Posted on Leave a comment

อาการหน้ารู้ของ “กระดูกลูกสะบ้า”

กระดูกลูกสะบ้า

ในโรคนี้กระดูกอ่อนที่บุอยู่ผิวในของกระดูกสะบ้าจะมีลักษณะนิ่มตัวเป็นหย่อม ๆ ลักษณะของโรคเกิดขึ้นได้หลายช่วงอายุ เช่น ตั้งแต่วัยรุ่น วัยเด็กโต วัยผู้ใหญ่ ตลอดจนวัยสูงอายุ  ซึ่งมีอาการข้อเสื่อมร่วมด้วย  ในรายผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำ ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การที่กระดูกสะบ้าหลุดเคลื่อนที่

อาการของกระดูกลูกสะบ้า

จะเกิดความเจ็บปวดที่ด้านหลังของกระดูกสะบ้า  ทั้งนี้อาจเกิดจากรูปร่างไม่สบกันพอดีกับปลายล่างกระดูกต้นขา  เวลางอและเหยียดขาจะมีบริเวณหนึ่งที่รับน้ำหนักมากกว่า พวกที่เป็นในวัยเด็ก จะพบส่วนที่เป็นบริเวณกระดูกสะบ้าด้านหลังมีลักษณะสีเปลี่ยนเป็นสีเหลืองด้าน ๆ เป็นหย่อมขนาด ๐.๕-๑ ซม. และถ้ากดอาจลอกตัวขึ้นเป็นชิ้น  ถ้าเป็นมานานกระดูกอ่อนจะหลุดหายไปเลย  คงเหลือกระดูกใต้ผิวข้อรับน้ำหนักอยู่ ลักษณะความเจ็บปวดจะปวดร้าวไปบริเวณด้านหน้าและด้านในของเข่า  จะปวดเวลาเดินลงบันได ในการนั่งงอเข่านาน ๆ แม้นั่งเก้าอี้ก็จะทำให้ปวดได้ ต้องนั่งเหยียดขา ความเจ็บปวดจึงจะลดลง

สาเหตุ จากสันที่ขอบบนของผิวข้อส่วนมีเดียล คอนดาล์ยของกระดูกต้นขา ทำอันตรายแก่ส่วนผิวข้อของกระดูกสะบ้าด้านใน นอกจากนี้อาจจากสาเหตุอื่น ซึ่งยังไม่ทราบแน่

พยาธิวิทยา มีการเสื่อมสภาพที่ส่วนล่างทางพื้นผิวข้อด้านในของสะบ้าคือกระดูกอ่อนฮัยอาไลน์อ่อนตัวลง และมักจะเป็นร่อง อาจเป็นแผล และมักจะทำให้เกิดออสตีโออาร์ไธรติสของข้อระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา

ลักษณะทางคลินิค คนไข้บอกว่าปวดหลังกระดูกสะบ้า อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อออกกำลัง ขึ้นหรือลงบันได เข่าอาจทรุดอ่อนลงเป็นระยะ ในระยะต้นการตรวจเข่าจะพบว่าไม่มีอาการแสดงที่ผิดปรกติ มีเสียงเสียดสี (crepitus) ระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา ขณะงอและเหยียดข้อเข่า มีเสียงดังกริ๊กที่สะบ้าเกิดขึ้นขณะที่เหยียดเข่าเต็มที่ 150 องศา ทำให้ปวดได้ โดยการเสียดสีระหว่างสะบ้ากับกระดูกต้นขา ขณะที่ขาเหยียดตรง ถ้าสะบ้าเอียงไปด้านข้างและคลำพื้นผิวด้านหลังผ่านผิวหนัง จะทำให้ปวด นอกจากนี้ ในรายที่เป็นนานแล้วอาจมีน้ำในข้อเข่า ภาพรังสีข้อเข่าอาจปรกติ กระดูกใต้กระดูกอ่อนอาจทึบเพิ่มขึ้น ภาพรังสีกระดูกสะบ้าถ่ายท่า Skyline View อาจเห็นพื้นผิวข้อขรุขระเล็กน้อย

ลูกสะบ้า

วิธีการรักษาลูกสะบ้า

  1. การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าเพื่อให้เข่ากระชับ  การเสียดสี แรงกดที่เข่าจะได้ลดลง
  2. การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน
  3. การใช้อุปกรณ์พยุงเข่าในระยะที่มีอาการปวดเข่า
  4. จะต้องหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้แรงที่ไปกดสะบ้าสูงขึ้น ได้แก่ คุกเข่า นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ และนั่งยองๆ
  5. รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดอาการปวด และการอักเสบเมื่อจำเป็น

หากการรักษาขั้นต้นไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด แพทย์จะไม่แนะนำวิธีนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากผลการรักษาก็ยังไม่ดีนัก

การผ่าตัดแบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อทำความสะอาดแต่งผิวสะบ้าให้เรียบ รวมถึงการเจาะกระดูกเพื่อให้มีการซ่อมแซม
  2. การผ่าตัดจัดตำแหน่งลูกสะบ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในกรณีที่มีปัญหาลูกสะบ้าอยู่ไม่ถูกตำแหน่ง

การป้องกันกระดูกลูกสะบ้า

การป้องกันโรคนี้ดีกว่าการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และมีวิธีป้องกัน ดังนี้

  1. การฝึกฝนกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง
  2. การลดน้ำหนักให้เหมาะสมกับร่างกาย
  3. การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี การอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย  การยืดกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังเล่นกีฬา  และการเพิ่มระดับของกีฬาอย่างเหมาะสม

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี