ขยับเข่าติดขัดลำบาก งอ หรือเหยียดเข่าลำบาก
  6. ใช้การรักษาแบบอื่น เช่น เปลี่ยนวิธีการใช้งาน ยาทาน หรือการฉีดยาเข้าในเข่าไม่ได้ผล

ส่วนใหญ่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำในผู้ป่วยอายุ 60 – 80 ปี การพิจารณาผ่าตัดจะพิจารณาเป็นรายๆ ไปขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

มากกว่า 90 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ กีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงที่ข้อเข่า เช่น การวิ่งหรือกระโดด ซึ่งแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้การนั่งคุกเข่า นั่งยองๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งส้วมแบบนั่งยองๆ ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด

ข้อเข่าเทียมอายุการใช้งาน

โดยปกติแล้วข้อเข่าเทียมมีอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป หากเสื่อมอีกครั้งลำบากแน่เพราะข้อเทียมเก่าจะมีพังพืด​  แล้วการผ่าจะยากมาก การใช้งานอยู่ที่เราด้วยถ้าใช้หนักก็เสื่อมไว​แต่ถ้าถนอมก็ยืออายุได้​นั่นเอง


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดเข่าด้านใน” รักษาได้ด้วยตนเอง

ปวดเข่าด้านใน

อาการปวดเข่าด้านใน 

อาการปวดเข่าด้านในเยื้องลงล่าง ยิ่งปวดมากตอนเดินนานๆหรือบางทีอาจมีเสียงลั่นในเข่าขณะลุกขึ้นยืนกันเลยทีเดียว อาจเป็นอาการที่คุณพบแล้วงงๆว่าเป็นอะไรกันแน่ มันเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะแทนที่จะปวดที่ข้อเข่าหรือปวดที่หัวเข่าด้านนอกกลับมาปวดด้านในแทน วันนี้ทาง arukou จะมาบอกสาเหตุกันว่ามันเป็นอะไร

ปวดเข่าด้านใน สาเหตุ

สาเหตุของอาการปวดเข่าด้านใน

  1. จากการขับรถนานๆ ในคนที่ตัวสูง ขายาว เวลาขับรถจะเหยียดขาไม่สุดทำให้ต้องงอเข่าและแบะขาออก เมื่อต้องเหยียบเบรค หรือคันเร่ง ต้องหมุนขาให้ตรงแล้วเหยียบต่อ ถ้าขับรถระยะยาวและรถติดเป็นเวลานาน ต้องเหยียบๆปล่อยๆ ทำให้ขาหมุนเข้า แบะออก หมุนเข้า แบะออกเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อหดรั้งและเจ็บขึ้นได้
  2. การออกกำลังกายที่หนักเกินไป การฝืนตัวเอง เช่น การวิ่งโดยไม่พักเลย
  3. จากการเดินเป็นเวลานาน เพราะขณะยกขาเพื่อก้าวเดิน กล้ามเนื้อต้นขาด้านในจะทำงานเมื่อเดินนานๆ กล้ามเนื้อมีการหดรั้งและเจ็บขึ้นได้ รวมถึงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆด้วยจะทำให้ปวดมากขึ้น
  4. จากการได้รับบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน

การรักษาอาการปวดเข่าด้านใน

ส่วนมากวิธีการพวกนี้ถ้าไม่หนักมาก สามารถรักษาได้ด้วยตัวคนเดียว

  1. การวางแผ่นประคบร้อนบริเวณต้นขาด้านในถึงเข่าด้านใน วางประมาณ 20 นาที
  2. ใช้เครื่องกระตุ้นไฟในการลดปวด
  3. ใช้เครื่องนวดไฟฟ้า Ultrasound ในการลดปวด

หรือใช้กายภาพบำบัดรักษาอาการปวดเข่าด้านใน

  1. นั่งเหยียดขาข้างที่ปวดไปด้านหน้า กางขาออกเล็กน้อย ส่วนอีกข้างงอไว้ ก้มตัวลงให้มือแตะปลายเท้า ค้างไว้ 15 วินาที ทำ10คร้้ง
  2. นวดต้นขาทางด้านใน นวดตั้งแต่โคนขา ถึงเข่าด้านใน นวด 15 นาที

เท่านี้อาการของคุณก็ดีขึ้นแล้ว และควรใช้เวลาพักฟื้นสัก 2 – 3 วันแล้วจึงกลับมาธรรมกิจกรรมแบบดังเดิมได้ และควรทำแต่พอดีไม่ควรฝืนมาก หรือถ้ายังไม่ดีขึ้นสามารถปรึกษาทางเรา arukouthailand ได้ฟรี


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

หัวเข่าดัง เข่าลั่น สัญญาณอันตรายที่คุณควรใส่ใจ

อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับเข่า มักจะเป็นผู้หญิงที่ประสบพบเจอกับปัญหานี้มากกว่าผู้ชาย ด้วยสรีระของผู้หญิงที่มีสะโพกผายมากกว่าผู้ชาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อขายาวไปถึงข้อเข่ามีลักษณะโค้งนิดๆ ไม่ตรงพอดีกับกระดูกด้านในเหมือนผู้ชาย และด้วยปัญหานี้ทำให้ผู้หญิงเกิดปัญหา “เข่าลั่น” หรือข้อเข่ามีเสียงดังเปรี๊ยะๆ เวลาเดิน หรือลุกนั่งจากพื้น หรือเก้าอี้ต่ำๆ ได้

อาการ “หัวเข่าดัง เข่าลั่น” เกิดจากอะไร?

อาการเข่ามีเสียงเวลาเดิน หรือลุกนั่ง เกิดจากการที่ลูกสะบ้าที่รับกับกระดูกเข่ามีการเคลื่อนตัวยามขยับ เกิดขึ้นได้กับคนที่อายุ 25-40 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ด้วยเหตุสรีระของผู้หญิงที่ทำให้ลักษณะของกล้ามเนื้อเข่างอเข่านิดๆ จนทำให้ลูกสะบ้าที่รับกับกระดูกที่เข่าเกิดการเคลื่อนตัวขึ้นได้

เข่าลั่น

โดยส่วนใหญ่การเกิดเสียงดังที่ข้อเข่าหรือที่เรียกกันว่าหัวเข่าลั่นนั้นจะมาจากสาเหตุข้อเข่าเสื่อม คือจะเกิดขึ้นจากกระดูกอ่อนในส่วนที่เรียบๆ ที่เป็นมันวาวนั่นเอง เกิดการเสื่อมสภาพทำให้เจ้ากระดูกอ่อนส่วนนี้ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นเบาะรองรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม และก็จะเกิดการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าตามมาด้วย เมื่อเรามีการใช้งานข้อเข่าโดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างหนัก ข้อเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนทำให้เกิดเสียงดังในข้อหรือหัวเข่าลั่นขึ้นมา ยิ่งข้อเข่าเสื่อมมากกระดูกอ่อนผิวข้อก็จะยิ่งบางลง ผิวจะขรุขระมากขึ้น เสียงหัวเข่าลั่นก็จะเกิดบ่อยขึ้นไม่แต่เฉพาะการออกกำลังกาย เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่คนไข้ไม่ทราบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะสร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ หมอจึงต้องบอกว่าถ้าคุณมีอาการหัวเข่าลั่น คุณอย่าได้วางใจว่าเป็นอาการปกติเสมอไป เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณของร่างกายที่กำลังเตือนคุณว่า ข้อเข่าคุณเริ่มเสื่อมแล้วนะ ฉะนั้นน่าจะรีบมาพบแพทย์และรับคำแนะนำจากแพทย์โดยเร็วจะดีกว่า แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมาพบแพทย์ก็ไม่ได้มาด้วยสาเหตุหัวเข่าลั่น แต่จะมาเพราะอาการปวดเข่า หรือข้อติดมากกว่า ซึ่งนั่นก็เป็นอาการของภาวะที่ข้อเริ่มเสื่อมแบบรุนแรงแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวเข่าดัง เข่าลั่น

  1. อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
  2. เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
  3. น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
  4. การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
  5. การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
  6. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

แนวทางการรักษาหัวเข่าดัง เข่าลั่น

  1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
  2. ทำกายภาพบำบัด
  3. การกินยาแก้ปวดลดการอักเสบ
  4. การผ่าตัด เพื่อจัดแนวกระดูกใหม่
  5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

หัวเข่าดังและเข่าลั่นเข่าลั่น รักษาได้ด้วยการออกกำลังสะโพกง่ายๆ

เมื่อต้นเหตุมาจากสรีระของสะโพก ดังนั้นการออกกำลังสะโพกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อสะโพกยาวไปถึงเข่า จึงช่วยให้การขยับขาไม่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเข่าพลิกออกจากลูกสะบ้าได้ง่าย ช่วยให้ลูกสะบ้าไม่เลื่อนตกร่องจนเกิดเสียงลั่น

ท่าออกกำลังที่ทำให้กล้ามเนื้อขาช่วงเข่าแข็งแรงขึ้น คือ การนั่งบนเก้าอี้ แล้วยกขาให้ตึงค้างเอาไว้ 10 วินาที และการยืนแล้วเหยียดขาข้างที่มีอาการไปทางด้านหลังให้ตึงแล้วค้างไว้ 10 วินาที อาจทำท่าละ 10 ครั้ง

สำหรับท่าออกกำลังสะโพกที่ทำให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรง รวมไปถึงกล้ามเนื้อข้างเข่าแข็งแรงด้วย คือการนอนตะแคง เหยียดขาตรง แล้วยกขึ้นกลางอากาศข้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง และท่านอนตะแคง งอเข่าเล็กน้อย แล้วแหกขาให้ต้นขาด้านในเปิดออก ยกค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง ทุกวัน ราว 80-90% ของผู้ที่มีอาการเข่าลั่น เมื่อทำท่ากายบริการเหล่านี้ มักจะมีอาการที่ดีขึ้น หรือไม่มีอาการอีกเลยภายในระยะเวลา 8 เดือน

นอกจากนี้ การออกกำลังกายตามปกติ รักษาน้ำหนักของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ รวมไปถึงการทานอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกอย่าง นม ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย ที่มีแคลเซียมมาก และการได้รับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า ก็ช่วยบำรุงกระดูกจากภายในให้แข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกัน


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สิ่งที่คุณควรสทราบก่อนที่จะรับการ “ผ่าตัดเข่า”

ถ้าผิวของข้อเข่าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการอักเสบของข้อเข่าหรือจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาเดินหรือขึ้นลงบันได ถ้ามีความเสียหายรุนแรงขึ้นจะรู้สึกปวดแม้ขณะนั่งหรือนอน การรักษาอาจเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งานของเข่า ยาลดการอักเสบ หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน ถ้าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดตัดผิวที่เสียหายออกใส่ผิวใหม่ที่เรียบมันซึ่งทำจากโลหะและพลาสติกเข้าไปแทน เพื่อให้เข่ากลับไปใช้งานได้ตามเดิมอีกครั้ง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเริ่มมีการผ่าตัดครั้งแรกในปี 1968 หลังจากนั้นการผ่าตัดนี้ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านวัสดุที่ใช้และวิธีการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดให้ผลดีขึ้น

ข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพบริเวณเข่าที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือใช้ชีวิตประวันลำบาก แม้การรักษาโดยใช้ยาหรือการทำกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่มักให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจนัก แพทย์จึงอาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่า ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลค่อนข้างดี เพราะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตาม  ผู้ป่วยควรเตรียมพร้อมด้วยการศึกษาขั้นตอนและวิธีดูแลตนเองหลังผ่าตัด เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

ผ่าตัดเข่า

สาเหตุที่ทำให้ปวดเข่า และการทำงานของเข่าเสียไป

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ภาวะข้อเข่าอักเสบ ที่อาจเกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ และการอักเสบจากอุบัติเหตุข้อเข่าเสื่อม

มักเกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี เกิดจากการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูก ทำให้กระดูกที่แข็งและไม่เรียบถูเสียดสีกัน ทำให้เกิดเสียงเวลาขยับเข่า มีอาการปวด และติดขัดเวลางอเข่า

ข้ออักเสบเรื้อรัง

ที่พบบ่อย คือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยข้ออักเสบเรื้อรังจะทำให้เยื่อหุ้มข้ออักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อมากขึ้นทำให้เข่าบวมแดง เมื่อมีการอักเสบนานจะทำให้ส่วนกระดูกถูกทำลายไป

ข้ออักเสบจากอุบัติเหตุ

กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากอุบัติเหตุ จากแรงกระแทกที่รุนแรง หรือจากการแตกร้าวของกระดูกและกระ ดูกอ่อน ซึ่งเป็นผลทำให้ผิวข้อเสียไม่เรียบ

ข้อห้ามของการผ่าตัดเข่า

แม้การผ่าตัดจะเป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่นับว่าได้ผลดีที่สุด แต่ใช้ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงและต้องไม่อยู่ในกลุ่มที่ห้ามรับการผ่าตัดเข่าซึ่งได้แก่บุคคลดังนี้

  • มีข้อเข่าอักเสบชนิดติดเชื้อ
  • มีกลไกการยืดเหยียดเข่าผิดปกติ
  • มีอาการติดเชื้อในร่างกาย
  • มีอาการเข่าแอ่นที่เกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อโดยรอบ
  • มีอาการของโรคหลอดเลือดอย่างรุนแรง
  • เคยผ่าตัดเชื่อมเข่าและมีผลที่น่าพึงพอใจอยู่แล้ว

นอกจากนี้ หากมีปัญหาสุขภาพที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการใช้ยาระงับความรู้สึก หรืออาจส่งผลให้ร่างกายฟื้นตัวได้ไม่ดีพอหลังจากการผ่าตัด ไม่ควรรับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งกลุ่มคนต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีปัญหาผิวหนังในบริเวณที่จะมีการผ่าตัด เช่น โรคสะเก็ดเงิน
  • เป็นโรคข้อเสื่อมที่เกิดจากระบบประสาททำงานผิดปกติ
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน
  • มีประวัติเป็นโรคกระดูกอักเสบบริเวณหัวเข่า

วิธีการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม 

แพทย์จะพิจารณาว่าการผ่าตัดด้วยวิธีใดเหมาะสมและให้ผลดีแก่ผู้ป่วยมากที่สุด โดยการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่นิยมใช้ ได้แก่

การผ่าตัดส่องกล้อง

เป็นการผ่าตัดสอดท่อที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณหัวเข่าเพื่อดูสภาพกระดูกข้อเข่า และค่อย ๆ สอดเครื่องมือเข้าไปกำจัดกระดูกอ่อนที่เสียหายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวด ทว่าวิธีนี้อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ในระยะสั้นท่านั้น หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องรับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม

การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก

ในกรณีที่ข้อเข่าของผู้ป่วยเกิดความเสียหายเพียงด้านเดียว การผ่าตัดเพื่อปรับแนวและรูปร่างของกระดูกบริเวณขาจะช่วยลดแรงกดทับที่เข่าด้านนั้น ๆ  โดยแพทย์จะตัดและเหลากระดูกหน้าแข้งและกระดูกต้นขา เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น อาการเจ็บปวดจะบรรเทาลง และส่งผลให้การทำงานของเข่าดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซีกเดียว

 คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านใน ซึ่งมักใช้กับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมากนัก หรือมีอีกซีกหนึ่งของเข่าและลูกสะบ้าอยู่ในสภาพดี โดยเป็นการผ่าตัดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเดินลงน้ำหนักได้ภายใน 1-2 วัน

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

แพทย์จะผ่าตัดกระดูกอ่อนและและกระดูกเข่าที่เสียหายออก แล้วแทนที่ด้วยข้อเข่าเทียมซึ่งทำจากเหล็กหรือพลาสติก วิธีนี้มักใช้รักษาอาการข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงที่ไม่อาจผ่าตัดด้วยวิธีอื่น โดยจะช่วยให้การทำงานของเข่าดีขึ้นและมีผลลัพธ์การรักษายาวนานหลายปี


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

อาหารเสริมบำรุงข้อเข่า ที่หาทานได้ง่ายๆ

อาหารบำรุงข้อ เป็นอาหารการกินล้วนส่งผลดีต่อข้อได้ หากกินอาหารไม่มีประโยชน์จะยิ่งเร่งให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น ทาง arukou ขอให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแนะนำการกินอาหารบำรุงข้อเข่าให้ทุกท่าน

10 อาหารเสริมบำรุงข้อเข่า ที่หาทานได้ง่ายๆ

อาหารเสริมบำรังข้อเข่า

1. ควรกินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม

เพราะแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน อาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียม ได้แก่ โยเกิร์ต เนยแข็ง แต่ควรเลือกชนิดไขมันต่ํา ผักสีเขียว บรอกโคลี คะน้า ปลาเค็ม ปลาเล็กปลาน้อยที่เคี้ยวทั้งกระดูกได้ งาดํา เต้าหู้  อัลมอนด์อบ งาดำ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้หลอด แม้แต่การกินปลาตัวเล็กตัวน้อยก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ควรจะกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่กันไปได้ด้วย เพราะวิตามินดีจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น

2. กินส้มหรือผลไม้รสเปรี้ยวแทนขนมจะดีต่อสุขภาพข้อมากกว่า

 เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่า วิตามินซีและสารแอนติออกซิแดนต์ในส้ม หรือผลไม้รสเปรี้ยวช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

3. อาหารที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์

เช่น เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี สร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อ ทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการฟกช้ำ บวม

4. เพิ่มสีสันให้อาหารของคุณ 

กินผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอตสีส้ม กะหล่ําปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง ผักใบเขียวชนิดต่างๆ เพราะในผักและผลไม้เหล่านี้อุดมไปด้วยใยอาหาร สารแอนติออกซิแดนต์ ซึ่งเป็นสารอาหารบํารุงข้อ

5. กินปลาทะเลน้ําลึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3ครั้ง 

โดยเฉพาะปลา แซลมอนและปลาแมคเคอเรล เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถช่วยให้ข้อแข็งแรงและลดอาการปวดและอักเสบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบได้ โดยหลีกเลี่ยงการปรุงด้วยวิธีทอดหรือผัด แนะนําให้ใช้วิธีย่างหรือนึ่งแทนเพื่อลดปริมาณแคลอรีจากน้ํามัน

6. อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง

โดยเฉพาะผักต่างๆ อย่างใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักกระเฉด ถั่วงอก อีกทั้งยังควรกินผักให้หลากสี เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอทสีส้ม กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง เพราะจะได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียวต่างๆ จะมีวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกค่อนข้างสูง

7. กินส้มหรือผลไม้รสเปรี้ยวแทนขนมจะดีต่อสุขภาพข้อมากกว่า

 เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่า วิตามินซีและสารแอนติออกซิแดนต์ในส้ม หรือผลไม้รสเปรี้ยวช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

8. อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี

โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก เพราะวิตามินซีจะช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระอีกทางหนึ่ง

9. กินอาหารให้หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินครบถ้วน 

หากทําไม่ได้ อาจกินวิตามินรวมเสริม ซึ่งการกินวิตามินรวมจะทําให้คุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดไป เช่น แคลเซียมและวิตามินเคมีส่วนช่วยในการสร้างกระดูก วิตามินซีช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กรดโฟลิกและ วิตามินอีช่วยบํารุงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ

10. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน 

คุณอาจต้องการเพิ่มพลังหรือปลุกตัวเองให้ตื่นในตอนเช้าด้วยกาแฟหอมกรุ่น แต่ควรงดกาแฟแก้วที่สองและสามระหว่างวันลง เพราะสารกาเฟอีนในกาแฟจะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้ระดับแคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล จึงเกิดการสลายแคลเซียมในกระดูกมาใช้แทน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนปริมาณมากเกินไปจะทําให้มวลกระดูกบางลง


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

เอ็นเข่าอักเสบ อาการที่อาจเกิดกับคุณได้ทุกเมื่อ

เอ็นเข่าอักเสบ เกิดจาก

เอ็นเข่าเป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่ช่วยยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก ภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการที่มีการบาดเจ็บซ้ำๆ ที่บริเวณดังกล่าว เอ็นกล้ามเนื้อนั้นหมายถึงเนื้อเยื่อส่วนที่ทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก และภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ เรื้อรังเช่นจากการทำท่าเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ภาวะนี้มักจะเกิดที่ข้อศอก ข้อเท้า และข้อมือ

ผู้ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมหนักๆ เช่นการวิ่งหรือเล่นบาสเกตบอลเฉพาะในช่วงวันหยุด แต่ไม่ได้มีการเล่นต่อเนื่องมาในช่วงวันทำงานนั้นมักจะเกิดภาวะเอ็นอักเสบขึ้นที่เข่า นอกจากนั้นการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวที่เข่าได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ก็คืออายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเอ็นจะมีความยืดหยุ่นลดลงและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงซึ่งล้วนแต่จะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น หากกล้ามเนื้อต้นขาหรือกล้ามเนื้อน่องของคุณนั้นไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

เอ็นเข่าอักสับ

อาการของเอ็นเข่าอักเสบ

เอ็นกล้ามเนื้อในบริเวณใด ๆ ของร่างกายล้วนแต่เกิดการอักเสบขึ้นได้ทั้งนั้น แต่บริเวณที่เป็นบ่อยคือ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเข่า และข้อเท้า ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีอาการ ดังนี้

  • รู้สึกปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ใช้แขนขาหรือข้อต่อนั้น ๆ
  • ใช้การเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้ลำบาก
  • มีอาการฟกช้ำ
  • มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วย
  • มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ

อาการของเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง ต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่า 2-3 วัน หรือคิดว่าเอ็นกล้ามเนื้ออาจฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

สาเหตุของเอ็นเข่าอักเสบ

เอ็นอักเสบอาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณหนึ่ง ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยมากมักเกิดจากสาเหตุข้อหลัง โดยเฉพาะการทำอาชีพหรืองานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ หรือกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิมบ่อย ๆ เช่น เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ จึงควรมีเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการใช้งานกล้ามเนื้อเอ็นมากจนเกินไป

ผู้ที่อยู่ในภาวะต่อไปนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบได้มากกว่าปกติ

  • ผู้ที่มีอายุมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะเอ็นอักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเอ็นกล้ามเริ่มมีความยืดหยุ่นน้อยลง
  • ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายบ่อยครั้ง มีการเคลื่อนไหวผิดท่า เอื้อมยกของ ต้องออกแรงแกว่งหรือแรงเหวี่ยง หรืองานที่ต้องลงแรงมาก
  • การเล่นกีฬาบางชนิดที่เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานซ้ำ ๆ เช่น บาสเก็ตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และวิ่ง

การรักษาเส้นเอ็นเข่าอักเสบ

การรักษาภาวะเอ็นอักเสบในเบื้องต้นทำได้ด้วยการหยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของเอ็นบริเวณที่อักเสบจนกว่าจะหายดี รวมถึงการดูแลรักษาด้วยตนเองซึ่งทำได้ดังนี้

  • ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่อักเสบนาน 20 นาที ทำซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  • ใช้ผ้าพันแผลพันรอบ ๆ เพื่อรองรับข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ
  • พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีอาการให้อยู่ในระดับสูง โดยใช้หมอนหนุนไว้เมื่อนั่งหรือนอนลง
  • ป้องกันการบวมของบริเวณที่อักเสบในช่วง 2-3 วันแรกด้วยการหลีกเลี่ยงความร้อน เช่น น้ำอุ่น หรือถุงน้ำร้อน รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์และการนวดบริเวณดังกล่าว
  • เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ให้พยายามออกการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ป้องกันการฝืดติดของเอ็นที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้เคลื่อนไหว
  • อาจรับประทานยาหรือทาเจลบรรเทาการอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือยังคงมีอาการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรรับการตรวจรักษาโดยแพทย์ ซึ่งวิธีการรักษาที่อาจนำมาใช้ มีดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยยา แพทย์จะจ่ายยาเกี่ยวกับรักษาเอ็นเข่าให้ผู้ป่วย
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้การออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นกล้ามเนื้อที่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ เช่น การเพิ่มความต้านทานของกล้ามเนื้อที่เน้นการเกร็งตัวในขณะที่มีการยืดตัว ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาการอักเสบเรื้อรังของเอ็นกล้ามเนื้อ
  • การผ่าตัด กรณีที่ภาวะเอ็นอักเสบมีอาการรุนแรงและนำไปสู่การฉีกขาดของเอ็น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดออกจากกระดูก

วิธีที่อื่นๆ ที่ช่วยรักษาเอ็นเข่าอักเสบ

  • จำกัดกิจกรรมที่ทำที่จะเพิ่มความเครียดต่อหัวเข่า
  • ประคบเย็น
  • ใช้ยาแก้ปวดเช่นยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หรือ naproxen
  • ใส่สนับพยังเข่า

เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว ค่อยๆ เริ่มกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติอย่างช้าๆ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักในช่วงสัปดาห์แรกๆ โดยมากภาวะนี้มักจะหายภายในระยะเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และแพทย์อาจให้คำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติมหากยังคงมีอาการอยู่


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี