Posted on Leave a comment

วิธีถนอมข้อเข่า เพื่อที่เราจะให้ได้ใช้ไปนานๆ

การถนอมข้อเข่า

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หลายๆ อย่างในร่างกายของเราก็จะค่อยๆ เสื่อมลง ซึ่งอาการ เข่าเสื่อม ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เราพบได้บ่อยเช่นกัน ส่วนมากผู้ที่เป็นจะปวดแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ แม้จะไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่มันก็ทำให้เราทรมานได้ไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้ทาง Arukou เลยจะมาขอแชร์ วิธีป้องกันเข่าเสื่อม ที่คุณก็ทำได้ง่ายๆ

การรักษาข้อเข่า

วิธีป้องกันไม่ให้เข่าเสื่อม วิธีถนอมข้อเข่า เพื่อที่จะให้ได้ใช้ไปนานๆ

1. อย่านั่งมากและกินมากเกินไป

หากลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ 5 กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50 มีหลักฐานยืนยันในผู้ที่มีอาการปวดเข่า พบว่าอาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าน้ำหนักตัวลดลง ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องข้อเข่าแล้วยังช่วยเรื่องสุขภาพด้านอื่นๆของร่างกายเราอีกด้วย ดีกับดี

2. ปรึกษาแพทย์ หากโครงสร้างเข่าผิดปกติ

ลักษณะของโครงสร้างเข่าปกติมีหลายชนิด (เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่น) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือใส่ซัพพอร์ตเข่า หรือสามารถปรึกษาทางเราได้ฟรี

3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะ

กีฬาปะทะบางประเภท จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เอามัน ไม่ควรเสี่ยงปะทะ เอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เช่น เล่นบอลหนัก หรือควรวอร์มอัพก่อนที่จะออกกำลังกายเสมอ

4.ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน

ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่า เพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นานๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ในกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อยๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ ซึ่งถ้าทำบ่อยๆ บอกเลยไม่ดีเลยนะ

5. เลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง

เช่น การกระโดดซ้ำๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า หรือทำกิจกรรมพวกนี้บ่อยๆ ทำให้เข่าเราเสื่อมก่อนเวลาปกติได

6. ลดอาการปวดทันที

เมื่อมีอาการปวดเข่า อย่าปล่อยให้มีอาการปวดแบบนั้นอยู่นานๆ ควรรีบรักษาอาการปวดด้วยการหายาแก้ปวดมาทาน สามารถเลือกกลุ่มยาตระกูล NSAIDs อย่าง ไอบูโพรเฟน หรือนาโปรเซนได้ ยาสองชนิดนี้สามารถหาซื้อทานได้ตามร้านขายยาทั่วไป ควรทานตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด แต่หากมีประวัติแพ้ยาตระกูล NSAIDs หรือไม่แน่ใจในอาการปวดข้อของตัวเอง ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทานยา เพราะยาตระกูล NSAIDs อาจมีผลข้างเคียงในบางรายได้ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือ ตับ/ไตได้รับความเสียหาย เป็นต้น

หากไม่เคยมีประวัติแพ้ยาตระกูล NSAIDs สามารถทานยาภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรได้ และควรใช้บรรเทาอาการปวดในระยะสั้นๆ เท่านั้น ไม่ควรทานยาแก้ปวดติดต่อกันเกิน 5 วัน หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 5 วัน ควรรีบปรึกษาแพทย์

7. ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง

วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ ถุงทรายน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขาแล้วยกขึ้น-ลง ช้าๆ ถ้าได้ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ให้ทำซ้ำอีก 2 เซต หรือจะออกกำลังกายด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง 2 ข้างประมาณ 20 องศา ค้างไว้ 1 วินาที แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา ปรับจนทำได้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ทำซ้ำอีก 2 เซต

8. รักษาทันทีที่มีอาการบาดเจ็บที่เข่า

ถ้ามีอาการบาดเจ็บของเข่า มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เมื่อหายยังไม่สนิทต้องระวังไม่ให้เป็นซ้ำ และอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง

9. หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูง

เนื่องจากจะทำให้เข่าแอ่น มีโอกาสที่เข่าจะเสื่อมได้ง่าย หากจะเล่นกีฬา ก็ควรสวมใส่รองเท้าให้เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่งก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตัน หรือเทนนิสควรมีพื้นบางเพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น

10. เสริมรองเท้าในระยะที่ขาด

ลองวัดความยาวขาดู นอนหงาย ปล่อยขาตามสบายแต่ไม่กาง ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน วัดระยะห่างจากทั้ง 2 จุดในขาข้างหนึ่ง ถ้าขาสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน 2 เซนติเมตร ต้องเสริมรองเท้าในระยะที่ขาด


arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี