Posted on Leave a comment

กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ ปัญหาที่พบเจอได้ทุกวัย

กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ ปัญหาที่พบเจอได้ทุกวัย

กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ ปัญหาที่พบเจอได้ทุกวัย

กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ

หากกล่าวถึงอาการปวดเข่า ส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงข้อเข่าเสื่อมในคนสูงอายุ แต่สำหรับอาการปวดเข่าในคนอายุน้อย ถ้าไม่นับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬาแล้ว สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ ”กระดูกอ่อนเข่าอักเสบ” ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมทั่วไปในแต่ละวัน ทั้งการนั่ง ยืน เดิน วิ่ง ขึ้นลงบันได ซึ่งล้วนต้องใช้ข้อเข่าเป็นส่วนสำคัญ

“ข้อเข่า” เป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกหน้าแข้ง  กระดูกต้นขา และกระดูกสะบ้า รวมเป็นข้อเข่า ผิวสัมผัสของกระดูก 3 ชิ้นนี้จะมีกระดูกอ่อนหุ้มไว้เรียกว่า “กระดูกอ่อนผิวข้อ” มีลักษณะเรียบ ลื่น และสีขาวใส ทำหน้าที่ลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว รองรับแรงกระแทกภายในข้อเข่า แต่ถ้าบริเวณกระดูกอ่อนนี้เกิดการอักเสบ ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บได้ โดยเฉพาะกระดูกอ่อนตำแหน่งสะบ้าเข่าซึ่งอยู่บริเวณด้านหน้าที่มักจะพบการอักเสบได้บ่อย ทุกครั้งที่เรางอเหยียดเข่า กระดูกสะบ้าก็จะเคลื่อนที่ขึ้นลง เข้ารูปกับกระดูกต้นขาได้พอดี แต่เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีการเสียดสีมาก จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบได้ง่าย เป็นที่มาของ กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบนั่นเอง

การรักษากระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ

1.ลดน้ำหนัก เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากเรามีน้ำหนักตัวที่พอดี ก็จะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้พอสมควร

2.ออกกำลังกาย โดยเน้นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อสะโพก เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้แข็งแรงแล้ว จะช่วยทำให้ลูกสะบ้าเอียงน้อยลง ช่วยลดแรงกระแทก โดยมีท่าออกกำลังกายที่ควรทำ ดังนี้

3.ปรับพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ ได้แก่ การคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยอง การขึ้นและลงบันไดบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น

4.รักษาด้วยยาเพื่อบรรเทาอาการปวด และลดอาการอักเสบ

5.คนที่เท้าแบน ควรใส่รองเท้าที่มีอุ้งเท้าด้านใน เพื่อช่วยให้ฝ่าเท้ามีการรองรับที่ดี

การป้องกัน

ใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าและสะโพกให้แข็งแรง ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังเล่นกีฬา เล่นกีฬาในระดับที่เหมาะกับสมรรถภาพร่างกายของตนเอง ดูแลน้ำหนักให้เหมาะสม ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ “กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ” ได้ รวมถึงการใช้อุปกรณ์เซฟข้อเข่า หรือที่ซัพพอร์ตเข่าช่วยให้คุณสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

arukouthailand ซัพพอร์ตเข่า แก้ปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรัง รวมถึงป้องกันเข่า

Posted on Leave a comment

ข้อเข่าเสื่อม ไม่แก่ก็มีโอกาสเป็นได้

ข้อเข่าเสื่อม ไม่แก่ก็มีโอกาสเป็นได้

ข้อเข่าเสื่อม คือ

“โรคข้อเข่าเสื่อม” เกิดจากการใช้งานข้อต่อเนื่องยาวนานจนทำให้กระดูกอ่อน ผิวข้อสึกกร่อน ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดข้อขณะเคลื่อนไหว เข่าผิดรูปโก่งงอ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม น่าสนใจว่า…ปัจจุบันไม่เฉพาะคนแก่เท่านั้นที่เป็น คนกลางคน…ก็เป็นได้ ปัญหาสำคัญมีว่า.. .พอเป็นโรคแล้วส่งผลกระทบในเรื่องคุณภาพชีวิต มากขึ้น พบว่า ที่พบเพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปีก็เริ่มมีอุบัติการณ์ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

สาเหตุที่เกิดมีอยู่ 2 หลักใหญ่ๆ หนึ่งแรงที่กระทำกับข้อเยอะเกินปกติและเป็นเวลานาน เช่น ในกลุ่มที่เป็นนักวิ่งมาราธอน จะพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมในอนาคตจะสูงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่าตัว

ถัดมากลุ่มที่มีพยาธิสภาพในข้อเข่า เช่น มีอุบัติเหตุมาก่อน อาจจะมีกระดูกหักหรือมีผิวกระดูกที่บาดเจ็บมาก่อน อย่างนักฟุตบอลที่เอ็นฉีกขาด ทำให้พยาธิสภาพในเข่าเปลี่ยนแปลงไปไม่สมดุล เสียความมั่นคง

อีกปัจจัยก็คือ “โรคประจำตัว” เช่น พวกที่เป็นรูมาตอยด์ข้ออักเสบอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะทำให้ข้อเสื่อม สึกได้เร็วขึ้น ในกลุ่มคนอายุน้อยจะพบสาเหตุใหญ่ๆก็คือ เกิดอุบัติเหตุมาก่อน กระดูกหัก ทำให้แนวแกนขาเปลี่ยนไป อาจเป็นกระดูกหน้าแข้ง กระดูกต้นขาหัก หรือกระดูกตรงเข่าหัก ทำให้การรับแรงเปลี่ยนไปเกิดเสื่อมสึกได้

กรณีถัดมาก็จะเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวอย่างที่กล่าวไปแล้ว รวมถึงโรคเลือดบางชนิดที่ไม่ค่อยพบในเมืองไทย เช่น เลือดข้นผิดปกติ อย่างที่สามพวกที่เรียกว่า ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เยอะ จะทำให้กระดูกตายได้

“หลักๆในบ้านเราจะเป็นเช่นนี้ น้ำหนักเยอะก็เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะบีเอ็มไอที่เกิน 40 จริงๆน้ำหนักเกินมากไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่ถ้าเกินบีเอ็มไอ 40 จะเป็นเยอะเลย…โอกาสที่เป็นสูงขึ้นเยอะ”

อาการแรกของคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อมจะเริ่มจากปวดเข่าบ่อยๆ แต่การปวดแบบนี้ก็มีหลายลักษณะหลายแบบ…ปวดเวลาทำอะไร ส่วนมากข้อเข่าเสื่อมจะปวดตอนนั่งยอง นั่งคุกเข่า พับเพียบ จะเริ่มปวด

หรือปวดตอนขึ้นลงบันได รู้สึกปวดมาก อยู่ท่านั้นนานๆไม่ไหว อาจจะต้องปรึกษาหมอ เริ่มเป็นเข่าเสื่อมแล้วหรือยัง หรือว่าเป็นอย่างอื่น ก็มีโอกาสเป็นได้หรือยัง สัญญาณต่อมาก็คืออาจจะมีเข่าบวม เข่าอุ่น…บวมร้อน ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการอักเสบตรงข้อเข่า ข้อเข่ามีปัญหา

การแบ่งระยะสำหรับข้อเข่าเสื่อมจะใช้ภาพเอกซเรย์เป็นหลักในการบอก ซึ่งจะมีตั้งแต่ข้อเข่าปกติ ข้อเข่าเสื่อมระยะต้น หรือว่าเสื่อมเล็กน้อย เสื่อมปานกลาง แล้วก็รุนแรง

“ตรงนี้ต้องเข้าใจต่อไปอีกว่า ตัวที่เอกซเรย์ว่าเป็นมากเป็นน้อยบอกระยะของอาการเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าเราควรต้องทำอย่างไร…การวินิจฉัยหลักๆก็คือ การอ่านประวัติแล้วก็ตรวจร่างกาย เอกซเรย์เหมือนเป็นตัวยืนยันและยังช่วยบอกว่าเป็นระยะไหนเท่านั้น ระยะต้น ระยะกลาง หรือว่ารุนแรงแล้ว”

ข้อเข่าเสื่อมอาหารที่ควรรับประทาน?

1.อาหารมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง

โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูกให้แข็งแรง และลดอาการปวดหรืออักเสบในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าอักเสบ และลดอาการติดแข็งบริเวณข้อต่างๆ

2.อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง

โดยเฉพาะผักต่างๆ อย่างใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักกระเฉด ถั่วงอก อีกทั้งยังควรกินผักให้หลากสี เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอทสีส้ม กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง เพราะจะได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียวต่างๆ จะมีวิตามินเคที่มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกค่อนข้างสูง

3.อาหารที่มีแคลเซียมสูง

เช่น อัลมอนด์อบ งาดำ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้หลอด แม้แต่การกินปลาตัวเล็กตัวน้อยก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ควรจะกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่กันไปได้ด้วย เพราะวิตามินดีจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น

4.อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี

โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก เพราะวิตามินซีจะช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระอีกทางหนึ่ง

5. อาหารที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์

เช่น เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซี สร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อ ทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดโอกาสเกิดการฟกช้ำ บวม

6.รับประทานอาหารประเภทอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง

แทนประเภทผัด ทอด หรือแกงกะทิ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวด้วย

ข้อเข้าเสื่อม สมุนไพรก็สามารถช่วยได้

1. ลำไย

สิ่งที่ดีงามของลำไยที่จะช่วยแก้ปวดเข่า คือ เมล็ดค่ะ นำเมล็ดลำไยสดมาประมาณ 20 เมล็ด มาทุบให้แตก แล้วนำไปแช่ในเหล้า 40 ดีกรีให้ท่วม (1 ขวด) ทิ้งเอาไว้เป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วก็นำเฉพาะน้ำมาทาบริเวณหัวเข่า หรือบริเวณที่ปวด วันละ 1-2 ครั้ง

2. ขิง

ขิงมีสรรพคุณหลายอย่าง รวมไปถึงการบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี การใช้ขิงบรรเทาอาการปวดก็ง่ายๆ โดยการจิบชาขิง หรือดื่มน้ำอุ่นที่ฝานขิงใส่ลงไป 15 นาที นอกจากอาการปวดเข่าปวดข้อจะดีขึ้นแล้ว ยังชื่นใจชุ่มคออีกด้วย แต่หากใครอยากรักษาอาการปวดเข่าจากภายนอก ลองนำขิงบิดละเอียดผสมน้ำมันมะกอกมาพอกบริเวณเข่าที่ปวด 10-15 นาทีก็ได้

3. ขมิ้น

ขมิ้นไม่ได้มีสรรพคุณแค่บำรุงผิวให้สวยงามอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรักษาอาการปวดเข่าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นำผงรากขมิ้นมาประคบบริเวณที่ปวด

 

arukouthailand ซัพพอร์ตเข่า ช่วยถนอมเข่าของคุณ และบรรเทาอากาศปวดเหล่านี้ได้

Posted on Leave a comment

ปวดเข่าเรื้อรัง ปัญหาที่คุณควรใส่ใจมันให้มากที่สุด

ปวดเข่าเรื้อรัง ปัญหาที่คุณควรใส่ใจมันให้มากที่สุด

ปวดเข่าเรื้อรัง

อาการปวดเข่าเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยมากในยุคปัจจุบันและเกิดขึ้นกับคนได้ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งมันมาจากการใช้ชีวิตที่ผิดของเราแบบไม่รู้ตัวนั่นเอง ดังนั้นจึงควรที่จะศึกษาและให้ความสำคัญในการรับมือกับมัน เพื่อการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างสะดวกสบายไม่มีปัญหาสุขภาพตามมา

คุณมีอาการเหล่านี้ไหม?

อาการปวดเข่าเรื้อรังคือ การปวดบริเวณข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา และไม่มีทีท่าว่าจะหายไป โดยความรุนแรงของอาการปวดเข่านั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ และสภาพทางกายภาพของเราด้วย โดยสามารถสังเกตอาการปวดเข่าได้ดังนี้

1. งอเข่าหรือยืดได้ลำบาก

2. ผิวหนังที่เข่าแดง เวลาสัมผัสแล้วรู้สึกอุ่น

3. เกิดเสียงผิดปกติเมื่อขยับเข่า เช่น ดังกึก หรือเสียงลั่นในข้อ

4. เกิดอาการปวด ร่วมกับอาการบวม แดง และเป็นไข้

5. ยืนแล้วรู้สึกปวดที่เข่าอย่างชัดเจน

6. รู้สึกชาบริเวณขาข้างที่ผิดปกติ

7. เดินลำบาก

หลังจากสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าเราเข้าข่ายที่จะเป็นอาการปวดเข่าเรื้อรังแล้ว ให้ตรวจสอบตัวเองก่อนเลยว่าเรามีพฤติกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เข่ามากเกินไปรึเปล่าหรือทางที่ดีรีบปรึกษาแพทย์ดีที่สุด

โรคร้ายที่เกี่ยวโยงถึงอาการปวดเข่าเรื้อรัง

อาการปวดเข่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยแต่ละคนก็อาจจะมีปัจจัยการเกิดปัญหานี้ที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดเข่าเรื้อรังมักจะมีต้นเหตุมาจาก 6 โรคเหล่านี้นี่แหละ

1.โรคเข่าเสื่อม

เรียกได้ว่าเป็นโรคสุดฮิตของคนไทยดีกว่าครับ เพราะพฤติกรรมของคนไทยส่วนมากมักจะชอบนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบกัน บวกกับนั่งไขว่ห้าง ซึ่งเป็นการทำให้เข่ารับภาระหนักอยู่ตลอดเวลา พออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลงก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้หมอนรองกระดูกข้อเข่าเสื่อม จนกลายเป็นอาการปวดเข่าในที่สุด ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะใช้เวลานานในการเป็นโรคนี้ แต่เพราะความไม่ระวังตัวนี่แหละครับ ทำให้มันค่อยๆ สะสมๆ และเกิดขึ้นเป็นอาการปวดเข่าได้ในที่สุด

2. โรคปวดใต้ข้อพับเข่า

สำหรับโรคนี้จะพบได้น้อยหน่อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเป็นนะครับ แต่จะเป็นโรคที่เกิดกับกลุ่มนักกีฬาวิ่งเร็ว หรือพวกนักกีฬาที่ต้องกระโดดเป็นประจำมากกว่า ซึ่งพฤติกรรมนี้จะส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง หรือใต้ข้อพับเข่าของเราถูกฉีกกระชาก และการใช้งานบ่อยๆ เส้นใยกล้ามเนื้อตรงนี้ก็จะเกิดการฉีกขาด และอักเสบขึ้นมา ซึ่งจะเป็นความปวดที่มากขึ้นเมื่อเราพยายามวิ่งเร็ว กระโดด หรือทำกิจกรรมที่ต้องงอเข่าบ่อยๆ

3. โรคพังผืดอักเสบ

อาการปวดเข่าเรื้อรังจากโรคพังผืดอักเสบนี้เป็นอีกส่วนที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักวิ่งมาราธอน และนักปั่นจักรยานทางไกล ซึ่งจะเป็นการปวดข้างเข่าด้านนอก เป็นเพราะพังผืดไปเสียดสีกับปุ่มกระดูกที่อยู่ข้างเข่าด้านนอกนั่นเอง โดยจะเกิดเมื่อเราวิ่ง หรือปั่นจักรยาน พอเสียดสีบ่อยเข้าก็จะทำให้พังผืดฉีกขาด และอักเสบ

4. โรคเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด

สำหรับนักฟุตบอลแล้วโรคนี้พบได้บ่อยมาก เพราะต้องมีพฤติกรรมวิ่งซิกแซกหลบคู่ต่อสู้อยู่บ่อยๆโดยเกิดจากการวิ่งลงน้ำหนักและเกิดเข่าบิดขณะที่เข่าเหยียดตรงอยู่ ทำให้เอ็นไขว้หน้าถูกระชากจนฉีกขาด ซึ่งเอ็นไขว้หน้าเข่าจะฉีกขาดได้เมื่อมีแรงกระทำต่อข้อเข่าเรานั่นเอง ซึ่งความน่ากลัวก็คืออาการนี้จะพบในวัยรุ่นมากกว่าผู้สูงอายุ ทำให้โรคปวดเข่านั้นเป็นสิ่งที่วัยรุ่นเองก็ห้ามมองข้ามเด็ดขาด

5. โรคข้อเข่านักกระโดด

อาจจะพบได้น้อยสักหน่อย แต่ก็มีคนเป็นให้เห็นกันอยู่บ้าง ในกลุ่มนักกีฬาหรือคนที่ชอบออกกำลังกาย โดยกระโดดอยู่เป็นประจำ ซึ่งเกิดจากการที่เส้นเอ็นใต้ลูกสะบ้าถูกฉีกกระชากจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าหดตัวอย่างเร็วและแรงในขณะที่เรากระโดดขึ้น สังเกตอาการได้จากการที่เรากดลงตรงเอ็นใต้ลูกสะบ้าแล้วจะมีอาการปวดขึ้นมา

6. โรคเข่าแม่บ้าน

ที่ต้องตั้งชื่อนี้เพราะมักจะเกิดกับแม่บ้านที่ชอบนั่งคุกเข่าถูพื้น หรือคนที่ล้มแล้วข้อเข่ากระแทกพื้นโดยตรง ทำให้ถุงน่องที่อยู่บนลูกสะบ้าได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดการอักเสบบวมอย่างชัดเจนเป็นลักษณะปูดนูนขึ้นมา

นอกจากปัญหาที่เกิดจาก 6 โรคเหล่านี้ที่ได้บอกไปแล้ว อาการปวดเข่าเรื้อรังยังสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม การใช้ชีวิต และสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งใครที่ไม่อยากเป็นโรคนี้ก็ควรระวังสิ่งเหล่านี้ด้วย

ปัจจัยที่อาจทำเกิดอาการ ปวดเข่าเรื้อรัง

  • อายุที่มากขึ้น
  • น้ำหนักตัวที่มากกว่าเกณฑ์
  • การใช้งานข้อเข่ามากเกินไป
  • อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อข้อเข่า
  • ติดเชื้อในข้อเข่า
  • โรคอักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ เกาต์
  • พันธุกรรม

แนะนำผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า ช่วยถนอมเข่าคุณ arukouthailand

Posted on Leave a comment

9 วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเข่า ให้บรรเทาลงแบบชิว ๆ

วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเข่

9 วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเข่า ให้บรรเทาลงแบบชิว ๆ

เข่านั้นเป็นองค์ประกอบที่ซับซ้อนของร่างกายเรา และเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย บางครั้งอาการปวดเข่าอาจทำให้เราติดขัดในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทาง Arukou ขอแนะนำ 9 วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเข่า ที่คุณก็สามารถทำเองได้ง่าย ๆ

วิธีที่ช่วยลดอาการปวดเข่า

1..ใช้การบริหาร

การบำบัดที่ง่ายที่สุด และยังได้ผลดีด้วย แถมยังทำง่ายและได้ผลดีด้วยการบริหาร โดยเราขอแนะนำให้คุณทำทั้งหมด 3 ท่า คือ

    • นอนหงายเหยียดขาตรง
    • นั่งแล้วยืดขาออกแล้วเกร็งหน้าขา
    • นั่งแล้วกระดกข้อเท้า

เพียงเท่านี้อาการปวดเข่าของคุณก็สามารถบรรเทาขึ้นได้อย่างชัดเจน

2.ออกกำลังกายแบบเบา ๆ

าการเจ็บเข่าอาจทำให้คุณอยากพักผ่อนบนโซฟาตัวนุ่มๆ แต่ทางแก้ที่ชะงัดที่สุดคือการออกกำลังกาย และไม่ใช่การวิ่งบนลู่วิ่งนะ นั่นทำให้เข่ายิ่งกระแทกด้วยนะ แต่ควรเน้นการเดิน การปั่นจักรยาน ตลอดจนการวิ่งบนเครื่องไร้แรงกระแทก ออกกำลังแบบไหนก็ได้ให้เท้าแตะบนพื้นเบาๆ ตลอดเวลา

3.สร้างโปรตีนที่ดีให้กับร่างกาย

หมั่นกินนมไขมันต่ำ หรือโปรตีนจากเนื้อไก่ และปลาทุกวัน เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือนมพร่องมันเนยกับผลไม้ที่คุณชื่นชอบทุกเช้าได้โปรโยชน์ทั้งร่างกายด้วยนะ

4.กินโยเกิร์ตก็ช่วยได้

โยเกิร์ตนั้นมีส่วนผสมของแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งช่วยชะลอกระดูกเปราะและลดความเสี่ยงของกระดูกหัก ถือเป็นเมนูในชีวิตประจำวันที่หาซื้อขายและทานง่ายมีประโยชน์ต่อร่างกายสุดๆ

5.ลดน้ำหนักสักหน่อย

การลดน้ำหนักทุกครึ่งกิโล ทำให้หัวเข่ารู้สึกเหมือนรับน้ำหนักน้อยลงถึง 2-3 กิโลกรัมเลยทีเดียว รองสำรวจตัวคุณเองก่อนว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเปล่า

6.เครื่องนับก้าว

ลองติด Pedometer หรือเครื่องนับก้าวดูสิ มันมีผลการสำรวจพบว่า คนที่พกเจ้าเครื่องนี้ จะเดินได้มากกว่าเดิมถึงวันละ 2,500 ก้าว หากทำแบบนี้ต่อเนื่องกัน เท่ากับปีนึงน่าจะลดได้ถึง 4-5 กิโลกรัมเชียวนะ แถมยังดีกับข้อเข่าเราอีกด้วย

7.บริหารสะโพก

บริเวณที่คุณมักมองข้ามคือสะโพก ซึ่งอันที่จริงแล้วสะโพกที่แข็งแรงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเข่าได้มากทีเดียว ลองท่าบริหารด้วยการนอนราบลงกับพื้นแล้วตั้งฉากขาทั้งสองข้างขึ้น ก่อนวางขวดน้ำหรือดำเบลไว้ที่หน้าท้อง แล้วค่อยๆดันลำตัวช่วงสะโพกขึ้น ทำเซทละ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 เซ็ตทุกวัน

8.ขยันเตะ

ขึงแผ่นออกกำลังกายไว้ที่จุดมั่นคงในระดับพื้น แล้วใช้หน้าแข็งดึงแผ่นให้ตึง โดยดึงไปด้านข้างและด้านหน้า ทำซ้ำๆกัน 3 เซทเช่นกัน

9.ถุงถั่วช่วยได้

ไม่ว่าจะเป็นถั่วเขียวหรือถั่วแระก็ใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแช่ในช่องแข็งแล้วนำมาประคบลงบนหัวเข่าที่ปวดหรืออักเสบ เพียง 20 นาทีเท่านั้น รับรองคุณจะรู้สึกดีขึ้นมาก


arukouthailand.com อุปกรณ์ซัพพอร์ตหัวเข่า นวัตกรรมจากญี่ปุ่น