Posted on Leave a comment

สาเหตุและอาการ “กระดูกหัวเข่าเคลื่อน”

กระดูกหัวเข่าเคลื่อน

ข้อ หรือข้อต่อ (joint) เกิดจากการประกอบกันขึ้นของปลายกระดูกอย่างน้อย 2 ชิ้น ข้อต่อในร่างกายคนเรามีมากมายหลายร้อยข้อ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ข้อที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า และข้อที่ยึดติดแน่นและรวมกัน เช่น กะโหลกศีรษะ

โดยทั่วไปแล้วข้อต่อเกิดจากกระดูกสองท่อนมาต่อกัน โดยมีเอ็นหรือพังผืดยึดเอาไว้ อาจมีช่องข้อหรือไม่มีก็ได้ การฉีกขาดของเอ็น หรือพังผืดที่ยึดจะทำให้เกิดข้อเคลื่อนขึ้นได้

ข้อเคลื่อน ภาษาอังกฤษเรียกว่า dislocation of joint หมายถึง การหลุดของข้อออกจากแนวปกติ ทำให้กลายเป็นข้อที่ไม่มั่นคง ดังนั้นข้อเคลื่อนจึงเป็นภาวะที่ปลายกระดูกหรือหัวกระดูกสองอัน ที่มาชนกันประกอบกันขึ้นเป็นข้อ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ทำให้เยื่อหุ้มข้อนั้นมีการฉีกขาดหรือมีการยืดของเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และเส้นประสาท บริเวณนั้นมีการฉีกขาดหรือชอกช้ำไป

ความไม่มั่นคงของข้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ระดับที่ข้อหลวมเพียงเล็กน้อย
  2. ระดับที่ผิวข้อเคลื่อนออกจากกัน แต่ยังมีบางส่วนสัมผัสกันอยู่
  3. ระดับที่ผิวข้อเลื่อนหลุดออกจากกันทั้งหมด

การที่ข้อต่อเคลื่อนหรือข้อต่อหลุด หมายถึง มีแรงมากกระทำที่ข้อนั้นอย่างรุนแรง จนทำให้เยื่อหุ้มข้อหรือบางคนเรียกว่าเอ็นยึดข้อ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ความแข็งแรงของข้อต่อนั้นๆ ฉีกขาด จนข้อเคลื่อนหรือหลุดออกจากกัน เมื่อมีข้อเคลื่อน ข้อหลุด จะต้องมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อเสมอ

ข้อเคลื่อน ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด แล้วมีปลายกระดูกอันหนึ่งหลุดออกมาข้างนอก
  2. มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อเป็นช่องเล็กมาก แต่กระดูกที่ดันผ่านช่องเล็กนั้นออกมาอยู่ข้างนอก ทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายๆกับการกลัดกระดุม
  3. การที่ข้อที่หลุดยังอยู่ในเยื่อหุ้มข้อ

สาเหตุของกระดูกข้อเคลื่อน

เกิดจากการบาดเจ็บที่ทำให้ข้อเคลื่อน เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบจากความเสื่อมเป็นแต่กำเนิด เช่น ข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด เป็นต้นแพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

สาเหตุของกระดูกข้อเคลื่อน

พยาธิสรีรภาพ เมื่อมีแรงมากระทำที่ข้อจะทำให้ข้อเคลื่อนซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อของหลอดเลือด เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หากข้อที่เคลื่อนไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่เดิม เส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณข้อจะถูกกด ทำให้เกิดอัมพาตของเส้นประสาท (Nerve palsy) และเกิดการตายของเนื้อเยื่อตรงบริเวณที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดนั้นๆ นอกจากนี้กระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่ได้รับอาหารจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเหมือนเดิม กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมลง และมีภาวะข้ออักเสบ ข้อจะเคลื่อนไหวได้จำกัดและมีอาการปวด

  1. สาเหตุอาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิด เกิดจากพยาธิสภาพ หรือเกิดจากการกระแทกที่บริเวณข้อ
  2. ข้อเคลื่อน ข้อหลุด พบได้บ่อยในกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ เกิดจากการที่หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า อาจหลุดออกเป็นบางส่วน หรือหลุดออกโดยสมบูรณ์ จะมีการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่หลุด ทำให้มีอาการปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้ ติดขัด หรือถืงแม้เคลื่อนไหวได้ แต่ก็เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ รูปร่างของข้อจะเปลี่ยนไป
  3. ที่พบได้บ่อยจากการเล่นกีฬา คือ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสะบ้าหลุด ตัวอย่างเช่น ข้อไหล่หลุดจะพบว่า บริเวณไหล่ที่เคยนูน จะแบนราบลงเป็นเส้นตรง เหมือนไม้บรรทัด และไม่สามารถเอื้อมมือข้างนั้น ไปแตะบ่าด้านตรงข้ามได้ ข้อศอกหลุด จะพบว่า ส่วนข้อศอกนั้นนูนบวมขึ้น มองจากด้านหน้าจะพบว่า ต้นแขนยาวกว่าปลายแขน แต่ถ้ามองมาจากทางด้านหลัง จะพบว่า ต้นแขนสั้นกว่าปลายแขน เป็นต้น
  4. เกิดจากการถูกตี หกล้ม หรือการเหวี่ยง การบิด หรือกระชากอย่างแรงที่ข้อนั้น หรือเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน

อาการของกระดูกหัวเข่าเคลื่อน

อาการและอาการแสดงที่สำคัญของข้อเคลื่อน ได้แก่ ปวดมาก บวมรอบๆ ข้อ กดเจ็บ มีอาการฟกช้ำ รูปร่างของข้อที่ได้รับอันตรายเปลี่ยนรูปไปจากเดิมและความยาวของแขนหรือขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บอาจสั้นหรือยาวกว่าปกติ เคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้ตามปกติ

มีอาการปวดซึ่งจะลดลงทันทีเมื่อได้รับการรักษาโดยการจัดข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่ เมื่อข้อเคลื่อนหรือหลุดจะทำให้ข้อนั้นๆ เคลื่อนไหวได้ลดลงหรือไม่ได้เลย ทำให้แขนขาข้างที่ข้อเคลื่อนสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะผิดปกติ

อาการข้อเคลื่อนที่พบได้บ่อย

  1. บวม, ปวด, กดเจ็บบริเวณข้อ
  2. ข้อมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม สีของบริเวณข้อที่ได้รับบาดเจ็บเปลี่ยนไปจากเดิม
  3. การเคลื่อนไหวข้อทำไม่ได้ หรือทำได้น้อยมาก ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ
  4. มีการหดสั้นของอวัยวะ เช่น แขน หรือขา
  5. อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา
  6. การที่ข้อเคลื่อน อาจมีอันตรายต่อเส้นประสาท และหลอดเลือดใกล้เคียง

การรักษา กระดูกหัวเข่าเคลื่อน

ให้ใช้ความเย็นประคบเพื่อลดบวมและลดปวด ดึงข้อที่เคลื่อนให้เข้าที่เดิมโดยไม่ต้องผ่าตัด (Close reduction) บางรายอาจต้องดมยาเพื่อดึงข้อให้เข้าที่เดิม หากไม่สำเร็จอาจต้องผ่าตัดเพื่อดึงข้อให้เข้าที่ ต่อมาให้ข้อพักอยู่นิ่งๆ นานประมาณ 3-6 สัปดาห์เพื่อให้เอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อหายเป็นปกติ ป้องกันมิให้ข้อหลุดอีก ข้อเล็กแพทย์จะใส่เครื่องพยุง เข้าเฝือกหรือดึงถ่วงไว้และนัดดูอาการหากข้อใหญ่ เช่น ข้อสะโพก จะรักษาโดยการดึงถ่วงน้ำหนักที่ผิวหนัง (Skin traction) หลังจากดึงข้อให้เข้าที่แล้ว

  1. ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อ และกระดูกที่เคลื่อนให้อยู่ในท่าที่สบาย หรือเจ็บน้อยที่สุดก่อนพบแพทย์ โดยให้พักข้ออยู่นิ่งๆ
  2. ถ้าเป็นข้อเคลื่อนครั้งแรก อย่าพยายามดึงให้เข้าที่เอง
  3. ให้ข้อนั้นอยู่นิ่ง ๆ ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณข้อ หลักสำคัญคือต้องประคบด้วยความเย็น
  4. ใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ ให้ส่วนนั้นให้อยู่ในท่าพัก
  5. นำส่งโรงพยาบาล การทิ้งไว้นานจะทำให้การดึงเข้าที่ลำบาก และถ้านานเกินไปอาจต้องทำการผ่าตัด

การปฐมพยาบาลเมื่อมีข้อเคลื่อนหรือหลุดเกิดขึ้น อย่าพยายามดึงเข้าที่เอง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงกระดูกหักได้ หรือบางรายอาจมีกระดูกหักชิ้นเล็กๆ ร่วมด้วย จึงควรเอกซเรย์ให้เห็นชัดเจน ก่อนที่จะดึงเข้าที่ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัดรักษา สิ่งแรกที่ควรทำคือ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ อาจจะใช้มืออีกข้างช่วยประคองในกรณีที่เป็นไหล่ หรือข้อศอก จากนั้นประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อให้เลือดออกน้อยที่สุด แล้วรีบมาพบแพทย์ให้จัดการรักษาโดยทันที

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี