Posted on Leave a comment

“โรคกระดูกเข่าเสื่อม” สาเหตุและข้อควรรู้

โรคกระดูกเข่าเสื่อม

โรคกระดูกเข่าเสื่อม“เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในคนสูงอายุและคนอ้วน มักจะเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต แต่ไม่มีอันตรายร้ายแรง นอกจากอาการปวดทรมาน เดินไม่ถนัด ขาโก่ง เข่าทรุด อันตรายร้ายแรงมักเกิดจากการใช้ยาอย่างผิดๆ ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีอยู่กับโรคนี้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

เกิดจากการเสื่อมชำรุดหรือการสึกหรอ ของข้อเข่า ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานมาก การบาดเจ็บ หรือมีแรงกระทบกระแทกต่อข้อมาก (เช่น น้ำหนักมาก เล่นกีฬาหนักๆ) ทำให้กระดูกอ่อนที่บุอยู่ตรงบริเวณผิวข้อต่อสึกหรอ และเกิดกระบวนการซ่อมแซม ทำให้มีปุ่มกระดูกงอกรอบๆ ข้อต่อ ปุ่มกระดูกที่งอกบางส่วน จะหักหลุดเข้าไปในข้อต่อ ทำให้ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อต่อ และข้อต่อมีเสียงดังเวลาเคลื่อนไหว

การงอเข่า เช่น นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ การเดินขึ้น_ลงบันได เป็นต้น จะทำให้เกิดแรง กดดันที่ข้อต่อ เป็นเหตุให้ผิวข้อเสื่อมได้เช่นกัน
เมื่อกระดูกเข่าเสื่อม ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆ ข้อเข่ามีการอักเสบและอ่อนแอร่วมไปด้วย ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าอ่อน (เข่าทรุด) และเมื่อเป็นมากๆก็จะทำให้เกิดอาการขาโก่ง

พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระดูกเข่าเสื่อม

ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงานก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูก เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างกายหนัก และพักผ่อนน้อย อีกทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน นั่งทำงานในออฟฟิศ มักนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน หรืออาจจะยกของหนัก ก้ม ๆ เงย ๆ ผิดวิธี ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกได้ ถึงแม้อายุจะยังไม่เข้าสู่คนสูงวัยก็ตาม

แม้จะอยู่ในวัยทำงาน แต่หลายคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรค หรือเป็นปัญหาของผู้สูงอายุ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนในวัยทำงานก็สามารถเป็นได้เช่นกัน อาจจะเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การใช้งานข้อเข่าที่หนักไป อุบัติเหตุต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำหนักตัวของเรา ก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ โรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวด บวม ที่ข้อเข่า ได้แก่ ปวดบริเวณข้อเข่าขณะเดิน หรือเดินขึ้นลงบันได ข้อฝืด มีเสียงดังเวลาเคลื่อนของข้อเข่า หรือตึงข้อขณะเคลื่อนไหว เช่นมีอาการหลังตื่นนอน ไม่สามารถขยับข้อเข้าได้ตามปกติ ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง เช่น ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ขึ้นลงรถลำบาก หากปล่อยไว้นาน จะเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อเข่าผิดรูป เช่น ขาโก่งจากข้อเข่าเสื่อมได้

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมสภาพของร่างกายก็ย่อมเป็นไปวัย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูกที่ไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็ก หรือวัยทำงานก็สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นแล้ว จะไม่พบเจอกับปัญหาโรคกระดูก

พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระดูกเข่าเสื่อม

กระดูกเข่าเสื่อมเกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง

กระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุทีไม่รุนแรง เช่น ตกเตียง ตกจากเก้าอี้ ลื่นล้มในห้องน้ำ และมักพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย ผู้สูงอายุที่กระดูกหักต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ เพื่อให้กระดูกเคลื่อนกลับเข้าที่และอยู่ในตำแหน่งเดิมจนกว่าจะหายดี โดยแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ได้แก่ ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เป็นต้น

ข้อเข่าเสื่อม

ภาวะข้อเขาเสื่อมคือเมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้ข้อต่าง ๆ มากขึ้น กระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง และเมื่อบวกกับความเสื่อมของสุขภาพ จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หากมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางรักษา เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการมีความรุนเแรงยิ่งขึ้น

กระดูกพรุน

คือ โรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก มีผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูกหักง่ายกว่าปกติ ตำแหน่งที่พบกระดูกหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือโดยเฉพาะตำแหน่งของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังที่พบว่ามีโอกาสหักมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สำหรับโรคกระดูกพรุนจะไม่พบว่ามีอาการใดๆ เลย เพราะพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะหักง่าย ส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม น้ำเต้าหู้ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย จะช่วยป้องกัน ช่วยชะลอ หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น การเสื่อมของร่างกายก็มักมีเข้ามามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของกระดูก ที่เห็นได้บ่อย ๆ ก็จะเป็นในเรื่องของอาการปวดหลัง ปวดขา โดยโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่อายุมากขึ้น อันเนื่องมากจากความเสื่อมสภาพของข้อกระดูกสันหลังทรุดตัวลง และไปกดทับเส้นประสาทได้ รวมไปถึงการเกิดของกระดูกงอก หรือหินปูนที่เกิดขึ้น จนทำให้ไปทับเส้นประสาทได้ในที่สุด การรักษาโรคกระดูกทับเส้น แพทย์จะดูแลรักษาตามสภาพอาการ ตั้งแต่แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ควบคู่ไปกับการกินยาแก้ปวด และการออกกำลังกายในช่วงที่ยังเป็นไม่มากนัก แต่หากอาการหนักขึ้นมาอีกก็ต้องทำกายภาพบำบัด หากยังไม่หายก็ต้องพิจารณาฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง หรือทำการผ่าตัดรักษา

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี