Posted on Leave a comment

9 ท่า “การบริหารข้อเข่า” ชะลอเข่าเสื่อม ลดอาการปวด ง่ายๆ

การบริหารข้อเข่า

โรคยอดฮิตของคนไทยวัยเก๋าที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปอย่าง “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาช้านาน…
โดยสาเหตุหลักๆ คือ น้ำหนักตัวที่มากเกินหรืออ้วนลงพุง ไลฟ์สไตล์ที่ชอบนั่งงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ คุกเข่า คลานเข่า กระโดด หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งแรงกระแทกไปยังข้อเข่าที่รับน้ำหนักมากๆ จะทำให้กระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เป็นตัวกันชนในข้อเข่าสึกหรอ อาการที่จะเกิดขึ้นคือ เจ็บเวลาเคลื่อนไหว เหยียดข้อได้ไม่สุด ปวดเข่า ตึงน่อง เข่าบวม รู้สึกเคลื่อนไหวแล้วฝืดเหมือนมีกระดาษทราย หากเริ่มมีอาการดังกล่าวก็ดูเหมือนว่าโรคข้อเข่าเสื่อมจะมาเยี่ยมเยียนกันแล้ว

การบริหารข้อเข่า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 

  1. เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย       
  2. เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และป้องกันการติดของข้อเข่า       
  3. เพิ่มความแข็งแรง ความทนทานและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า       
  4. เพิ่มความมั่นคงและความคล่องตัวของข้อเข่า

9 ท่า การบริหารข้อเข่า ที่ทำได้ง่ายๆ

9 ท่า การบริหารข้อเข่า ที่ทำได้ง่ายๆ

ท่าที่ 1 นั่งบนเก้าอี้ ค่อยๆ ยกต้นขาขึ้นหนึ่งข้าง แล้วผายขาออกไปแตะพื้นด้านข้าง ทำสลับกัน 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 เหยียดขาตรงมาด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง เตะขาสลับข้าง เท้าลอยพื้น เกร็งขา เพิ่มความยากด้วยการเตะสลับไล่ความสูงขึ้นเรื่อยๆ

ท่าที่ 3 นั่งเก้าอี้ในท่าปกติ ยกต้นขาขึ้นตั้งฉาก 1 ข้าง และเกร็งกล้ามเนื้อช่วงต้นขาหน้า ค่อยๆ ยืดหน้าแข้งให้ขนานพื้น ค้างไว้ 1 วินาที และชักหน้าแข้งกลับที่เดิม

ท่าที่ 4 ยืดขาให้สุด วางฝ่าเท้าให้เต็มพื้น จิกฝ่าเท้าติดพื้น และค่อยๆ ลากเข้าหาลำตัวช้าๆ

ท่าที่ 5 นั่งเก้าอี้เหยียดขาไปด้านหน้า 1 ข้าง กดเข่าให้ตึง วางฝ่าเท้าไว้กับพื้นกระดกปลายเท้า แล้วค่อยๆ ไล่มือลงไปตั้งแต่ต้นขา หัวเข่า หน้าแข้ง และปลายเท้า

ท่าที่ 6 ยืนจับเก้าอี้ ยกปลายเท้า 1 ข้างมาด้านหลัง และจับปลายเท้าไว้ให้เข่ายืดตรง ไม่เอียงไปด้านข้าง

ท่าที่ 7 นอนหงาย งอเข่าเข้าหาลำตัวเท่าที่ไม่ปวด แล้วเหยียดออกไปจนสุด ทำชุดละ 10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำอย่างน้อยวันละ 3 ชุด

ท่าที่ 8 นอนคว่ำ งอเข่าเข้าหาลำตัวเท่าที่ไม่ปวด แล้วเหยียดออกไปจนสุด ทำชุดละ 10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำอย่างน้อยวันละ 3 ชุด

ท่าที่ 9 นั่งเหยียดขา วางเท้าข้างหนึ่งบนหมอนหรือม้วนผ้า เหยียดขาให้ตึงเข่าตรง ค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อย ทำชุดละ 10 ครั้ง แล้วสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง ทำอย่างน้อยวันละ 3 ชุด

ข้อควรระวัง การบริหารข้อเข่า

  1. ไม่ควรทำการบริหารข้อในขณะที่มีข้อเข่าอักเสบเฉียบพลันและมีอาการปวดรุนแรง
  2. ควรเริ่มบริหารจากท่าง่าย แล้วค่อยๆเพิ่มไปเป็นท่าที่ยากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกท่าในระยะเริ่มต้น เมื่อผ่านท่าง่ายได้แล้ว จึงค่อยไปทำท่ายากขึ้น
  3. กรณีที่บริหารท่าใดแล้วเกิดความเจ็บปวดในข้อเข่าหรือกล้ามเนื้อรอบๆข้อ ให้หยุดแล้วปรึกษาแพทย์

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

วิธีแก้ปวดขา เวลายืนนาน ๆ

วิธีแก้ปวดขา เวลายืนนาน ๆ

สำหรับใครที่หาวิธีแก้ปวดขา เวลายืนนาน คุณคงต้องเป็นคุณที่ทำงานที่ต้องยืนตลอด ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย การยืนนานๆ อาจเกิดปัญหาการปวดเรื้อรังหรือปัญหาต่างๆ ได้ ดังนั้นทาง arukou ขอแนะนำวิธีการป้องกันและวิธีแก้ปวดอาการปวดขา เวลายืนนาน ๆ กัน

วิธีแก้ปวดขา เวลายืนนาน ๆ

1.ใช้น้ำเย็นนวดฝ่าเท้า

ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นตะคริว เพราะในบางครั้งการคลึงฝ่าเท้าไปบนขวดน้ำดื่มที่แช่เย็นจัด ก็สามารถลดอาการปวดเมื่อยได้อย่างชะงัก โดยให้ทำสลับสองข้างราวๆ เพียง 15 นาทีต่อวัน เท่านี้อาการบวมเกร็งและคลายความเมื่อยล้าที่สะสมมาทั้งวันก็มลายหายเป็นปลิดทิ้งแล้ว สำหรับคนที่รู้สึกปวดฝ่าเท้ามาก ๆ ลองใช้น้ำเย็นนวดฝ่าเท้าในเบื้องต้นก่อนก็ได้ โดยวางเท้าลงบนขวดน้ำเย็นจัด แล้วใช้เท้าเลื่อนขวดน้ำไป-มา วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณฝ่าเท้าได้ และยังอาจช่วยสลายพังผืดที่ฝ่าเท้าด้วยนะ หรือหากไม่ใช้ขวดน้ำเย็นก็สามารถใช้ลูกบอลแทนได้เช่นกัน

2.แช่เท้าในน้ำเกลือยิปซั่ม

เราสามารถใช้ช่วงเวลาวันหยุดในทำสปาเท้าเพื่อความผ่อนคลายง่ายๆ ได้ที่บ้าน ด้วยการนำ ‘เกลือยิปซั่ม’ หรือ ‘เกลือแมกนีเซียมซัลเฟต’ ที่เรารู้จักกันดีมาผสมกับน้ำอุ่นเพื่อแช่ฝ่าเท้าราวๆ 15 นาที ทั้งนี้น้ำอุ่นและเกลือยิปซั่มจะช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อพร้อมช่วยลดอาการบวมตึงจากการยืนเป็นระยะเวลานานๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม ผสมน้ำอุ่นกับเกลือยิปซัม (เกลือแมกนีเซียมซัลเฟต) ในอัตราส่วนเกลือ 1 ถ้วยตวง ต่อน้ำอุ่น 1 กะละมัง (ปริมาณที่ท่วมหลังเท้า) นาน 30 นาที ให้แมกนีเซียมซัลเฟตและความอุ่นของน้ำช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและลดอาการเท้าบวมจากการยืนหรือเดินนาน ๆ จากนั้นก็อาบน้ำตามปกติ

3.ยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย

การยืนบนรถไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งและเกิดความเมื่อยล้าได้ ดังนั้นเราจึงควรยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความผ่อนคลายทันทีที่ถึงบ้านก็จะช่วยลดอาการปวดบวมและเมื่อยล้าให้ทุเลาลง โดยเราสามารถยืดกล้ามเนื้อได้ตั้งแต่วิธีเบสิคอย่าง การขยับนิ้วเท้าขึ้นลงเป็นจังหวะ การยืนบนส้นเท้าแล้วยกฝ่าเท้าข้างหน้าขึ้นเพื่อทิ้งน้ำหนัก ไปจนถึงการนั่งเหยียดขาตรงแล้วเอื้อมมือไปแตะฝ่าเท้าด้านหน้า ซึ่งวิธีต่างๆ ที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นวิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยลดความเมื่อยล้าจากการยืนที่ได้ผลเป็นอย่างดี

5.พาดขาบนที่สูง

การยกขาให้สูงกว่าลำตัวถือเป็นหนึ่งในท่ากายบริหารที่จะช่วยลดอาการหดเกร็งและคลายความเมื่อยล้าของขาได้ โดยเราสามารถใช้เก้าอี้หรือหมอนมาซ้อนกันเพื่อวางพาดขาให้ได้มุมประมาณ 45 องศา หากไม่สะดวกอาจใช้วิธีการนอนชิดกำแพงแล้วเอาขาพาดผนังทิ้งไว้ราวๆ 5 นาทีก็ย่อมได้ การทำเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยังช่วยลดอาการบวมของเท้าที่เกิดจากการยืนเป็นระยะเวลานานๆ อีกด้วย

การป้องกันอาการปวดขา เวลายืนนานๆ

การป้องกันอาการปวดขา เวลายืนนานๆ

1. ใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่มและหลวมเล็กน้อย
รองเท้าที่มีพื้นนิ่มจะช่วยลดแรงกดที่เท้าได้ ส่วนการเลือกรองเท้าหลวมก็เพื่อเผื่อเอาไว้ในกรณีที่ยืน-เดินนาน ๆ มาทั้งวัน ตกเย็นเท้าอาจบวมได้

 2. พักการยืนบ่อย ๆ
โดยหย่อนขาข้างหนึ่ง เพื่อลดแรงกดที่เท้าข้างเดียวซ้ำ ๆ จนเกิดอาการปวดหรือบวมขึ้นได้ และพยายามสลับหย่อนขาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นั่ง

3. ยืนสลับนั่ง
ในกรณีที่สามารถหาจังหวะนั่งพักได้ ก็พยายามอย่ายืนท่าเดิมนาน ๆ ให้สลับมานั่งพักบ้างเพื่อเป็นการพักขาและเท้าไปในตัว

4. ย่ำเท้าเมื่อรู้สึกเมื่อย
หากรู้สึกเมื่อยล้า ให้ย่ำเท้าอยู่กับที่หรือเดินไป-มา ประมาณ 2-3 นาที เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนจากขากลับเข้าสู่หัวใจดีขึ้น ป้องกันเส้นเลือดขอด

5.แก้เมื่อยน่องด้วยท่ายืดเหยียด สำหรับใครที่รู้สึกปวดเมื่อยน่องมากเป็นพิเศษ แนะนำให้ลองท่านี้เลย โดยเริ่มจากยืนห่างจากผนังประมาณครึ่งช่วงแขน แล้วก้าวเท้าซ้ายไปใกล้ผนัง โดยให้เท้าทั้งสองข้างตั้งฉาก จากนั้นงอเข่าซ้าย แล้วใช้มือสองข้างยันผนังไว้ แล้วเหยียดขาขวาออกไปทางด้านหลังให้มากที่สุดจนขาตึง เข่าตึง ค้างไว้ 10-30 วินาที จากนั้นจึงสลับทำอีกข้าง

6.ใช้ตัว Knee Support สำหรับ Knee Support คือตัวซัพพอร์ตใส่ตรงหัวเข่า ช่วยคุณถนอมเข่าและลดอาการปวดเมื่อยเวลาต้องยืนนานๆ อย่างได้ผล

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

อาการของ “ข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน”

ข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน

ในชีวิตของทุกคนคงเคยมีอาการปวดข้อมาบ้าง แต่ถ้าถามว่ามีโรคอะไรบ้างที่ทำให้ข้ออักเสบได้คนส่วนมากจะนึกถึงโรคเก๊าท์ หรือรูมาตอยด์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในการดูแลผู้ป่วยเราจะแบ่งประเภทของข้ออักเสบเป็นหลายแบบเช่น เฉียบพลัน – เรื้อรัง และมีอาการ”ข้อเข่าอักเสบเฉียบพลัน“ข้อเดียวหรือ หลายข้อ

การแบ่งประเภทจะช่วยบอกว่าข้อเข่าอักเสบเฉียบพลันนั้น น่าจะเป็นโรคอะไร เช่น

  1. โรคข้ออักเสบแบบเฉียบพลันแบบข้อเดียว อาจเกิดจากโรคเก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ ข้ออักเสบจากการใช้งาน เส้นเอ็นอักเสบหรือผิวหนังอักเสบที่อยู่ติดข้อได้
  2. ข้ออักเสบชนิดหลายข้อถ้ามีอาการชนิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดได้
  3. อักเสบชนิดหลายข้อแบบเรื้อรังอาจเกิดจากโรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิ เช่น โรค เอส แอล อี (SLE) เก๊าท์เทียม หลอดเลือดอักเสบ มะเร็งบางชนิด หรือ แม้แต่จากการติดเชื้อแบคทีเรีย บางชนิดได้

ข้อเข่าอักเสบ นั้นเกิดจากการอักเสบในตัวข้อ หากพบว่ามีอาการบวมแดง ร้อนบริเวณข้อเข่าแสดงว่าเป็นชนิดเฉียบพลันนั้นเอง หากมีการติดเชื้อร่วมด้วยแล้วอาจจะเกิดหนองในเข่าได้ หากพบควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อฉีดยาฆ่าเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อและชนิดเรื้อรังนั้นจะพบว่าข้อเข่ามีลักษณะอาการ บวมโดยจะไม่มีอาการอย่างอื่นแทรกซ้อน

การวินิจฉัยอาการข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง

การติดเชื้อเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง?

การติดเชื้อในข้อเข่านั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น  เนื่องจากการติดเชื้อจากผิวหนังด้านนอก ทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปภายใต้ของผิวหนัง มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานหรือผิวหนังบาง และการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นหากมีเชื้อโรคที่สามารถแทรกซึมเข้าไปในข้อเข่าได้ก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน

การวินิจฉัยอาการข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง

ปวดตามข้อต่างๆ ข้อได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลบริเวณข้อหรือมีโรคติดเชื้อของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เป็นฝี หนองใน คออักเสบ ปอดอักเสบ ไตอักเสบ เยื่อบุมดลูกอักเสบ เป็นต้น ตรวจพบไข้และข้อบวมแดง เจาะเอาน้ำเจาะข้อไปตรวจ โดยการย้อมแกรม การเพาะเชื้อ การนับเม็ดเลือดขาว และการดูน้ำตาลในน้ำเจาะข้อ จะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 50,000cell/mm3และมีนิวโทรฟิลสูง มีน้ำตาลต่ำ และย้อมพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ เจาะเลือดตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC; Complete blood count) พบว่ามีเม็ดเลือดขาวสูง มีนิวโทรฟิลสูง การตรวจรังสีวิทยา จะพบกระดูกรอบๆ ข้อบางลงหลังการติดเชื้อ 1 สัปดาห์ และจะพบลักษณะของช่องว่างระหว่างข้อแคบลง (Narrow joint space) หลังจากติดเชื้อ 2 สัปดาห์

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“หัวเข่าบวมน้ำ” เกิดจากอะไร?

หัวเข่าบวมน้ำ

มีผู้คนจำนวนมากกำลังทุกข์ทรมานจากอาการบวมของหัวเข่า ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ โชคดีที่เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยลดอาการปวดหัวเข่าและกำจัดน้ำในหัวเข่าให้คุณ

อาการบาดเจ็บที่เข่านำไปสู่การสะสมของเหลวรอบกระดูกสะบ้าหัวเข่า ที่ก่อให้เกิดการไหลลงมาที่หัวเข่า ของเหลวที่ข้อต่อนี้ถูกผลิตโดยข้อต่อส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำ

ความเจ็บป่วยนี้สามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆเช่น อาการบาดเจ็บที่เข่า โรคเกาต์ โรคติดเชื้อบางชนิด โรคข้อต่ออักเสบ และบางครั้งเกิดจากซีสต์หรือเนื้องอก มันสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหัวเข่าได้อย่างอิสระ รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักมากๆ ก่อให้เกิดปัญหาที่หัวเข่าที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่สาเหตุของความเจ็บป่วยที่มาพร้อมกับอาการบวมช้ำและความตึง

หัวเข่าบวมน้ำเกิดจากอะไร?

การเล่นกีฬาแทบทุกประเภท มักก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ เนื่องจากกีฬาส่วนใหญ่มักจะมีการกระทบ กระแทกกัน หรือการเล่นที่ไม่ถูกวิธี จึงเห็นนักกีฬาสมัครเล่นหรือแม้แต่นักกีฬามืออาชีพ ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้อยู่บ่อยครั้ง หากรู้สึกปวด เจ็บ ภายในหัวเข่า ลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ และไม่มีท่าทีว่าอาการจะดีขึ้น ควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้จนกลายเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรัง อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้

อาการบาดเจ็บจากเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีก เกิดจากการกระแทกหรือหมุนข้อเข่าอย่างรุนแรง ส่งผลให้เส้นเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดได้ง่าย มักพบในกีฬาที่ต้องมีการวิ่งและเข้าปะทะกัน เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น หากรู้ตัวว่ามีอาการปวดหรือเจ็บลึกๆ ภายในหัวเข่า ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

หัวเข่าบวมน้ำเกิดจากอะไร?

โดยจะมีอาการที่สังเกตได้คือ ปวดภายในเข่าลึกๆ มีอาการเข่าบวม ข้อเข่าไม่มั่นคง เมื่อเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีก จะได้ยินเสียงลั่นในข้อ หัวเข่าใช้งานไม่ได้ในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมง มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอื่นได้และมีเลือดออกในหัวเข่า ในเบื้องต้นหากเกิดการบาดเจ็บสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยการให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ อย่าพยายามขยับ แล้วนำส่งพบแพทย์

ในส่วนของการรักษาจะรักษาโดยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า และใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ ทำให้มีแผลผ่าตัดที่เล็กลงและช่วยการฟื้นตัวของผู้ป่วยให้เร็วขึ้น หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูสภาพตามขั้นตอน เพื่อให้สามารถงอและเหยียดข้อเข่าได้เต็มที่

โดยเข่าบวมน้ำมีโอกาสเกิดได้หลายโรค อาทิ

  1. หมอนรองเข่าอักเสบ
  2. ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมักจะเจอในผู้สูงอายุ. คนที่น้ำหนักค่อนข้างมาก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นต้น
  3. โรคเก๊าท์หรือเก๊าท์เทียม อาการจะปวดรุนแรง ข้อบวมแดงมาก
  4. โรคความภูมิกันผิดปกติ เช่น sle หรือโรครูมาตอยด์เป็นต้น

ซึ่งในแต่ละโรคก็มีลักษณะอาการปวดแตกต่างกันไป และมีอาการร่วมแตกต่างกันไปค่ะ ดังนั้นอาการปวดเข่าที่เกิดขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อดูลักษณะอาการปวด. ตรวจดูบริเวณข้อเข่าว่าเข้าได้กับโรคใดมากที่สุดจึงจะรักษาได้ถูกต้องตามวินิจฉัย

การแก้ไขเข่าบวมน้ำ นั่งยองๆ ไม่ได้ เบื้องต้น

หากยังไม่หาย เราแค่แนะนำให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

อาการปวดขาเกิดจากสาเหตุอะไร?

อาการปวดขาเกิดจากสาเหตุ

ปวดขา (Leg Pain) คืออาการปวดบริเวณขาที่เกิดขึ้นบางจุดหรือทั่วทั้งขา โดยอาจมีอาการชา ปวดแปลบ หรือปวดร้าวร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคบางชนิด การบาดเจ็บ หรือการทำกิจกรรมที่ใช้ขามากเกินไป เช่น การเดินนาน ๆ หรือการออกกำลังกาย การวินิจฉัยจากแพทย์จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของอาการปวดขา เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้อง

อาการปวดขา มักเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และวัยทำงาน ซึ่งอาการปวดขาเหล่านี้อาจหายไปได้เอง หรือเป็นไม่กี่วันก็หาย แต่หากคุณไม่เพียงแค่ปวดขาอย่างเดียว แต่สังเกตุได้ว่ามีอาการปวดหลังร่วมด้วย นั่นอาจบอกได้ว่าคุณกำลังมีความผิดปกติจากความผิดปกติของหลังแล้วร้าวลงไปที่ขาค่ะ

อาการปวดขา

ปวดขามักมีลักษณะอาการและบริเวณที่ต่างกันไป โดยอาจรู้สึกปวดเสียด หรือปวดแสบบริเวณต้นขา หน้าแข้ง หรือน่อง การปวดขาอาจเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ หรือต่อเนื่อง และอาจดีขึ้นได้เองขณะพัก หรืออาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น เหน็บชา ตะคริว ปวดร้าว หรือปวดตุบ ๆ เป็นต้น

อาการปวดขาอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ผู้ป่วยจึงควรพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ เพื่อรับการรักษาและป้องกันการพัฒนาของอาการที่อาจเกิดขึ้น

  • ปวดขามากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปวดขาขณะทำหรือหลังทำกิจกรรม เช่น การเดิน
  • ขาบวม หรือมีเส้นเลือดขอด
  • ปวดต้นขาขณะนั่งเป็นเวลานาน
  • ขาเริ่มซีด ฟกช้ำ บวม หรือเย็นผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
  • มีสัญญาณการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส บริเวณที่ปวดเริ่มแดง กดแล้วเจ็บ

สาเหตุของอาการปวดขา

1.เจ็บหน้าแข้ง หากคุณเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของหน้าแข้ง มักจะเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไปโดยเฉพาะในผู้ที่เพิ่งเริ่มหรือเพิ่มการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่นในผู้ที่เริ่มวิ่งระยะทาง 2 กิโลเมตรทันทีในครั้งแรกเป็นต้น เนื่องจากร่างกายนั้นไม่พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมากขนาดนั้น หากคุณมีอาการนี้ให้พักการใช้ยา ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดบวมและรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อให้มั่นใจว่าอาการนี้จะไม่ได้ทำให้เกิดกระดูกหักจากความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น คุณอาจจะพยายามรักษาระดับวิตามินดีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

2.ตะคริว การเป็นตะคริวที่ขามักจะไม่ได้หายทันทีและมักจะมีอาการอย่างน้อยช่วงนี้ ตะคริวอาจเกิดจากการขาดน้ำ หรือในบางครั้งการเดินมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดตะคริวได้ โดยปกติตะคริวมักจะมีอาการนานหลายวินาทีถึงหลายนาที และสามารถหายได้จากการประคบร้อน พักขา และยืดกล้ามเนื้อ แต่คุณจำเป็นต้องแยกตะคริวออกจากอาการปวดที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำ ซึ่งมักจะมีอาการปวดเรื้อรังในระดับที่ลึกลงไปร่วมกับอาการบวม ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

3.ปวดเข่า หากคุณปวดเข่าเพิ่มขึ้นเวลาขยับข้อหรือกดที่ข้อ หรือข้อมีอาการบวมหรือแดง คุณอาจจะมีการอักเสบเกิดขึ้นที่ถุงน้ำในข้อเข่า วิธีรักษาให้พักการใช้งาน ประคบเย็น และใช้ยาแก้ปวดหากต้องการ และหากคุณต้องย่อเข่าซ้ำๆ หรือเข่าต้องสัมผัสกับพื้นแข็ง ควรใส่ที่ช่วยพยุงเข่า หากอาการปวดและบวมไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงควรไปพบแพทย์

การรักษาอาการปวดขา

4.ปวดแปล๊บหลังขา เป็นอาการปวดแปล๊บที่ร้าวลงตามด้านหลังของขาซึ่งอาจเกิดจากการที่เส้นประสาท Sciatic ซึ่งวิ่งจากหลังส่วนล่าง ผ่านก้นเข้าสู่ขานั้นถูกกดทับ ภาวะนี้มักพบในผู้ชายที่ใส่กระเป๋าเงินที่หนักไว้ที่กระเป๋าด้านหลังของกางเกง วิธีแก้คือการลดแรงกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท (เช่นทำให้กระเป๋าเงินนั้นเบาลง) และอาการปวดนั้นมักจะดีขึ้น

5.การบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย อาการปวดที่เหนือต่อส้นเท้านั้นมักจะเป็นอาการที่แสดงถึงการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ซึ่งมักเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงหรือใช้งานมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีเท้าแบน อย่าละเลยอาการปวดนี้และยังคงวิ่ง เดินเร็ว หรือออกกำลังกายอื่นๆ ต่อไป เพราะคุณอาจทำให้เส้นเอ็นขาดซึ่งอาจจะต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

6.อาการปวดขาในเด็ก เด็กมักจะตื่นจากการที่มีตะคริวที่ขาอย่างรุนแรงและปวดขา อาการดังกล่าวนั้นอาจเกิดจากการที่กระดูกของเด็กนั้นมีการเจริญเติบโต และทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้นถูกยืด ทำให้เกิดอาการปวดบนตำแหน่งที่ติดกับกระดูก การประคบเย็น ใช้ยาแก้ปวดและยืดกล้ามเนื้อสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการนี้ได้

7.ปวดต้นขา คนงานก่อสร้าง ตำรวจ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใส่เข็มขัดหนักๆ นั้นมักจะพบว่ามีอาการปวดที่ต้นขา ซึ่งเกิดจากการที่เข็มขัดนั้นทำให้กดทับเส้นประสาทที่อยู่รอบสะโพก อาการปวดนั้นอาจจะร้าวมาตามต้นขาได้ ทางแก้ในระยะยาวก็คือการลดน้ำหนักของเข็มขัดที่ใส่เพื่อลดการกดทับที่กระทำต่อเส้นประสาท

การรักษาอาการปวดขา

การรักษาด้วยตนเอง ผู้ป่วยสามารถใช้วิธีการต่อไปนี้ได้เพื่อบรรเทาอาการปวด ตะคริวหรือการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ

  • พักการใช้ขา และวางขาไว้บนหมอนหรือตำแหน่งที่สูงกว่าลำตัว
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณที่รู้สึกปวดหรือเคล็ด 4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 15 นาที
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และแอสไพริน
  • ใส่ผ้ารัดขาเพื่อช่วยป้องกันอาการบวม ลดการเกิดลิ่มเลือด และทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในขาดีขึ้น
  • อาบน้ำอุ่นช่วยคลายกล้ามเนื้อ
  • หากผู้ป่วยปวดขาท่อนล่าง ให้ยืดหรือเหยียดนิ้วเท้าออกให้ตรง หรือหากมีอาการปวดขาท่อนบน ให้ก้มตัวลงแตะนิ้วเท้าเป็นเวลา 5-10 วินาทีเพื่อยืดเส้น
  • ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อเคล็ดหรือแพลงควรงดใช้ขา ประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อลดความดัน และวางขาไว้ในตำแหน่งที่สูงกว่าลำตัว หรือรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน
  • กรณีกระดูกหัก ควรทำการห้ามเลือดก่อนเป็นอันดับแรก และไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือเคลื่อนไหวบริเวณที่สงสัยว่ามีกระดูกหัก ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณดังกล่าว พร้อมตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการช็อคหรือไม่ แล้วจึงรีบติดต่อแพทย์

การป้องกันอาการปวดขา

  • ควรยืดเส้นทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย และควรออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที
  • ควบคุมน้ำหนัก และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วยและไก่
  • งดสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยผู้หญิงควรดื่มเพียง 1 ขวดต่อวัน และ 2 ขวดต่อวันสำหรับผู้ชาย
  • ใช้ไม้เท้าเพื่อช่วยพยุงกรณีที่ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติ
  • ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง หากต้องเดินทางเป็นเวลานาน ๆ ในรถโดยสาร เครื่องบิน หรือรถไฟ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน
  • เข้ารับการตรวจและควบคุมระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในร่างกายเสมอ
  • ผู้มีโรคประจำตัวควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • ผู้ที่มีอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic Pain) ไม่ควรนอนติดเตียงเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวสามารถกลับมาทำกิจวัตรได้ตามปกติเมื่อจำกัดระยะเวลาการนอนพักบนเตียงให้น้อยลง
  • ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการเกิดอาการปวดขาที่อาจเกิดขึ้น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดขา เช่น การยืน เดินหรือใส่รองเท้าส้นสูงนาน ๆ เป็นต้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สิ่งที่ควรรทราบเกี่ยวกับ “หมอนรองข้อเข่า” บาดเจ็บ

หมอนรองข้อเข่า

ข้อเข่าบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นมากกว่าผู้สูงอายุ โครงสร้างในข้อเข่าที่มักมีปัญหาบ่อยๆ ได้แก่ เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament) เอ็นไขว้หลัง (Anterior cruciate ligament) และหมอนรองข้อเข่า ส่วนใหญ่มักมีสามาเหตุมาจากการเล่นกีฬาที่ต้องอาศัยความเร็ว มีการชน หรือกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล รักบี้ ซึ่งทำให้เกิดแรงเฉือน (Shear force) ต่อข้อเข่าการทำความเข้าใจสาเหตุและอาการ จะช่วยให้ช่วยสังเกตตัวเองและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องได้ทันท่วงที

หมอนรองข้อเข่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?

หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับแรงกระแทกของร่างกาย ขณะยืน เดิน วิ่ง หรือกิจกรรมที่มีน้ำหนักกดลงบนข้อเข่า วางตัวอยู่ระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง เป็นโครงสร้างพิเศษเพราะมีสองชิ้นต่อข่อเข่าหนึ่งข้าง โดยหมอนรองข้อเข่าด้านใน (Medial Meniscus) เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนหมอนรองข้อเข่าด้านนอก (Lateral meniscus) เป็นรูปวงกลมเกือบสมบูรณ์ หมอนรองข้อเข่าทั้งสองนี้มีเลือดมาเลี้ยงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน ไล่จากขอบด้านนอกเข้ามาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีอาการบาดเจ็บในบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะเย็บเพื่อซ่อมแซม และหากบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเป็นบริเวณที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะตัดส่วนนั้นออกเลย

โดยหน้าที่หลักของหมอนรองกระดูกข้อเข่ามีด้วยกัน 3 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง (Shock absorber)
  2. เพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า (Load transferring)
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนของข้อเข่าให้ราบรื่น (Join lubrication)

สาเหตุหลักของการบาดเจ็บมักเกิดจากการบิดหมุน งอเข่า และมีน้ำหนักกดลงมาในเวลาเดียวกัน มักพบว่าสัมพันธ์กับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา โดยในประชากร 1,000 คนสามารถมีผู้ที่หมอนรองเข่าบาดเจ็บได้ถึง 6 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนที่สูงมาก หากมีอาการบาดเจ็บและฝืนใช้งานเข่าซ้ำๆ แรงกระแทกและการเสียดสีกันของกระดูกทั้งสองชิ้นจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือพัฒนาไปเป็นข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ (Osteoarthritis knee) ได้

หมอนรองข้อเข่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?

อาการและอาการแสดงของหมอนรองกระดูกข้อเข่าบาดเจ็บ

อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บมีความหลากหลาย ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ จึงขอยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้

  1. มีอาการปวดและบวมเพียงเล็กน้อยหลังจากประสบอุบัติเหตุ 1-2 วัน ไม่แสดงอาการปวดเฉียบพลัน หรือมีเสียงดังลั่นในข้อเข่าทันทีขณะเกิดอุบัติเหตุเหมือนเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่า (Anterior cruciate ligament) ฉีก นอกจากนี้มักจะทุเลาได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์แม้จะไม่ได้รับการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่ทราบว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ไม่ได้ไปรับการรักษาอย่างถูกต้อง จนนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ข้อสังเกตสำคัญคือเมื่องอหรือหมุนเข่าอาการจะดีขึ้น แต่เมื่องอและหมุนเข่าพร้อมกันจะมีอาการปวดมากขึ้น ในผู้ป่วยบางราย การงอและหมุนเข่าร่วมกับการลงน้ำหนักจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมาก
  2. ข้อเข่าฝืด รู้สึกติดขัดเวลาเคลื่อนไหว เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่ามักติดอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง (True locking) ร่วมกับมีอาการปวดรุนแรง เมื่อขยับไปมาจะสามารถขยับได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว อาการปวดลดลง และกลับมาติดในท่าใดท่าหนึ่งอีก สลับกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากหมอนรองข้อเข่ามีการฉีกขาดรุนแรงและเข้าไปขวางในข้อเข่า เมื่อขยับไปมาจึงสามารถเข้าที่และกลับเข้าไปขวางในข้อเข่าได้ใหม่

การรักษาเป็นอย่างไร

เบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ตลอดจนใช้การเอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะมีความแม่นยำถึง 80 – 90 % ส่วนการวางแนวทางการรักษาของแพทย์นั้นอยู่ภายใต้ปัจจัยที่หลากหลาย หากอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือรอยฉีกยาวไม่เกิน 1 เซ็นติเมตรและอยู่ในส่วนที่มีเลือดหล่อเลี้ยงซึ่งสามารถหายเองได้ แพทย์จะแนะนำให้พักการเคลื่อนไหว ควบคู่ไปกับการประคบเย็น การรับประทานยา และกายภาพบำบัด แต่หากพบว่าเกิดการบาดเจ็บในระดับรุนแรง การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกในการรักษาอาการดังกล่าว โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง เทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคใหม่ที่ลดขั้นตอนและร่นระยะเวลาการรักษาได้มาก สามารถทำได้ทั้งเย็บซ่อมแซมส่วนที่ฉีกขาด หรือตัดเล็มส่วนที่เสียหายออก

หรืออธิบายแบบง่ายๆ การรักษาหมอนรองข้อเข่าฉีกในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

  1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด มักจะใช้เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง และการฉีกขาดขอหมอนรองเข่าที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองเข่า (Degenerative tear) เอง มักจะมุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าให้แข็งแรงด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นพยุงข้อเข่า และรักษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยไว้
  2. การรักษาแบบผ่าตัด สามารถทำได้ 2 แบบดังที่กล่าวไปแล้วคือ ตัดส่วนที่ฉีกออก หรือเย็บซ่อมแซมส่วนที่ฉีก ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการฉีกขาด ในปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดพัฒนาไปมาก สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้ ทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อย ผลการผ่าตัดดี และระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นลงมาก เหลือเพียง 1-2 วันเท่านั้น

ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็กเจ็บน้อย

ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องนั้น อาจใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วัน โดยหลังจากนั้นอาจะใช้ไม้เท้าพยุงเดินต่อเนื่องไปอีก 1 – 2 สัปดาห์ ซึ่งหากประกอบอาชีพที่ไม่ต้องเดินหรือเคลื่อนไหวมากนัก คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้ทันที พร้อม ๆ กับการทำกายภาพบำบัดตามท่วงท่าที่แพทย์แนะนำซึ่งคนไข้นั้นสามารถทำได้ที่บ้านด้วยตัวเอง

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

สิ่งที่ควรรู้ก่อน “ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม”

ผ่าตัดข้อเข่าเทียม

เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยส่วนกระดูก 3 ชิ้น คือ ส่วนปลายของกระดูกต้นขา (Femur)   ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกสะบ้าหัวเข่า (Patella) โดยมีเอ็นยึดกระดูกทั้ง 3 ไว้ให้มั่นคง และมีกล้ามเนื้อเกาะตามกระดูกเพื่อความเคลื่อนไหว บริเวณผิวของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นจะคลุมด้วยกระดูกอ่อน (Articular Cartilage) ซึ่งมีลักษณะสีขาวมันเรียบ กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นเบาะกันการกระแทกกันของกระดูก และผิวที่เรียบทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ส่วนที่เหลือของข้อเข่าที่ไม่ได้คลุมด้วยกระดูกอ่อนจะถูกคลุมด้วยเยื่อหุ้มข้อ (Synovial Membrane) ซึ่งมีลักษณะบางและเรียบทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อจะช่วยหล่อลื่นบริเวณผิว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม หรือที่เรียกกันว่าการเปลี่ยนสะบ้าเทียมนั้นเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ผิวข้อสึกหรอไปมากและไม่สามารถประสบความสำเร็จโดยวิธีการรักษาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาหรือการทำกายภาพบำบัด โดยแพทย์จะทำผ่าตัดโดยการนำผิวกระดูกอ่อนที่เสื่อมสภาพแล้วออก หลังจากนั้นจะนำข้อเข่าเทียมซึ่งทำมาจากโลหะและโพลิเอทธีลีนที่ได้รับการออกแบบมา เพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะมาใส่แทนที่โดยยึดด้วยซีเมนต์พิเศษแล้วจัดแกนขาที่ผิดรูปให้กลับมาตรงดังเดิม ทำให้ภายหลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าและลงน้ำหนักได้เป็นธรรมชาติและปราศจากความเจ็บปวด

ข้อเข่าเทียม มีส่วนประกอบด้วยกัน 4 ส่วนได้แก่

1. ส่วนที่ติดกับปลายกระดูกต้นขาส่วนล่าง (femoral component) เป็นโลหะผิวเรียบที่ยึดกับปลายกระดูกต้นขาส่วนล่าง ทำหน้าที่เป็นเหมือนกระดูกอ่อนผิวข้อ
2. ส่วนที่ติดกับปลายกระดูกหน้าแข้งส่วนบน (tibial component) เป็นโลหะที่ยึดติดกับปลายกระดูกหน้าแข้งส่วนบน ทำหน้าที่เป็นแป้นรองรับหมอนรองกระดูกเทียมอีกทีหนึ่ง
3. หมอนรองกระดูกเทียม (polyethylene) อยู่ระหว่างโลหะสองชิ้นข้างต้น ทำหน้าที่รับและกระจายน้ำหนัก
4. ผิวลูกสะบ้าเทียม (patellar component)

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมมีหลายชนิดและหลายวิธี จึงจำเป็นจะต้องเลือกให้มีความเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละราย ข้อดีและข้อเสียก็แตกต่างกันไป

เมื่อไรที่ควรผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมจัดเป็นการผ่าตัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยสามารถทำให้คนไข้หายจากอาการเจ็บปวดทรมาน สามารถเดินได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติและเดินได้ไกลมากขึ้น สามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้หรือท่องเที่ยวได้ รวมถึงรูปร่างของข้อเข่าดูสวยงามขึ้น ข้อเข่าเทียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปีแล้วจะเริ่มสึกหรอ แพทย์จึงมักพิจารณาผ่าตัดเฉพาะคนไข้ที่มีอายุค่อนข้างมากแล้ว เนื่องจากการเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมในคนไข้ที่อายุน้อยซึ่งยังมีการเคลื่อนไหวและใช้ข้อมาก จะทำให้ข้อเข่าเทียมมีการสึกหรอเร็วและมีอายุการใช้งานที่สั้นลง อีกทั้งการผ่าตัดเปลี่ยนซ้ำอีกครั้งอาจจะไม่ให้ผลการรักษาที่ดีเหมือนครั้งแรก ดังนั้นแพทย์จะเลือกทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมในคนไข้ที่รักษาโดยวิธีการรับประทานยาและการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาอย่างเต็มที่แล้วอาการไม่ดีขึ้น โดยแพทย์และคนไข้จะประเมินอาการร่วมกันเพื่อตัดสินใจในการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่เหมาะสมจะผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ได้แก่

  • ผู้ป่วยสูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมในระยะสุดท้าย
  • ผู้ป่วยที่ต้องทานยาแก้ปวดต่อเนื่องกันทุกวัน
  • อาการปวดมากจนไปรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวัน
  • เมื่อรักษาโดยวิธีอื่นทั้งหมดแล้วไม่ประสบความสำเร็จ
  • ปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ปวดมากเวลาเดิน ขึ้นลงบันได ลุกหรือนั่ง
  • ปวดเข่าเวลาพัก เช่น ปวดเวลานอน
  • มีการอักเสบบวมแดงของเข่า โดยมีอาการบ่อยและเรื้อรัง
  • มีการผิดรูปของเข่า เช่น เข่าโค้งออก หรือเกเข้าใน
  • ขยับเข่าติดขัดลำบาก งอ หรือเหยียดเข่าลำบาก
  • ใช้การรักษาแบบอื่น เช่น เปลี่ยนวิธีการใช้งาน ยาทาน หรือการฉีดยาเข้าในเข่าไม่ได้ผล

ส่วนใหญ่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำในผู้ป่วยอายุ 60 – 80 ปี การพิจารณาผ่าตัดจะพิจารณาเป็นรายๆ ไปขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

ข้อเข่าเทียมมีกี่ชนิด

ข้อเข่าเทียมมีกี่ชนิด

ผู้ป่วยแต่ละคนมีความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมมากน้อยแตกต่างกันไป ข้อเข่าเทียมเองก็มีการออกแบบมาหลายชนิดแตกต่างกันเพื่อใช้ทดแทนผิวข้อที่มีการสึกหรอในแบบที่ไม่เหมือนกัน ข้อเข่าเทียมแบ่งกว้างๆได้เป็นสองประเภทใหญ่ ได้แก่

1.ข้อเข่าเทียมแบบเปลี่ยนผิวข้อเฉพาะบางส่วน ซึ่งยังแบ่งได้อีก 2 แบบ

  • ข้อเข่าเทียมแบบซีกเดียว (Unicompartmental Knee Arthroplasty) ใช้ทดแทนผิวข้อที่สึกเพียงด้านใดด้านหนึ่งของผิวข้อ ที่พบมากคือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าทางด้านในเพียงด้านเดียวและแกนขาไม่โก่งมาก แพทย์จะนำเอาผิวกระดูกที่เสื่อมสภาพเพียงบางส่วนนั้นออกไป แล้วใช้ข้อเข่าเทียมชนิดซีกเดียวเปลี่ยนให้
  • ข้อเข่าเทียมแบบสองซีก (Bicompartmental Knee Arthroplasty) เป็นข้อเข่าเทียมที่ใช้เปลี่ยนผิวข้อทางด้านในและลูกสะบ้า เหมาะจะใช้ในคนไข้ที่มีผิวข้อเสื่อมทางด้านในและผิวลูกสะบ้าสึกหรอ มีแกนขาโก่งไม่มาก และผิวข้อทางด้านนอกปกติดี

2. ข้อเข่าเทียมแบบเต็มข้อ (Total Knee Arthroplasty) เป็นข้อเข่าเทียมที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมมากๆ ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าทั่วทั้งเข่าและแกนขาผิดรูปมาก แพทย์จะนำผิวข้อที่เสื่อมแล้วออกทั้งหมด แล้วทดแทนด้วยข้อเข่าเทียมแบบเต็มข้อ

ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ถ้าผิวของข้อเข่าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการอักเสบของข้อเข่าหรือจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาเดินหรือขึ้นลงบันได ถ้ามีความเสียหายรุนแรงขึ้นจะรู้สึกปวดแม้ขณะนั่งหรือนอน การรักษาอาจเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งานของเข่า ยาลดการอักเสบ หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน ถ้าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) ซึ่งเป็นการผ่าตัดตัดผิวที่เสียหายออกใส่ผิวใหม่ที่เรียบมันซึ่งทำจากโลหะและพลาสติกเข้าไปแทน เพื่อให้เข่ากลับไปใช้งานได้ตามเดิมอีกครั้งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเริ่มมีการผ่าตัดครั้งแรกในปี 1968 หลังจากนั้นการผ่าตัดนี้ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านวัสดุที่ใช้และวิธีการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดให้ผลดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“หัวเข่าพลิก” หนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบได้

หัวเข่าพลิก

สาเหตุของอาการเข่าะลิก

สาเหตุที่สำคัญของอาการเข่าหลวม และเป็นหลังจากการเกิดอาการเข่าบิด  ได้แก่ เอ็นไขว้หน้า (ACL) หรือเอ็นไขว้หลัง (PCL) ฉีกขาด การวินิจฉัยจำเป็นต้องตรวจโดยการทำ MRI ค่ะ จึงจะสามารถยืนยันได้ว่ามีการฉีดขาดของ เอ็นเหล่านี้หรือไม่ การตรวจร่างกายอาจจะสามารถประเมินได้เบื้องต้นและสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุดังกล่าวค่ะ แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดในปัจจุบันยังเป็นการตรวจ MRI การที่เอ็นเหล่านี้ขาดหากไม่มากนักจะยังคงเดินและทำกิจวัตรได้ปกติ แต่อาจจะทำให้รู้สึกข้อเข่าหลวม หรือมีอาการเข่าบิดซ้ำ หรือมีอาการเหมือนเข่าไม่มั่นคงโดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

การพลิกของหัวเข่าจากการเล่นฟุตบอล จะมีผลต่อการบาดเจ็บได้หลายระดับ

  1. กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นอักเสบที่อยู่นอกข้ออันนี้ไม่รุนแรง พักประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก็จะดีขึ้น หากปวดมากก็ทานยาลดการอักเสบ NSAID เช่น voltaren synflex หรือ arcoxia ก็จะทำให้หายเร็วขึ้น
  2. เส้นเอ็นที่เกาะอยู่รอบ ๆ ข้อเข่าฉีกขาด มีทั้งที่อยู่ด้านข้างทางด้านใน และทางด้านนอก ขึ้นอยู่กับว่าท่าทางที่พลิกทางด้านใด ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง แต่ต้องพักนานกว่าแบบที่หนึ่ง ถ้ามีการฉีกขาดมากจะทำให้เจ็บเวลาขยับในท่าที่ทำให้เส้นเอ็นนั้นตึงขึ้น
  3. เส้นเอ็นที่อยู่ในข้อเข่า ปกติเส้นเอ็นในข้อเข่ามีสองอันไขว้กันอยู่ บางคนก็เรียกว่าเอ็นไขว้ มีอันหน้ากับอันหลังเรียก ACL และ PCL ส่วนใหญ่มักจะมีการบาดเจ็บของ ACL แบบนี้เจ็บรุนแรง เรื้อรัง มักจะต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด
  4. กระดูกอ่อนที่อยู่ภายในข้อฉีกหรือแตก tear meniscus อันนี้ก็จะทำให้เจ็บได้มากเช่นกัน แต่บางคนก็อาจจะเจ็บนิดหน่อย แต่เล่นกีฬาหนัก ๆ ทีไร เจ็บทุกที เช่น ตีแบด ฟุตบอลสุดท้ายแล้วก็ต้องผ่าตัดเหมือนกัน

การตรวจวินิจฉัยเข่าพลิก

โดยทั่วไปการบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกล์ฟมักไม่ค่อยรุนแรง นอกจากจะมีการเสียหลักล้ม  เช่น ยืนตีในบริเวณพื้นที่ต่างระดับ มักพบมีการบาดเจ็บบริเวณเข่าซ้ายในนักกอล์ฟที่ตีด้วยมือขวา เพราะจะมีแรงบิดและรับน้ำหนักบนเข่าซ้ายค่อนข้างมาก การบาดเจ็บที่รุนแรงจะพบได้บ่อยมากในกีฬาฟุตบอล, รักบี้เทนนิส อาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น

จากประวัติ อาการ ลักษณะท่าทางการล้มที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ การตรวจร่างกายจะบอกได้ระดับหนึ่ง เอกซเรย์ ถ้าไม่มีความผิดปกติของกระดูกจะไม่สามารถช่วยวินิจฉัยได้มากนัก สุดท้ายคือการทำ MRI ซึ่งได้ให้คำวินิจฉัยได้แน่นอน และจะบอกถึงแนวทางการรักษาต่อไป 

1. ตรวจน้ำหรือเลือดออกในข้อเข่า ซึ่งจะพบภายในข้อเข่าบวมมาก
2. ตรวจความมั่นคงด้านข้างข้อเข่า
3. ตรวจความมั่นคงในแนวหน้า – หลังของข้อเข่า
4. ตรวจการเคลื่อนไหว, หมุนเข่า เพื่อดูว่าหมอนรองข้อเข่าขาดหรือไม่

เป็นการตรวจภายในข้อเข่า จะได้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องชัดเจน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดยาเข้าในเยื่อหุ้มไขสันหลังเพื่อให้ส่วนล่างของร่างกายชา ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดรักษาได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ใช้แผ่นรัดห้ามเลือดบริเวณต้นขา เพื่อที่ไม่ให้เลือดออกมากระหว่างการผ่าตัดรักษา

การรักษาอาการเข่าพลิก

เจาะรูบริเวณด้านหน้าเข่าชิดกับเอ็นลูกสะบ้า ใส่ท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 มิลลิลิตร ซึ่งมีเลนส์และท่อนำแสงส่อเข้าไปในข้อเข่าสามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า โดยต่อภาพเข้ากับจอทีวีได้ ซึ่งจะเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า จะเป็นภาพขยายจากของจริงประมาณ 5 ถึง 10 เท่า สามารถจะอัดเป็นภาพวีดีโอ เพื่อมาดูภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาอาการเข่าพลิก เข่าบิด

การบาดเจ็บระดับ 1 แนะนำว่าให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาเบื้องต้นทำได้โดยใช้หลักการ ” RICE”

R =rest คือการหยุดพักและงดจากการเล่น

I = ice คือ การใช้ความเย็นโดยใช้น้ำแข็ง

C = compression คือการประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม

E = elevation คือการทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูงในที่นี้ก็คือยกขาสูงเพื่อที่จะช่วยลดการบวม จากนั้นหากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน

การบาดเจ็บระดับ 2 การรักษานอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหากข้อเข่าบวมมากในช่วงแรกอาจต้องพัน compressive dressing ได้แก่ อุปกรณ์พยุงข้อเข่าแบบมีแกนโลหะ อุปกรณ์พยุงข้อเข่าและลูกสะบ้า อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ไว้ในช่วงแรกเพื่อ immobilization จากนั้นเมื่อยุบบวมก็มาประเมิณการบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งหรือจะต้องส่ง investigation เพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษาหากเป็นแค่ sprain ของ MCL หรือ LCL ก็ใช้เป็น knee brace หรือ knee support หรือ Hing knee support ก็ได้

การบาดเจ็บระดับ 3 โดยมากการรักษายังคงเป็นการทำผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมโดยตรงยกเว้นเอ็นไขว้หน้า และ ไขว้หลังซึ่งผลของการผ่าตัดทำการเย็บซ่อมทราบแล้วว่าได้ผลไม่ดีไปกว่าการผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ ส่วนเอ็นประกับเข่าด้านในหากบาดเจ็บระดับนี้สามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ การรักษาจะใส่เฝือกไว้จากนั้นเปลี่ยนเป็น knee brace ที่ปรับองศาได้แต่หากบาดเจ็บร่วมกับเอ็นเส้นอื่นในกรณีที่เป็น knee dislocation และมี multiple ligaments injuries แนะนำทำการผ่าตัดซ่อม หากพบร่วมกับ ACL ควรรักษา MCL ให้ดีก่อนโดยการ conservative จากนั้นจึงค่อยพิจรณาทำ ACL reconstruction โดยวิธีการนี้จะลดปัญหา ข้อเข่าติดภายหลังการผ่าตัดได้มาก

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“กายภาพเข่า” สำหรับการรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับเข่า

กายภาพเข่า

การกายภาพเข่า” ปัญหาปวดข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นปัญหาที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ที่นำพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ซึ่งอาการปวดเข่านั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบของเอ็นหน้าเข่า, เอ็นกระดูก, กล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มข้อ หรือ อาการของข้อเข่าเสื่อม หากมีการอักเสบเกิดขึ้นกับโครงสร้างดังที่กล่าวมา จะมีอาการที่ทำให้เราเห็นได้ชัดเจน คือ มีการบวมแดง อุณหภูมิบริเวณนั้นๆ จะอุ่นขึ้น มีอาการเจ็บปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักได้เต็มที่

โดยอาการของข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะแรก จะเริ่มมีอาการตึงขัดข้อเข่า เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางหรือตื่นนอนตอนเช้า แต่ต้องสังเกตให้ดีนะคะว่าระยะเวลาของการตึงขัด จะต้องไม่เกิน 30 นาที หากมากกว่า 30 นาที ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นโรครูมาทอยด์ได้
  • ระยะที่ 2 กระดูกอ่อนเริ่มมีการสึก และหนาตัวขึ้น เกิดกระดูกงอกเล็กน้อย เริ่มมีเสียงครืดคราดเกิดขึ้นในข้อเข่า จากการเสียดสีของกระดูกที่งอกเพิ่มขึ้น จะมีอาการตึงขัดมากขึ้น เริ่มมีอาการเจ็บปวดได้
  • ระยะที่ 3 บริเวณกระดูกอ่อนมีการสึกและเกิดกระดูกงอกมากขึ้น เกิดเสียงครืดคราดในข้อเข่าจากการเสียดสีของกระดูกงอกมากขึ้น มีการขัดและเจ็บบริเวณข้อเข่า เริ่มมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ระยะนี้เริ่มมีอาการเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ายืด กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง ทำให้ความมั่นคงและความคล่องตัวลดลง ขณะทำกิจกรรมรู้สึกติดขัด ฝืดแข็ง ไม่สามารถทำได้เต็มที่
  • ระยะสุดท้ายนี้จะเห็นการผิดรูปของข้อเข่าค่อนข้างมาก เกิดความไม่มั่นคงของข้อเข่า ผู้ป่วยจะเดินโยกไปมาเคลื่อนไหวช้า เปลี่ยนท่าทางได้ช้า ทำกิจกรรมต่างๆ ลำบาก กำลังกล้ามเนื้อหน้าเข่าลดลงมากกว่า 40 % ทำให้ระยะนี้ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการใช้งานอย่างมาก จึงมักไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลัง ทำให้เกิดความเสื่อมได้เร็วเพิ่มขึ้นการรักษา โดยทั่วไป ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก จะเน้นให้เคลื่อนไหวให้มาก เปลี่ยนที่ทางให้บ่อย และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

ในระยะกลาง ๆ จะเน้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าในระยะสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์อาจพิจารณาให้เข้าผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การรักษาทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยข้อเข่า

การรักษาทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยข้อเข่า

  • หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมาแล้ว ในระยะแรกก่อนที่จะตัดไหม ผู้ป่วยสามารถขยับเข่า งอ เหยียดเบาๆ น้อย ๆ ได้เท่าที่จะทำได้ ไม่ต้องฝืน การขยับเบาๆ จะช่วยให้บาดแผลตึงลดลง อาการปวด บวมก็จะลดลงด้วย
  • หลังจากที่ผู้ป่วยตัดไหม บริเวณแผลผ่าตัดแล้ว (ประมาณ ๗ วัน หลังจากผ่าตัด) จะยังเห็นอาการ บวม แดง ร้อน บริเวณแผลผ่าตัดอยู่ สามารถทำการขยับ งอ เหยียดเข่าได้มากขึ้นเท่าที่ทำได้ คือ เท่าที่ตึงมาก แต่ต้องไม่เจ็บปวดมาก โดยพยายามทำบ่อย ๆ จะทำให้ความตึงตัวบริเวณแผลลดลง และสามารถฝึกกำลังกล้ามเนื้อหน้าเข่าได้ โดยพยายามเกร็งกล้ามเนื้อหน้าเข่า กดเข่าลงกับเตียง ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วผ่อน 10 ครั้ง/รอบ วันละ 3-4 รอบ เราสามารถเช็คว่า เราทำถูกหรือไม่ โดยขณะเกร็งเข่า ลองจับลูกสะบ้าขยับดู หากขยับได้ แสดงว่าทำยังไม่ถูกต้อง
  • พยายามกดคลึงบริเวณรอบ ๆ แผลผ่าตัด เพื่อให้พังผืดนิ่มตัวขึ้น โดยอาจทำก่อนการออกกำลังกาย หรือ ทำสลับกับการงอ เหยียดเข่าได้
  • หลังจากที่อาการบวมแดงรอบๆ แผลผ่าตัดลดลง หรือ หายไป (ประมาณ 1 เดือน หลังผ่าตัด) ให้พยายามงอเข่าเพิ่มขึ้นได้อีก โดยสามารถออดแรงกดเข่าให้งอเข้าได้แรงขึ้นตามความสามารถหรือ ความทนทานของผู้ป่วย ถ้าสามารถงอได้ดี ให้พยายามงอเพิ่มขึ้น โดยใช้มือข้างหนึ่งสอดใต้เข่า มืออีกข้างกดเข่าให้งอ
  • ออกกำลังกายโดยกายใช้ถุงทรายใส่บริเวณข้อเท้า (อาจเริ่มที่ 1 กิโลกรัม และสามารถเพิ่มขึ้นได้ตามความสามารถของผู้ป่วย) นั่งเก้าอี้หรือนั่งบนเตียง ห้อยขาลง ดังรูป พยายามเกร็งเยียดเข่าให้สุด ค้างไว้ 10 วินาที ผ่อนลง ทำ 10-30 ครั้ง/รอบ วันละ 3-4 รอบ และสามารถเพิ่มจำนวนครั้ง/รอบ ได้ตามความสามารถ
  • หลังจากหายดีแล้ว สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยยังคงต้องออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอนะคะ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ปวดเอ็นหัวเข่า” อย่านิ่งนอนใจเพราะอาจเป็นเอ็นหัวเข่าขาด

ปวดเอ็นหัวเข่า

ในแต่ละวันเราใช้งานข้อเข่ากันไปไม่น้อยเลย ไม่ว่าการเดินเร็ว การวิ่ง การขึ้น-ลงบันได หรือในกลุ่มของนักกีฬาที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูง ซึ่ง “ภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด”

ถือว่าเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวดและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และในผู้ป่วยแทบทุกรายมักเกิดคำถามว่า “ฉันต้องผ่าตัด” หรือไม่? เพื่อไขข้อสงสัย…เราจึงค้นหาคำตอบมาบอกคุณ!

เส้นเอ็นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของคนเรา ไม่ว่าจะยืน เดิน หรือนั่ง ล้วนสัมพันธ์กับการทำงานของกระดูก ข้อ และเส้นเอ็น ขณะที่คนเราเคลื่อนไหว เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เส้นเอ็นกำลังทำหน้าที่ของมัน โดยเส้นเอ็นจะพยุงและยึดกระดูกให้เชื่อมต่อกันขณะเคลื่อนไหว

เส้นเอ็นที่สำคัญประกอบด้วย เอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง ซึ่งวางอยู่ในตำแหน่งไขว้ประสานระหว่างกันในลักษณะกากบาท ขณะเคลื่อนไหวเอ็นทั้งสองนี้ก็ยังทำงานสัมพันธ์กัน เอ็นไขว้หน้าจะช่วยควบคุมการทรงตัวของข้อเข่าในขณะที่เราวิ่ง กระโดด หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวกะทันหัน ดังนั้น โอกาสที่เอ็นไขว้หน้าจะได้รับบาดเจ็บก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

เอ็นเข่าขาด เกิดขึ้นได้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องพูดถึงการบาดเจ็บของเส้นเอ็น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วพบได้จากอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา นอกจากนี้ยังรวมถึงการกระแทกของเข่าอย่างรุนแรง และที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบิดตัวหรือหมุนตัวของหัวเข่าอย่างรุนแรง

อาการแรกเริ่มเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับเส้นเอ็น จะมีอาการปวดบวมอย่างรุนแรงบริเวณข้อเข่า เดินลงน้ำหนักไม่ได้หรือปวดเสียวมาก ไม่สามารถงอเข่าได้เนื่องจากมีเลือดออกในข้อเข่า ทั้งนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงเอ็นเข่าขาดซึ่งต้องได้รับจะทำการตรวจน้ำหรือเลือดในข้อเขา ตรวจความมั่นคงด้านข้างข้อเท่า และตรวจการเคลื่อนไหว สำหรับการบาดเจ็บแบ่งระดับได้ดังนี้

  1. การบาดเจ็บระดับที่ 1 การบาดเจ็บมีการฉีกขาดบางเส้นใยของเนื้อเอ็น จะมีเลือดออกเล็กน้อย
  2. การบาดเจ็บระดับที่ 2 เป็นลักษณะการบาดเจ็บหัวเข่าจะมีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน จะทำให้เดินไม่ไหว ลำบาก ปวด บวม เจ็บ มีรอยเขียวช้ำ
  3. การบาดเจ็บระดับ 3 การบาดเจ็บหัวเข่าคือมีการฉีกขาดของเอ็นทำให้แพทย์ทำการรักษาโดยด่วน
เอ็นเข่าขาด เกิดขึ้นได้อย่างไร

อาการบ่งชี้…”ภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด”

  1. รู้สึกถึงอาการเข่าบิดพลิกอย่างรุนแรงและปวดเข่าในทันที
  2. เดินลงน้ำหนักไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มที่
  3. ข้อเข่าบวม สาเหตุมาจากการมีเลือดออกในข้อเข่า
  4. อาการค่อยๆดีขึ้น แต่มักมีอาการเวลาที่ทำกิจกรรมที่หัวเข่าต้องบิดหมุน เช่น เดินเร็ว, วิ่ง หรือเล่นกีฬา

เอ็นเข่าขาด รักษายังไง

การตรวจของแพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ว่าเกิดการฉีกขาดและกระดูกมีการแตกหักหรือไม่ และปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย จะทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ทำการดูแลรักษาได้ง่าย แพทย์จะทำการเจาะรู้ขนาดเล็ก ประมาณ 5-10 มิลลิลิตร ผ่านช่องท้อง หรือผิวหนังใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด จำนวน 1-4 รู้ ขึ้นอยู่กับโรคที่ต้องการรักษา เพื่อสอดท่อที่มีไฟฉายและกล้องขนาดเล็กที่สามารถบันทึกภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยอย่างชัดเจน และส่งมายังจอมอนิเตอร์ เพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจน ทำให้ผลที่ได้หลังการผ่าตัดมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ

หลังจากการรักษาด้วยการผ่าตัด ให้ทำการบริหารกล้ามเนื้อ ทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด ด้วยหลังจากที่แผลหายดี ผู้ป่วยเริ่มบริหารกล้ามเนื้อเหยียดหัวเข่าได้ เริ่มบริหารโดยไม่รับน้ำหนักที่เข่า เช่นการว่ายน้ำ การขี่จักรยาน และการบริหารกล้ามเนื้อโดยใช้น้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการปะทะหรือการกระแทกที่รุนแรง โรงพญาบาลพญาไท 2 มีนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ทำให้แผลเล็ก ไม่เจ็บ แล้วพื้นตัวเร็ว ปลอดภัย

เมื่อเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด…ต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่

หากมีภาวะเส้นเอ็นไขว้หน้าขาด อาจยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่อาจเกิดข้อเข่าเคลื่อนเมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ต้องมีการบิดหมุนหัวเข่า และยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและผิวกระดูกอ่อนข้อเข่า ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่รุนแรงกว่า ดังนั้นการรักษาภาวะเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด อาจรักษาเบื้องต้นด้วยการบริหารเพื่อฝึกข้อต่อและกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการให้ยา และเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเกิดการบิดหมุนของหัวเข่า

การรักษาเส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาดด้วยการผ่าตัด…ดีอย่างไร

เพราะเส้นเอ็นข้อเข่าที่ฉีกขาดไม่สามารถเย็บให้กลับมาติดกันใหม่ได้ แพทย์จึงต้องทำการสร้างเส้นเอ็นใหม่ โดยในปัจจุบันมีการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หน้าด้วยการส่องกล้อง พร้อมกับใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ โดยเส้นเอ็นที่นิยมนำมาทดแทนนั้น คือ เส้นเอ็นสะบ้า ซึ่งอยู่ระหว่างสะบ้ากับกระดูกแข้ง และ เส้นเอ็น Hamstrings ซึ่งอยู่ด้านในของข้อเข่า

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี