Posted on Leave a comment

อาการข้อเข่าอักเสบ ที่คุณควรรรู้

อาการข้อเข่าอักเสบ

ใครที่มีอาการปวดข้อปวดเข่า โดยเฉพาะเวลา เดิน วิ่ง ขยับร่างกาย และบางครั้งก็มีเสียงลั่นออกมาเวลาเหยียดงอเข่าด้วย รู้หรือไม่ว่าอาการที่ว่าอาจเป็นสัญญาณของ อาการข้อเข่าอักเสบ หรือ เข่าเสื่อม ก็ได้ แม้โรคข้อเข่าจะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคคนแก่ แต่ความจริงแล้วโรคนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และยังสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากด้วย ดังนั้นควรให้หมอตรวจจะเป็นการดีที่สุด

อาการของข้อเข่าอักเสบ

  1. อาการข้อเข่าฝืด ตึง โดยเฉพาะในช่วงตื่นนอน หรือพักการใช้งานขอข้อเข่านานๆ
  2. อาการปวดเข่า มีลักษณะปวดตื้อๆ ทั่วๆ ไปบริเวณข้อและมักปวดแบบเรื้อรัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน เช่น นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ และจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน
  3. มีเสียงในข้อเข่า เมื่อเวลาขยับเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของผิวข้อที่ไม่เรียบขรุขระ ซึ่งเป็นผลของการมีเศษกระดูก และอาจเกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนในข้อที่พลิกไปมา
  4. เวลาขึ้น-ลงบันได จะมีอาการเจ็บเสียวที่ข้อเข่า
  5. การเปลี่ยนรูปร่างขอข้อเข่า ในรายที่เป็นมากจะมีการชำรุดของบริเวณเข่าด้านในมากกว่าด้านนอก จนทำให้กระดูกชิดชนกัน ร่วมกับกระดูกงอกที่เกิดขึ้น การเกิดกระดูกงอกที่เป็นมาก อาจจะคลำได้กดเจ็บ และก่อให้เกิดการโค้งงอขอข้อเข่า
ยาแก้ข้อเข่าอักเสบอาการ

ยาแก้ข้อเข่าอักเสบอาการ

โรคเข่าอักเสบไม่ใช่โรคเข่าเสื่อม คุณสามารถรักษาให้หายได้โดยใช้ยา ซึ่งเราไม่ขอแนะนำซักเท่าไหร่ ให้คุณกายภาพบำบัดหรือกินอาหารที่ถูกต้อง สามารถมาให้เป็นปกติ ก่อนจะเข้าเรื่องอาหารการกินต้องทราบตัวยาที่ใช้ในการรักษาข้อก่อน

  1. ยาแก้ปวดและบรรเทาการอักเสบ เช่น ยา Ibuprofen ซึ่งช่วยระงับอาการได้ชั่วคราว แต่ไม่ได้ทำให้ภาวะข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น
  2. ยาคอร์ติโซน เป็นยาสเตียรอยด์ใช้ฉีดเพื่อยับยั้งการอักเสบ โดยจะฉีดเข้าไปที่ข้อเข่าโดยตรงปีละ 3-4 ครั้ง เพื่อไม่ให้อาการรบกวนการใช้ชีวิตมากนัก
  3. กรดไฮยาลูโรนิก เป็นส่วนประกอบสำคัญของข้อต่อและกระดูกอ่อน จึงใช้ฉีดเพื่อเพิ่มความหล่อลื่นและยืดหยุ่นให้แก่ข้อเข่า
  4. ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยา Capsaicin ใช้ทาที่ข้อเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวดโฆษณาจาก HonestDocs
  5. ผลิตภัณฑ์จาก Chondroitin ใช้เป็นอาหารเสริมซึ่งเชื่อว่าช่วยบำรุงกระดูกอ่อน และลดการเสียดสีของกระดูกบริเวณข้อต่อได้

อาหารที่ควรทาน ข้อเข่าอักเสบ

  1. อาหารที่มีวิตามิน ซี สูง เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงวิตามิน ซี เสริมในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากวิตามิน ซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดการอักเสบของข้อเข่าได้
  2. อาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง เช่น ชาเขียว มะเขือเทศ หัวหอม เพราะฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดอาการบาดเจ็บของข้อเข่าได้ดีเช่นเดียวกัน
  3. อาหารที่มีวิตามิน ดี สูง เช่น อาหารทะเล นม และไข่ รวมถึงการรับแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้า เนื่องจากวิตามิน ดี จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  4. อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งได้แก่ ปลาทะเล แซลมอน ทูน่า โอเมก้า 3 จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการปวดข้อและกระดูก
  5. สมุนไพรต้านการอักเสบ เช่น ขิง ขมิ้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดการบาดเจ็บและอาการปวดข้อเข่าได้ดี แต่การทานมากเกินไปก็อาจทำให้ปวดแสบท้องได้
และการรักษาวิธีอื่นๆ โดยการไม่ผ่าตัด
  1. การพักหรือใช้งานข้อให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน
  2. หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า เช่น คุกเข่า พับเพียบ ยองๆ ขัดสมาธิ หรือนั่งเก้าอี้ต่ำ
  3. หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นควรเดินช้าๆและขึ้นลงทีละขั้น
  4. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งท่าเดียวนานๆ ควรเปลี่ยนท่าหรือขยับข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ
  5. นั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลางวางไว้เหนือคอห่านแทนการนั่งยองๆ ควรทำราวจับบริเวณโถนั่งเพื่อใช้ช่วยพยุงตัวเวลาจะนั่งหรือยืน
  6. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง
  7. การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน จะช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อได้
  8. ที่นอนควรมีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนบนพื้นเพราะจะปวดมากเวลาจะนอนหรือลุกขึ้น
  9. การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดและกล้ามเนื้อเกร็งได้
  10. การสวมสนับเข่า ในกรณีที่ข้อเข่าเสียความมั่นคง จะช่วยกระชับข้อและลดอาการปวด
  11. การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อ การเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย
  12. การใช้ยา ปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อม ไก้แก่ ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการควบคุมอาการ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ
  13. ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด เป็นยาทางเลือกในข้อเสื่อมระยะเริ่มต้น
  14. ยาทาภายนอก ช่วยลดอาการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากยารับประทาน
  15. การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ เป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น
  16. การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ เป็นทางเลือกในข้อเสื่อมรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

หลัง “ผ่าเข่า” สิ่งที่คุณควรทราบ และปฏิบัติ

ผ่าเข่า

การผ่าตัดทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดใดก็ตามจะมีความเสี่ยงที่พบได้ทั่วไป อันได้แก่ ความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม และความเสี่ยงของการผ่าตัด ในผู้ป่วยทั่วไปจะมีโอกาสเกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนได้น้อย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น และส่วนน้อยอาจมีภาวะแทรกซ้อนถึงแก่ชีวิตได้ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ (แต่ไม่จำกัดอยู่เพียงเท่านี้)

  • ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบบานพับ คือ งอและเหยียด ผิวข้อเป็นกระดูกอ่อนที่เรียบมัน มีน้ำหล่อเลี้ยงเข่าช่วยลดการเสียดสี มีหมอนรองกระดูกช่วยในการรับน้ำหนัก และมีเอ็นภายในและภายนอกข้อเข่าและกล้ามเนื้อยึดอย่างแข็งแรง
  • เข่าที่เสื่อมสภาพจะมีความผิดปกติของผิวกระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ทำให้เกิดการเสียดสี และ เจ็บปวดระยะแรกจะรู้สึกปวดเมื่อยและตึงบริเวณข้อพับเข่าหรือ น่อง โดยเฉพาะเวลาขึ้นลงบันได เมื่อขยับข้อเข่าอาจได้ยินเสียงดังในข้อ มีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหวหรืออากาศเย็น เมื่อเป็นมากขึ้นจะทำให้เข่าหลวมและโก่งผิดรูปทำให้เดินลำบาก
  • การรักษาเริ่มด้วยการใช้ยา บริหาร ทำกายภาพบำบัด ลดน้ำหนัก การพักและจำกัดกิจกรรม ในกรณีที่ไม่ได้ผลยังมีอาการปวดมาก  รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถเดินได้ จำเป็นต้องผ่าตัด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นการเปลี่ยนผิวข้อกระดูกที่เสียไปแล้วทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กลับมาใช้งานได้ดีขึ้นลดความเจ็บปวด เคลื่อนไหวได้ดี และไม่โก่งงอ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้

อาการหลังผ่าเข่า

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้กลับบ้านแล้ว การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา และการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ภาวะการติดเชื้อที่ข้อเข่าเทียม ภาวะเส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน หรือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดเข่าที่ผ่าตัดได้ตรง สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด ตามวิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

อาการหลังผ่าเข่า

สิ่งที่ควรปฏิบัติของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ผ่าเข่าเสื่อม พักฟื้น และ การดูแลตัวเองหลังผ่าเข่า

  • บริหารหัวเข่าและกล้ามเนื้อขาอย่างสม่ำเสมอ และพยายามงอเข่าให้ได้มากที่สุดและเริ่มฝึกให้เร็วที่สุดหลังการผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกต้องขยันฝึก เพื่อป้องกันข้อเข่าติดแข็ง งอหรือเหยียดเข่าได้ไม่เต็มที่ จะทำให้การเดินไม่ปกติได้
  • การฝึกขึ้นลงบันไดให้เอาขาข้างดีหรือข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดขึ้นก่อน แต่ในการลงบันไดให้เอาขาข้างที่เจ็บหรือข้างที่ผ่าตัดลงก่อน การใช้ไม้เท้าหรือเครื่องค้ำยันระหว่างเดินขึ้นลงบันไดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ใน 2 สัปดาห์แรก ควรฝึกเดินด้วยไม้ค้ำยันหรือคอกช่วยเดิน เพื่อช่วยพยุงน้ำหนักไม่ให้กดทับหัวเข่ามากเกินไป และป้องกันการลื่นล้ม เมื่อผู้ป่วยมีความมั่นใจและแข็งแรงขึ้นจึงค่อยเดินโดยไม่ใช้เครื่องค้ำยัน
  • ทุก 1-2 ชั่วโมง ควรฝึกเดินในระยะสั้นๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อค่อยๆ แข็งแรงขึ้นและไม่ยึดติด แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทางหรือเวลาการฝึกให้มากขึ้น
  • หลังการฝึกเดินหรือเมื่อต้องนั่งห้อยขาเป็นเวลานาน ควรหาเวลานอนพักและยกปลายเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจโดยใช้หมอนหนุนบริเวณขา เพื่อไม่ให้เกิดการคั่งของเลือดและของเหลวในร่างกาย ควรวางแผ่นประคบเย็นที่เข่าเพื่อลดอาการบวม
  • การทำกิจวัตรประจำวัน ควรทำอย่างช้าๆ เช่น เวลาเอี้ยวตัว หมุนตัว ก้มตัว ลุกขึ้นนั่งจากที่นอน การล้มตัวลงนอน การลุกขึ้นยืน ไม่ควรทำอย่างทันทีทันใด ผู้ป่วยสามารถนอนตะแคงทับขาข้างที่ผ่าตัดได้ แต่ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่าให้ขาข้างที่ผ่าตัดถูกทับนานเกินไป
  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน เพื่อช่วยลดแรงกระแทกและให้เข่าเทียมไม่ต้องรองรับน้ำหนักมากเกินไป
  • หลังจากเดินคล่องและหายเจ็บแล้ว อาจเพิ่มการออกกำลังกายแบบไม่ใช้แรงกระแทก เช่น การเดินในน้ำ ว่ายน้ำ โดยต้องแน่ใจว่าแผลหายและแห้งสนิทแล้ว โดยควรปรึกษาแพทย์ ส่วนการเดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือรำไทเก็กควรเริ่มจากเบาๆ และใช้เวลาไม่มากเกินไป
  • ดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หากจะต้องมีการรักษาฟัน ขูดหินปูน ทำฟัน ถอนฟัน หรือรักษาโรคอื่นๆ ใน 2-3 ปีหลังจากการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเคยได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมมาก่อน เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาให้ยาป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจลุกลามไปถึงข้อเข่าเทียมได้จากการทำฟันหรือการผ่าตัด
  • เข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินสุขภาพเข่า รวมถึงการเอกซเรย์หัวเข่า และการตรวจร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

  • ใน 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ไม่ควรขับรถ หลังจากนั้นควรขับรถในระยะที่ไม่ไกลนักก่อน
  • ใน 6 สัปดาห์แรกหลักการผ่าตัด ไม่ควรยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม
  • ในระยะแรกไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งบนเก้าอี้เตี้ย หรือเดินขึ้นลงบันไดบ่อยเกินไป
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ ที่ต้องงอหัวเข่ามากๆ หรือยืด-หดหัวเข่าอย่างรวดเร็ว
  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการปะทะ กระแทก กระโดดหรือใช้เข่ามากๆ เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส วิ่ง
  • หลีกเลี่ยงการเดินหรือทำกิจกรรมในที่มืดหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่เดินบนพื้นที่เปียก โดยเฉพาะบริเวณห้องน้ำ เพราะจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่อยู่ในท่วงท่าที่ต้องบิดเข่าหรืองอเข่าเกินกว่า 90 องศา

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ผ่าตัดข้อเข่า” กับข้อมูลที่คุณควรทราบ

ผ่าตัดข้อเข่า

ปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อมนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้สูงอายุในประเทศไทย จากสถิติพบว่าประชาชนคนไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ มักมีอาการปวดเข่าเวลาเดิน

โดยเฉพาะตอนเดินขึ้นบันได อาการปวดส่วนมากมักเป็นบริเวณด้านในของข้อเข่า เวลานั่งอยู่เฉยๆ มักไม่มีอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการเดิน สูญเสียความมั่นใจ มีผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางกรณี ที่ผู้ป่วยมีข้อเข่าเสื่อมและขาโก่งมากๆ นั้นมีผลทำให้การเดินของผู้ป่วยผิดปกติไป มีโอกาสเกิดการหกล้มและทำให้เกิดการหักของกระดูกบริเวณตะโพก ทำให้ผู้ป่วยเกิดทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น

ในผู้สูงอายุมักมีอาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ต้องได้รับการรักษา วิธีหนึ่งคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนการรักษาและดูแลหลังการรักษาให้ถูกต้อง โดยครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม และการดูแลหลังผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะ รวมถึงข้อมูลการรักษาหลังติดเชื้อ

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. มีอาการปวด เพราะจุดประสงค์ในการรักษาคือบรรเทาอาการปวดและเพิ่มการเคลื่อนไหว
  2. มีการเคลื่อนไหวของข้อที่ผิดปกติ เช่น เหยียดหรืองอเข่าไม่สุด เข่าผิดรูป (เข่าโก่งหรือเกออกด้านนอก)
  3. ควรผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อน หากผลลัพธ์ไม่ดี จึงผ่าตัดตามลำดับ
  4. ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใส่มีโอกาสสึกหรอตามกาลเวลา หากผ่าตัดก่อนอายุ 40 ปี จะมีการผ่าตัดครั้งต่อไปตามมา โดยปกติแล้วอุปกรณ์จะมีอายุประมาณ 15-20 ปี

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในคนที่ได้รับอุบัติเหตุ

ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุและเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีบ้าง แต่ปกติแล้วผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุมักมีอาการกระดูกหัก ต้องได้รับการผ่าตัดยึดกระดูกก่อน หากกระดูกแตกเป็นเศษ ไม่สามารถเรียงข้อให้เรียบได้ มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ แต่ถึงอย่างไรการพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมก็ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย

ผ่าตัดหัวเข่า

ข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. ผู้ที่มีการติดเชื้อในเข่า และยังรักษาไม่หายขาด
  2. ผู้ที่มีการติดเชื้อบางอย่างในร่างกาย เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องปาก เป็นต้น
  3. ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมร่วมกับกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมไม่สามารถแก้ไขภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ คนไข้จะไม่สามารถใช้งานขาได้ กรณีนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยแนวทางอื่น
  4. ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมร่วมกับการสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทรับความรู้สึก (charcot’s arthropathy) คนกลุ่มนี้ไม่รู้สึกเจ็บที่เข่า แต่การผ่าตัดมีจุดประสงค์คือลดอาการบาดเจ็บ จึงไม่จำเป็นต้องผ่า นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสประสบความไม่สำเร็จสูง เช่น มีการหลวมของข้อเทียมก่อนสมควร อากาสการติดเชื้อของข้อเทียมที่สูง เป็นต้น หากจำเป็นต้องผ่าตัดเนื่องจากข้อเข่าผิดรูป อาจพิจารณาผ่าตัดรูปแบบอื่นได้ ขึ้นอยู่กับกรณี
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เช็คสุขภาพโดยละเอียด ตรวจคัดกรองเกี่ยวกับการติดเชื้อ หากคนไข้ติดเชื้อที่บริเวณใด ต้องได้รับการรักษาอาการติดเชื้อนั้นให้หายดีก่อน จึงเข้ารับการผ่าตัดได้

ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  1. การผ่าตัดใช้เวลา 1½-2 ชั่วโมงต่อการผ่าตัดขาหนึ่งข้าง
  2. การฟื้นตัว หลังผ่าตัดประมาณ 3-4 เดือน ฟื้นตัวร้อยละ 80-90 และฟื้นตัวเต็มที่ใกล้เคียงปกติ หลังผ่าตัด 1 ปีขึ้นไป
การดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  1. ให้คนไข้เดินได้เท่าที่ทนไหวหรือเท่าที่ไม่มีอาการเจ็บ
  2. หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักก่อนถ้าทำได้ ค่อยเริ่มเดิน แต่ไม่ถึงกับเป็นข้อห้าม
  3. ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการติดเชื้อในข้อเข่าหลังผ่าตัด เพราะในคนที่ผ่าตัดจะมีอวัยวะเทียมอยู่ในร่างกาย ซึ่งบริเวณข้อเข่าเทียมเป็นบริเวณที่ภูมิคุ้มกันเข้าไม่ถึง เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นจึงรักษาได้ยาก โดยทุกคนที่ผ่าตัดจะมีความเสี่ยงเรื่องของการติดเชื้อประมาณร้อยละ 1 จึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ หากไม่สบายให้รีบพบแพทย์
  4. ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม คือหัตถการที่เกี่ยวข้องกับช่องปากและทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นการพบทันตแพทย์หรือแพทย์ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ต้องแจ้งก่อนทุกครั้งว่าเคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี


Posted on Leave a comment

การรักษาเอ็นเข่าอักเสบเบื้องต้น

การรักษาเอ็นเข่าอักเสบ

โรคเอ็นอักเสบ เอ็นในที่นี้ก็คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เอ็นจะทำงานทุกครั้งที่กล้ามเนื้อกดเกร็งและกระดูกขยับเขยื้อน ที่เอ็นอักเสบก็เลยมักเป็นเพราะคุณใช้งานมากไป เช่น ทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ท่าทางเดิมซ้ำๆ โรคเอ็นอักเสบจริงๆ แล้วก็เป็นได้ทุกส่วน แต่ที่มักพบบ่อยคือเอ็นข้อมือ ข้อศอก ไหล่ สะโพก แล้วก็ส้นเท้า โรคเอ็นอักเสบจะมีอาการปวดมากจนบางทีก็ขยับเขยื้อนไม่ค่อยได้ ปกติจะดีขึ้นภายใน 2 – 3 อาทิตย์ โดยเฉพาะถ้ารักษาพยาบาลตัวเองให้ดีๆ ระหว่างนั้น แต่ในบางเคส โรคเอ็นอักเสบก็กลายเป็นโรคเรื้อรัง จนต้องไปรักษากับคุณหมออย่างจริงจัง

การรักษาเอ็นเข่าฉีกขาด แบ่งเป็น 3 กรณีตามความรุนแรง

  • กรณีเนื้อเยื่อบางส่วนของเอ็นฉีกขาด แพทย์จะรักษาด้วยยาบรรเทาปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ใส่ผ้าพยุงเข่า หรือทำกายภาพบำบัด งดการใช้เข่าชั่วคราว
  • กรณีเอ็นฉีกขาดบางส่วน  แพทย์จะพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยว่าจะผ่าหรือไม่ ถ้าไม่ผ่าตัดอาจให้พักหรือใส่เฝือกไว้
  • กรณีเอ็นเข่าฉีกขาด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เย็บซ่อมเอ็น หรือสร้างเอ็นใหม่

การรักษาเอ็นเข้าอักเสบเบื้องต้น


1.อย่าหักโหมใช้งานเอ็นหรือกล้ามเนื้อ 

เอ็นอาจอักเสบได้จากการบาดเจ็บกะทันหัน แต่ปกติมักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทีละน้อยแบบไม่รู้ตัวจนผ่านไปหลายวัน หลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน การกระทำซ้ำๆ ทำให้เอ็นตึงเกร็ง จนเกิด micro-tears หรือการฉีกขาดเล็กๆ และการอักเสบตรงจุดนั้น หาให้เจอว่าอะไรที่ทำให้เอ็นคุณอักเสบ แล้วหยุดทำก่อน (สัก 2 – 3 วัน) หรือปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำ ถ้าคุณเกิดเอ็นอักเสบเพราะการทำงาน ให้ปรึกษาหัวหน้าหรือเจ้านายเพื่อขอเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่นชั่วคราว แต่ถ้าคุณเอ็นอักเสบเพราะการออกกำลังกาย แสดงว่าออกหนักไปหรือออกไม่ถูกวิธี ลองปรึกษา personal trainer ดูก็ดี

  • การเล่นเทนนิสหรือกอล์ฟมากไปคือสาเหตุยอดนิยมของอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ ถึงได้เรียกกันว่า “tennis elbow” กับ “golfer’s elbow” ไง
  • เอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันปกติจะหายได้เองถ้าคุณหยุดพักจากการกระทำนั้นๆ แต่ถ้ายังฝืนทำต่อละก็ อาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง (ไม่ยอมหาย) ได้ ทีนี้ล่ะรักษายากแน่


2.ใช้น้ำแข็งประคบเอ็นที่อักเสบ 

อาการปวดของโรคเอ็นอักเสบนั้น หลักๆ ก็เพราะอาการอักเสบตามชื่อ เป็นความพยายามของร่างกายที่จะรักษาและปกป้องเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเสียหาย แต่กระบวนการต้านการอักเสบของร่างกายอาจดีเกินไปจนกลายเป็นปัญหาซะเอง เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องควบคุมดูแลให้ดี อาการถึงจะบรรเทา เช่น ประคบเย็นตรงจุดที่เอ็นอักเสบด้วยน้ำแข็ง เจลแพ็ค หรือถุงผักแช่แข็งก็ได้ เพื่อบรรเทาอาการและลดปวด ประคบเย็นแบบนี้ทุก 2 – 3 ชั่วโมง จนพอหายปวดลดการอักเสบลง

  • ถ้าจุดที่อักเสบเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นตรงจุดที่เล็กและเปิดเผย (อย่างข้อมือหรือข้อศอก) ให้ประคบเย็นประมาณ 10 นาที แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่ใหญ่หรืออยู่ลึก (อย่างไหล่หรือสะโพก) ก็ต้องประคบกันนานถึง 20 นาที
  • ระหว่างประคบเย็นเอ็นที่อักเสบ ให้ยกส่วนนั้นสูงไว้ และพันทับให้แน่นกระชับด้วยผ้ายืดพันแผล สองจุดนี้จะทำให้ลดการอักเสบได้อย่างเห็นผลยิ่งขึ้น
  • อย่าลืมห่อน้ำแข็งด้วยผ้าบางๆ ก่อนประคบเย็น จะได้ไม่เกิดอาการข้างเคียง อย่างผิวไหม้เพราะความเย็น

3.กินยาแก้อักเสบ

 อีกวิธีสู้โรคเอ็นอักเสบ ก็คือกินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปนี่แหละ ยากลุ่ม NSAIDs อย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) แล้วก็นาพรอกเซน (Aleve) ช่วยเพลาๆ ปฏิกิริยาตอบโต้ที่ร่างกายมีต่ออาการอักเสบได้ ทำให้ลดบวมลดปวด แต่ยากลุ่ม NSAIDs นั้นมักทำให้ปวดท้อง (ส่งผลต่อตับและไตบ้าง) เพราะงั้นจะดีกว่าถ้าคุณไม่กินต่อเนื่องนานเกิน 2 อาทิตย์ ไม่ว่าจะบาดเจ็บตรงไหนก็ตาม

  • ถ้าไม่อยากกินยา ก็ลองทาครีมหรือเจลแก้อักเสบลดปวดดูตรงบริเวณที่เป็น ถ้าเป็นตื้นๆ แถวบริเวณผิวหนัง ยาก็ยิ่งซึมและเห็นผลดีกว่า
  • อย่าพยายามกินยาแก้ปวด (acetaminophen) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (cyclobenzaprine) เพื่อรักษาโรคนี้ เพราะไม่ได้ช่วยเรื่องการอักเสบเลย

4.ยืดเส้นยืดสายเอ็นที่อักเสบเบาๆ

 ถ้าเป็นอาการกล้ามเนื้อหรือเอ็นยึดปานกลางถึงไม่มากนัก การยืดเส้นยืดสายจะช่วยได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และเพิ่มความคล่องตัว ให้คุณขยับเขยื้อนได้มากขึ้น โรคเอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันก็ยืดเส้นยืดสายได้ (ขอแค่อาการปวดบวมอักเสบไม่มากนัก) และช่วยป้องกันไม่ให้อาการอักเสบเรื้อรังรุนแรงไปกว่าเดิม ระหว่างที่ยืดเส้น ให้ออกท่าทางช้าๆ แต่มั่นคง และค้างไว้ประมาณ 20 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3 – 5 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง

  • สำหรับคนที่เป็นโรคเอ็นอักเสบเรื้อรังหรืออยากยืดเส้นเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ ให้ประคบร้อนตรงบริเวณที่เป็นก่อนยืดเส้น จะได้เป็นการวอร์มอัพกล้ามเนื้อกับเอ็นให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
  • ข้อควรระวังคืออาการปวดของโรคเอ็นอักเสบจะยิ่งแย่ตอนกลางคืน และหลังคุณออกท่าออกทางหรือทำกิจกรรม

5.ใส่ตัวซัพพอร์ตเข่า Arukou ช่วย

 ถ้าคุณเป็นโรคเอ็นอักเสบที่หัวเข่า ข้อศอก หรือข้อมือ ให้ใช้ที่ซัพพอร์ตเข่า ที่ขยับเขยื้อนได้ง่ายหน่อย เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนนั้นขยับเขยื้อนมากไปหรือกระทบกระเทือน การใส่ผ้ายืดรัดข้อยังช่วยเตือนใจคุณให้เพลาๆ กิจกรรมนั้นๆ ลงหน่อย และไม่หักโหมทำงานหรือออกกำลังกายมากเกินไป

  • แต่ก็อย่ารัดหรือยึดบริเวณที่อักเสบแน่นเกินไปจนขยับไม่ได้ เพราะเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อรอบๆ ต้องขยับได้บ้าง เลือดถึงจะไหลเวียนไปเลี้ยงสม่ำเสมอและหายดี
  • นอกจากใส่ที่รัดแล้ว ให้ลองหาเฟอร์นิเจอร์ในห้องทำงานแบบ ergonomics ที่ปรับให้เหมาะสมตามสรีระและการใช้งานของคุณดู ถ้าจำเป็นก็ต้องปรับหมดทั้งเก้าอี้ คีย์บอร์ด และระดับโต๊ะหรือหน้าจอคอม ข้อกับเอ็นของคุณจะได้ไม่รับภาระหนักอย่างที่เคย

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ก่อน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื้อรังและบานปลายในอนาคต

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

น้ําในข้อเข่า สำคัญต่อเข่าไฉน

น้ำในข้อเข่า

ข้อเข่าของเรา มีลักษณะคล้ายกับข้อต่อ ของเครื่องยนต์ ประกอบด้วย กระดูกผิวข้อ ซึ่งมีลักษณะเรียบลื่น เป็นมันวาว มีสีและลักษณะคล้ายกับผิวของงาช้าง ภายในมีส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือ “น้ำเลี้ยงข้อ” มีลักษณะเป็นของเหลวใสอยู่ภายในช่องว่างของข้อเข่า มีลักษณะพิเศษคือ มีความเหนียว ยืดหยุ่นได้ และเหมือนไข่ขาว ทำหน้าที่ในการช่วยลดหรือดูดซับแรงกระแทกต่อเข่า ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ทำหน้าที่คล้ายๆ โช้กอัพ และช่วยหล่อลื่น ลดแรงเสียดทานของผิวข้อเหมือนกับน้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันจาระบี

เมื่อเราอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป น้ำเลี้ยงข้อเข่าจะมีปริมาณลดลง และเริ่มสูญเสียคุณสมบัติในการทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก และการหล่อลื่น อันเนื่องมาจากสารตัวหนึ่ง ชื่อ ไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic) ซึ่งเป็นสารสำคัญในน้ำเลี้ยงข้อมีปริมาณลดลง…..ก่อให้เกิดการสัมผัส เสียดสีกันโดยตรงของกระดูกผิวข้อ เกิดเสียงดังเวลาขยับข้อเข่า โดยเฉพาะเวลาลุกขึ้นจากที่นั่ง หากปล่อยทิ้งไว้กระดูกผิวข้อก็จะสึกกร่อนไปเรื่อยๆ จนผิวข้อบางลง มีอาการอักเสบ เจ็บบริเวณหัวเข่า โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสะบ้า (กระดูกรูปสามเหลี่ยมส่วนหน้าหัวเข่า) นานวันเข้าเกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาในที่สุด

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า หากปล่อยให้ข้อเข่าเสื่อม จะมีการเปลี่ยนแปลงความสมดุลของน้ำเลี้ยงข้อ จากภาวะความเป็นกลางไปเป็นภาวะความเป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวเร่งการทำลายความสมบูรณ์ของผิวข้อมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะข้อเสื่อมก็จะเป็นมาก และเป็นเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการหมั่นดูแลรักษาสุขภาพของข้อเข่าให้ถูกต้องแต่แรก จะช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าให้ทำหน้าที่รับใช้เราได้ยาวนานขึ้น คนที่มีน้ำหนักมากและมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 ถ้าควบคุมหรือลดน้ำหนักได้ ก็จะช่วยลดแรงกระแทกต่อผิวข้อ ทำให้อาการปวดเข่าหายไปได้ คนที่นั่งงอเข่าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ ต้องฝึกเหยียดเข่าบ่อยๆ เพื่อลดแรงกดของกระดูกสะบ้ากับกระดูกปลายเข่า ร่วมกับการฝึกออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ เข่า และต้นขา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อให้ทำงานแบ่งเบาภาระการทำงานของข้อต่อ

แต่ถ้าหากอยากป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อม หรือเริ่มเสื่อมไปบ้างแล้ว คุณหมอแนะนำว่า ในปัจจุบันมีวิธีเติมน้ำเลี้ยงข้อเข่า เพื่อทดแทนน้ำเลี้ยงข้อที่มีการลดลง โดยการนำน้ำเลี้ยงข้อสังเคราะห์ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำเลี้ยงข้อปกติ มาช่วยในการป้องกันและรักษา โดยการฉีดเข้าไปในข้อเข่าที่มีอาการ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ ซึ่งมีผลการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะข้อที่เสื่อม จุดประสงค์เพื่อช่วยหล่อลื่น และกระตุ้นเซลล์เยื่อบุข้อให้ทำการสร้างน้ำเลี้ยงเข่าที่ปกติขึ้นมาทดแทน เป็นวิธีที่ปลอดภัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเลือกให้น้ำเลี้ยงข้อเข่านี้กับผู้ที่ได้รับการรักษาโดยการรับประทานยา ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า

นอกจากการผ่าตัดแล้ว การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม น้ำเลี้ยงข้อจะมีความผิดปกติ คือ มีความเข้มข้นและความยืดหยุ่นลดน้อยลง เนื่องจากสาร  Hyaluronic เสื่อมคุณภาพ ซึ่งการฉีดยาเข้าไปจะส่งผลให้ข้อเข่าลื่น ลดการเสียดสีที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้

น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าคืออะไร

น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เป็นสารสกัดของ Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำเลี้ยงข้อปกติ ด้วยเหตุนี้น้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า จึงมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย คือ มีความยืดหยุ่น มีความหนืดใกล้เคียงน้ำเลี้ยงข้อเข่าของคนปกติ และรับแรงกระแทกได้ดี

ทำไมต้องฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า

การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่านั้นเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในกรณีที่รับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ถือเป็นวิวัฒนาการการรักษาชนิดใหม่ของข้อเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดสารที่มีโมเลกุล มีความหนักและมีความหนืดใกล้เคียงสารน้ำหล่อลื่นในเข่าเข้าไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในเข่าที่เสื่อม เพราะในข้อที่เสื่อมนั้นน้ำเลี้ยงข้อเข่ามักจะเสื่อมสภาพด้วย การเติมสารเหล่านี้เข้าไปจะช่วยหล่อเลี้ยงข้อเข่าให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เมื่อฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเข้าไปในข้อเข่าแล้วจะทำให้เกิดผลที่สำคัญ    คือ ลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงเพิ่ม และให้อาหารบำรุงกระดูกอ่อน โดยน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าที่ฉีดเข้าไปจะลดการหลั่งสารอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ทำให้อาการปวดของผู้ป่วยดีขึ้น การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี



Posted on Leave a comment

อาการปวดข้อเข่าและ วิธีรักษา

อาการปวดเข่าและ วิธีีรักษา

คนส่วนใหญ่มักจะละเลยอาการปวดที่เกิดตามข้อต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า หรือข้อสะโพก และมักคิดว่าเป็นเพียงอาการปวดที่เกิดขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นหรือบาดเจ็บจากการใช้งาน การกินยาบรรเทาอาการปวดและพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมและท่าทางต่าง ๆ ที่ทำให้อาการปวดข้อกำเริบจึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งอาการปวดข้ออาจหายไปได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป อาการปวดข้อก็กลายเป็นปวดเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายบางชนิด

ปวดตามข้อบอกโรค

ปวดตามข้อ คือหนึ่งในลักษณะอาการที่บ่งบอกได้หลายโรคด้วยกัน ได้แก่ โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และโรค เอส แอล อี ซึ่งแต่ละโรคก็มีลักษณะอาการปวดตามข้อที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น 

1. เกาต์

โรคเกาต์ อาการปวดที่เกิดขึ้น มักเกิดบวมแดงร้อนข้อแบบเฉียบพลัน แม้ว่าจะอยู่เฉย ๆ ไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงใด ๆ มีอาการปวดข้อเดียวไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ ข้อที่พบว่าเป็นโรคเกาต์ได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า 

2. ข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อมระยะเริ่มต้นจะมีอาการปวดสัมพันธ์กับการใช้งาน ระยะปานกลาง เมื่อกระดูกอ่อนเริ่มสึกกร่อน ข้ออาจมีการอักเสบร่วมกับข้อเริ่มโค้งงอ เหยียดงอไม่สุด ระยะรุนแรง เมื่อกระดูกอ่อนสึกกร่อนมากขึ้น ข้อเริ่มหลวมไม่มั่นคง ข้อหนาตัวขึ้น จากกระดูกงอกหนา ข้อโก่งงอ ผิดรูปชัดเจน เวลาเดินต้องกางขากว้างขึ้น กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ขณะลุกขึ้นจากท่านั่งจะมีอาการปวดที่รุนแรง 

3. เอสแอลอี

โรค เอส แอล อีเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะหรือหลายระบบของร่างกาย บางรายอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน บางรายมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละระบบ มักมีอาการทางข้อและกล้ามเนื้อเป็นอาการนำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ มักเป็นข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วยคล้ายผู้ป่วยรูมาตอยด์ แต่บางรายอาจรุนแรงถึงชีวิต

4.  รูมาตอยด์ 

โรครูมาตอยด์ อาการปวดข้อมักเกิดมากที่สุดช่วงตื่นนอน อาจมีอาการอยู่ 1 – 2 ชั่วโมง หรือทั้งวันก็ได้ มีอาการปวด บวม และเคลื่อนไหวข้อลำบาก ตำแหน่งของข้อที่มีอาการปวดมากที่สุดมักจะเป็นที่ข้อมือ และข้อนิ้วมือ แต่มีโอกาสปวดข้อไหนก็ได้ ลักษณะอาการปวดข้อช่วงเช้านี้เป็นลักษณะสำคัญของโรครูมาตอยด์ นอกจากอาการทางข้อแล้ว ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ตาแห้ง ปากแห้งผิดปกติ พบก้อนใต้ผิวหนังบริเวณข้อศอกและข้อนิ้วมือ

การรักษาโรคเข่าต่างๆ

การรักษาโรคมีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน คือ 

  1. การใช้ยา ในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี ยาเหล่านี้ได้แก่ยารักษารูมาตอยด์โดยเฉพาะ ยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสารชีวภาพ และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ 
  2. การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย 
  3. การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมาก 
  4. การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว

หากร่างกายเริ่มแสดงอาการปวดตามข้อก็ควรที่จะพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะปวดเรื้อรังจนส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี


Posted on Leave a comment

“วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า” ที่คุณก็ทำได้

วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า

วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า” ทาง arukou ได้รวบรวมเทคนิคที่คุณเองก็สามารถทำได้ ซึ่งมันสามารถทำได้ง่ายมากๆ อีกทั้งยังมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีกด้วย โดยมีวิธีทั้ง 12 วิธีดังนี้

1. ลดน้ำหนัก
เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง จะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย

2. ท่านั่ง
ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น

3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก
หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่านควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี

4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า
เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น

5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว

6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ
ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ

รักษาปวดเข่ามาก

7. การยืน
ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้

8. การเดิน
ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดกระชับพอดี

9. ใช้ไม้เท้า
โดยเฉพาะ ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด

10. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น

11. การออกกำลังกายวิธีอื่น
ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ไม่ ควร ออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาส เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้

12. ถ้ามีอาการปวด
ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้
จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และ ยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ บรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“วิธีแก้ปวดเข่า” ที่คุณเองก็ทำได้

วิธีแก้ปวดเข่า

สำหรับใครที่ญาติผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยาย คุณปู่คุณย่า มีอาการ ปวดเข่า ปวดขา ปวดตามข้อ รักษายังไงก็รักษาไปหาย ไปหาหมอ หมอก็ให้ยามาทาน พอไม่ทานก็รู้สึกปวดเหมือนเดิม จะลุกจะนั่งจะเดินจะเหิน ก็ต้องทำอย่างช้าๆระมัดระวัง ไม่เหมือนสมัยยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ที่จะลุกจะนั่งได้ตามใจ เพราะร่างกายของกลุ่มผู้สูงอายุเกิดการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ จึงทำให้ปวดหัวเข่า ปวดขา วันนี้ทาง arukou จึงมีวิธีการรักษาอาการปวดเข่า ปวดขา มาบอกทุกท่าน

สัญญาณอันตรายของโรคข้อเข่า

  1. มีการบวมและร้อนของข้อเข่าหรือบริเวณรอบ ๆ ข้อ
  2. มีกล้ามเนื้อต้นขาลีบ มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา
  3. มีการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนังบริเวณขา หรือ เท้า เมื่อเวลาเดินนาน ๆ
  4. มีอาการข้อติดหรือข้อขัด เคลื่อนไหวข้อไม่เต็มที่ อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  5. มีอาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
  6. มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
  7. อายุมากขึ้น ทำให้ระบบกล้ามเนื้อของร่างกายเสื่อมลงขาดความยืดหยุ่น เอ็นหลวม มวลกระดูกลดลง
  8. การยกของหนัก
  9. นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ เป็นเวลานาน
  10. เดินขึ้นลงบันไดบ่อย
  11. น้ำหนักมากเกินไป จนทำให้ส่วนช่วงล่าง ตั้งแต่ก้น จนถึงเท้า ของเรารับน้ำหนักไม่ไหว
  12. ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ
  13. เล่นกีฬาหักโหม
  14. หกล้มกระแทกบ่อยๆ
  15. อาหารการกิน
วิธีแนะนำในการแก้ปวดเข่า

วิธีแนะนำในการแก้ปวดเข่า

  1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อ เดิน จะมีน้ำหนักลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง น้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว (การถีบจักรยาน เข่าจะรับน้ำหนักเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับน้ำหนักน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงด้วย
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
  3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่านควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
  4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมาก ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
  6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  7. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้
  8. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  9. ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย ( สูงไม่เกิน 1 นิ้ว ) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป
  10. ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนข้อเข่า และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้าในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด
  11. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
  12. วิธีออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายแบบที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่า มากนัก เช่น เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นลีลาศ เต้นแอโรบิก เป็นต้น

สูตรสมุนไพรแก้ปวดเข่าได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

ใช้สมุนไพรพอก ทา ประคบ ดื่ม เช่นการดื่มชาเขียว 4 แก้วต่อวัน จะสามารถลดความเสี่ยงโรคข้ออักเสบได้ , การดื่มชาคาโมมายล์ช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณข้อต่อ , การพอกด้วยขิงจะช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดข้อได้ , การประคบเย็น จะลดอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน และอาการบวมได้ , การประคบร้อน จะช่วยลดอาการปวดเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ความร้อนจะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อได้

สูตรการทำสมุนไพรพอกด้วยขิง

1. เลือกเหง้าขิงสดมีความหนาประมาณ 3 นิ้ว 1 เหง้า
2. ปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วนำไปบดให้ละเอียด
3. นำขิงที่บดละเอียดดีแล้วไปผสมกับน้ำมันมะกอก คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. จากนั้นนำไปพอกบริเวณที่รู้สึกปวด ห่อไว้ด้วยผ้าพันเคล็ด (ace bandage) หรือผ้ากอซทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างน้ำออก
5. ทำได้บ่อยครั้งจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“รักษาอาการปวดเข่า” ด้วยวิธีต่างๆ ที่ควรรู้

รักษาอาการปวดเข่า

การเกิดโรคเกี่ยวกับข้อเข่าต่างๆ เป็นกระบวนการเสื่อมของกระดูกอ่อนตรงบริเวณผิวข้อ ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากที่ข้อเข่า ส่วนใหญ่มักปวดมากเวลาเดิน เดินขึ้นบันได ถ้าเป็นมากจะมีการโก่งของข้อเข่าร่วมด้วย การป้องกันคือการชะลอไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นซึ่งก็คือการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการที่งอเข่ามากๆนั้นจะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ และในกรณีที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว กระดูกที่งอกอยู่รอบๆข้อจะไปกดเบียดเส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆข้อทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะไปเพิ่มแรงกระทำต่อบริเวณข้อเข่า ในวัยกลางคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปที่ยังออกกำลังหนักๆเช่น การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกเช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าค่อนข้างสูง และการวิ่งหรือเล่นกีฬาหนักๆ ก็เพิ่มแรงกระทำที่ข้อเข่าซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ไวขึ้น ดังนั้นควรเปลี่ยนประเภทของกีฬาเป็นประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น  cross trainer ซึ่งเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ซึ่งดีกว่าการใช่ลู่วิ่ง
  3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขาจะช่วยพยุงข้อเข่าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น 
  4. ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยๆ ยังไม่มีการผิดรูปมากนัก การใช้ยากลุ่ม glucosamine ก็จะมีประโยชน์และชะลอการเสื่อมของข้อได้ในระยะยาว และยากลุ่มนี้ก็ไม่มีผลเสียและไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

โรคข้อเข่าต่างๆ เป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี

  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการให้ยารับประทาน
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาอาการปวดเข่าทั่วไป

  1. ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเข่าเสื่อม เช่นการยกของหนัก การนั่งพับเพียบ การนั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ เพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับลเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรนั่งเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
  2. การลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดอาการปวดเข่า และช่วยชะลอเข่าเส่อมได้
  3. การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารทำได้โดยการยืน มือเกาะกับพนักเก้าอี้ ย่อตัวลงให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนท่าตรง ทำซ้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำโดยนั่งเก้าอี้ เหยียดเท้าข้างหนึ่งและเกร็งไว้ 10 วินาที แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วๆ หรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง
  4. เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะรองด้วยพื้นกันกระแทก
  5. ให้พักเข่าหากมีอาการปวดเข่า
  6. ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุก อย่าหยุดใช้งานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  7. เวลาขึ้นบันไดให้ใช้ข้อที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อน เวลาลงให้ก้าวเท้าข้างที่ปวดลงก่อน มือจับราวบันไดทุกครั้ง
  8. ประคบอุ่นเวลาปวด
  9. ทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อ และข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูป รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ

การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลัง หรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า

  1. นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ข้อเท้าทั้ง2 ข้าง ยกขึ้นลงให้ทำวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที
  2. นั่งพักบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งบนพื้น อีกข้างหนึ่งพักบนเก้าอี้ กดเท้าที่พักบนเก้าอี้นาน 5-10 วินาที แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้งให้ทำวันละ 3 ครั้ง
  3. นอนหงาย หรือนั่ง หาหมอนรองข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนรอง ให้เข่าติดพื้นให้นับ 5-10 วินาที ทำวันละ 3 เวลาทำสลับข้าง
  4. นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้ฝ่าเท้าข้างหนึ่งแล้วดึงขึ้นในขณะที่เท้าถีบลง ให้เท้าสูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงไว้ 5-10 วินาทีพัก 1 นาทีทำซ้ำ 3 เวลา
  5. ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมา และเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้า ให้นับ 5-10 วินาที ทำข้างละ 10 ครั้งทำวันละ 3 เวลา หากแข็งแรงให้ถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า
  6. ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงจากพื้น 1 ฟุตเกร็งกล้ามเนื้อไว้ นับ 1-10 สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา
  7. ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วยืนขึ้นทำ 5-10 ครั้ง วันละ 3 เวลา

รักษาอาการปวดเข่าโดยการใช้ยา

หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดเข่า จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้

  1. ยาแก้ปวด เป็นยาที่ลดอาการปวด แต่ไม่ได้แก้อักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยาพารา
  2. ยาแก้อักเสบ steroid ใช้กันมากทั้งชนิดฉีดและรับประทาน เนื่องจากมีผลข้างเคียงจึงไม่แนะนำให้ใช้
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้นแต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร
  4. ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้า ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
  5. การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม

เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการการผ่าตัด

ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลดี โรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดก็มีได้หลายวิธีดังนี้

  1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเอาสิ่งสกปรที่เกิดจากการสึกออกมาเ
  2. การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออก ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
  3. การผ่าตัดใส่ข้อเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“โรคปวดเข่า” อย่าละเลยควรรีบแก้

โรคปวดเข่า

โรคปวดเข่าพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป และในคนสูงอายุ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชะลอความเสื่อมเป็น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าจะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรัง และการติดยาของผู้ป่วยได้

ในปัจจุบันนี้ โรคปวดเข่า โรคข้อสะบ้าเสื่อม โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคทั้งหลายที่เกี่ยวกับข้อนี้ เป็นโรคที่คุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ รองลงมาจากเรื่องของปวดหลัง ของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่ ศูนย์โรคปวดหลัง รพ.ลานนา เราจึงเพิ่มศักยภาพฯ รับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม,ข้อสะโพกเทียม,ผ่าตัดเข่าผ่านกล้อง เข้ามาเสริมทีม ขยายออกมาเป็นศูนย์โรคปวดเข่า เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเข่าโดยเฉพาะ ขณะนี้ก็มีผู้เข้ามารับบริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก ผ่าตัดเข่าผ่านกล้องแบบแผลเล็กกับเราแล้วหลายราย ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ

ส่วนสาเหตุของการเกิด โรคปวดเข่า นั้นมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะด้วยอายุ ที่ทำให้เสื่อมตามวัย เช่นผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน กระดูกพรุนทำให้ทรุด หรือการใช้งานที่ผิดวิธี ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เช่นการนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า จากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออาจเกิดข้อถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบติดแข็ง รวมถึงข้อเสื่อมที่เกิดหลังจากอุบัติเหตุ เส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้อที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อ

อาการโรคปวดเข่า

สาเหตุของโรคปวดเข่า

  1. น้ำหนักตัวมาก
  2. อายุเกิน 40 ปี
  3. การยืน หรือนั่งงอเข่านาน ๆ
  4. การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอก หรือโค้งเข้าใน
  5. จากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่น ได้รับบาดเจ็บ
  6. ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ
  7. โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ฯลฯ

อาการของโรคปวดเข่า

  1. ปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกลำบาก หรือปวดมากเวลาเดิน
  2. บวม และร้อนรอบเข่า
  3. เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ งอ และเหยียดไม่สุด เวลาเคลื่อนไหวข้อจะมีเสียงดัง
  4. สภาพเข่าโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น

        อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะแรกมักจะเป็นๆ หายๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้น และปวดตลอดเวลา การวินิจฉัยโรคข้อเข่านั้น ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ เพราะในหัวเข่าของคนสูงอายุทั่วไปเมื่อถ่ายเอ็กซเรย์ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเข่าแคบลง และมีหินปูนจับอยู่ตามขอบของข้อได้โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด  

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี