Posted on Leave a comment

ปวดเข่ารักษา ก่อนดีกว่าปล่อยไว้เรื้อรัง

ปวดเข่ารักษา

ในบรรดาสาเหตุของข้ออักเสบนับร้อยนั้น สาเหตุที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด เห็นจะเป็นข้ออักเสบเนื่องจากอุบัติเหตุ ข้ออักเสบจากภาวะข้อเสื่อมข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้ออักเสบจากโรคเกาต์ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การติดเชื้อ โรคภูมิแพ้บางชนิด โรคผิวหนังและโรคอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีการอักเสบบวม ปวดเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของภาวะข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนประสิทธิภาพการใช้งานของข้อลงอย่างน่าเสียดาย

ต้นตอของอาการปวดเข่า

เมื่อมีอาการปวดบวมบริเวณข้อการสรุปเอาเองว่ามีสาเหตุมาจาก วัย หรือ “สงสัยว่าข้อจะเสื่อม” อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริง อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากข้อเสื่อมนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุของอาการปวดข้อเท่านั้นที่สำคัญสาเหตุส่วนมากไม่เกี่ยวข้องกับวัยหรืออายุเลย

“อาการปวดข้อโดยมากเป็นผลมาจากภาวะการอักเสบของข้อ” คำว่าข้ออักเสบเป็นคำที่ค่อนข้างกว้าง และเมื่อเรากล่าวถึงข้อ เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระดูกสองหรือสามชิ้น แต่หมายความถึง ส่วนประกอบของข้อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน หมอนรองข้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณข้อ การจะวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบจึงไม่ง่ายนัก ประกอบกับสาเหตุของข้ออักเสบที่เป็นไปได้นั้นมีอยู่มากกว่าร้อยชนิด”

รักษาปวดเข่า

รู้ก่อน รักษาก่อนดีที่สุด

“การใส่ใจดูแลข้อเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นมาเป็นเรื่องสำคัญมากต่อสุขภาวะของข้อในระยะยาว” นพ. วศินกล่าว “เมื่อมีการอักเสบของข้อและมีอาการปวดสิ่งที่หลายคนมักทำก็คือรอดูอาการหรือรอให้หายไปเอง บางรายรับประทานยาบรรเทาปวดซึ่งช่วยให้ทุเลาลงได้จึงเลื่อนการพบแพทย์ออกไป ตรงนี้สำคัญเพราะเท่ากับว่าต้นตอของปัญหาไม่เคยได้รับการแก้ไขเลย”

ยกตัวอย่างเรื่องข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักมาก ภาวะข้อเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายโดยอาจมีการลอกหลุด หรือบางลงจนมีอาการปวดหรือข้อไม่อาจเคลื่อนไหวได้อย่างลื่นไหล คล่องแคล่ว และเต็มองศาการเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม

“เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการข้อติด ปวดบวม พักแล้วก็ไม่หาย สิ่งที่แรกที่แพทย์จะทำคือหาสาเหตุที่แท้จริงโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรืออื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้การรักษาตรงตามขั้นตอนและสาเหตุอย่างแท้จริงอย่าง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะข้อเสื่อมและมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ป่วยก็จะได้รับคำแนะนำเพื่อช่วยลดน้ำหนักลงซึ่งก็จะช่วยในการบรรเทาอาการปวดลงได้”

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อน แพทย์ก็จะช่วยเหลือและแนะนำวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างเช่นการใช้ยาบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบไปพร้อม ๆ กับการแก้ไขไปถึงต้นเหตุซึ่งอาจเป็นโรคเรื้อรังหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อเนื่องมายังข้อการฉีดยา การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การใช้อุปกรณ์ประคองข้อการถนอมการใช้ข้อ การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น แต่หากอาการของผู้ป่วยหนักหนาสาหัสจริง ๆ แพทย์ก็จะเลือกใช้การผ่าตัด

แนวทางการรักษาอาการปวดเข่า

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมีผลอย่างยิ่งต่อการรักษาอาการปวดเข่าจากข้อเข้าเสื่อม พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวันมี ดังนี้

  •  การบริหารข้อเข่า การบริหารข้อเข่าที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีขึ้นเวลายืนหรือเดิน           
  • การควบคุมน้ำหนักตัว ในขณะที่เดินจะมีน้ำหนักกดลงที่ข้อเข่าแต่ละข้าง ประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว เมื่อวิ่งน้ำหนักตัวจะกดลงที่ข้อเข่าเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐานจะทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของข้อเข้าจะช้าลงไปด้วยเมื่ออาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัด

พักการใช้ข้อเข่า ในระยะแรก ควรพักข้อเข่าไว้ก่อนอย่าเพิ่งลงน้ำหนักมากในข้อเข่าข้างที่ปวดการประคบความเย็น ในระยะที่มีการอักเสบแบบเฉียบพลันประมาณ ในช่วง 1-2 วันแรก ควรประคบด้วยความเย็นเพื่อลดอาการอักเสบ และอาการบวม โดยใช้แผ่นประคบเย็น (Cold pack) หรือใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ พับเป็นแผ่นแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นไว้เมื่อนำมาใช้ให้ห่อด้วยผ้าขนหนู ที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ นำมาประคบข้อเข่าประมาณ 20 นาทีวันละ 2 ครั้งการประคบความร้อน เมื่อพ้นระยะการอักเสบแบบเฉียบพลันไปแล้ว ประมาณวันที่ 3 เป็นต้นไป โดยการใช้การต้มน้ำร้อนใส่ในกระเป๋าน้ำร้อน หรือขวดแบนนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูบิดหมาด ๆ ห่อ 2-3 ชั้น นำมาประคบรอบ ๆ เข่า ประมาณ 20 นาที วันละ 2-3 ครั้งการใช้ อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ในช่วงที่มีอาการปวด บวม และอักเสบมาก อาจใช้อุปกรณ์พยุงข้อเข่า (Knee support) หรือ ผ้ายืด (Bandage) ช่วยรัดข้อเข่าให้กระชับ ในขณะนั่ง ยืน หรือเดิน นานๆ เพื่อช่วยลดการเสียดสีและการเคลื่นไหวที่มากเกินไปของข้อเข่าได้แต่ไม่ควร ใส่ตลอดทั้งวัน ควรถอดออกบ้างเป็นระยะๆ

รักษาด้วยยา

            ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamolยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความ นิยม ลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อนยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยมการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

การผ่าตัด 

การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะผ่าเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจากการสึกออกมาการผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบัน นิยมลดลงการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (TKR) คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายจากอาการปวด ผู้ป่วยสามารถใช้ ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี