Posted on Leave a comment

การรักษาเอ็นเข่าอักเสบเบื้องต้น

การรักษาเอ็นเข่าอักเสบ

โรคเอ็นอักเสบ เอ็นในที่นี้ก็คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เอ็นจะทำงานทุกครั้งที่กล้ามเนื้อกดเกร็งและกระดูกขยับเขยื้อน ที่เอ็นอักเสบก็เลยมักเป็นเพราะคุณใช้งานมากไป เช่น ทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ท่าทางเดิมซ้ำๆ โรคเอ็นอักเสบจริงๆ แล้วก็เป็นได้ทุกส่วน แต่ที่มักพบบ่อยคือเอ็นข้อมือ ข้อศอก ไหล่ สะโพก แล้วก็ส้นเท้า โรคเอ็นอักเสบจะมีอาการปวดมากจนบางทีก็ขยับเขยื้อนไม่ค่อยได้ ปกติจะดีขึ้นภายใน 2 – 3 อาทิตย์ โดยเฉพาะถ้ารักษาพยาบาลตัวเองให้ดีๆ ระหว่างนั้น แต่ในบางเคส โรคเอ็นอักเสบก็กลายเป็นโรคเรื้อรัง จนต้องไปรักษากับคุณหมออย่างจริงจัง

การรักษาเอ็นเข่าฉีกขาด แบ่งเป็น 3 กรณีตามความรุนแรง

  • กรณีเนื้อเยื่อบางส่วนของเอ็นฉีกขาด แพทย์จะรักษาด้วยยาบรรเทาปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ใส่ผ้าพยุงเข่า หรือทำกายภาพบำบัด งดการใช้เข่าชั่วคราว
  • กรณีเอ็นฉีกขาดบางส่วน  แพทย์จะพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยว่าจะผ่าหรือไม่ ถ้าไม่ผ่าตัดอาจให้พักหรือใส่เฝือกไว้
  • กรณีเอ็นเข่าฉีกขาด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เย็บซ่อมเอ็น หรือสร้างเอ็นใหม่

การรักษาเอ็นเข้าอักเสบเบื้องต้น


1.อย่าหักโหมใช้งานเอ็นหรือกล้ามเนื้อ 

เอ็นอาจอักเสบได้จากการบาดเจ็บกะทันหัน แต่ปกติมักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทีละน้อยแบบไม่รู้ตัวจนผ่านไปหลายวัน หลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน การกระทำซ้ำๆ ทำให้เอ็นตึงเกร็ง จนเกิด micro-tears หรือการฉีกขาดเล็กๆ และการอักเสบตรงจุดนั้น หาให้เจอว่าอะไรที่ทำให้เอ็นคุณอักเสบ แล้วหยุดทำก่อน (สัก 2 – 3 วัน) หรือปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำ ถ้าคุณเกิดเอ็นอักเสบเพราะการทำงาน ให้ปรึกษาหัวหน้าหรือเจ้านายเพื่อขอเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่นชั่วคราว แต่ถ้าคุณเอ็นอักเสบเพราะการออกกำลังกาย แสดงว่าออกหนักไปหรือออกไม่ถูกวิธี ลองปรึกษา personal trainer ดูก็ดี

  • การเล่นเทนนิสหรือกอล์ฟมากไปคือสาเหตุยอดนิยมของอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ ถึงได้เรียกกันว่า “tennis elbow” กับ “golfer’s elbow” ไง
  • เอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันปกติจะหายได้เองถ้าคุณหยุดพักจากการกระทำนั้นๆ แต่ถ้ายังฝืนทำต่อละก็ อาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง (ไม่ยอมหาย) ได้ ทีนี้ล่ะรักษายากแน่


2.ใช้น้ำแข็งประคบเอ็นที่อักเสบ 

อาการปวดของโรคเอ็นอักเสบนั้น หลักๆ ก็เพราะอาการอักเสบตามชื่อ เป็นความพยายามของร่างกายที่จะรักษาและปกป้องเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเสียหาย แต่กระบวนการต้านการอักเสบของร่างกายอาจดีเกินไปจนกลายเป็นปัญหาซะเอง เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องควบคุมดูแลให้ดี อาการถึงจะบรรเทา เช่น ประคบเย็นตรงจุดที่เอ็นอักเสบด้วยน้ำแข็ง เจลแพ็ค หรือถุงผักแช่แข็งก็ได้ เพื่อบรรเทาอาการและลดปวด ประคบเย็นแบบนี้ทุก 2 – 3 ชั่วโมง จนพอหายปวดลดการอักเสบลง

  • ถ้าจุดที่อักเสบเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นตรงจุดที่เล็กและเปิดเผย (อย่างข้อมือหรือข้อศอก) ให้ประคบเย็นประมาณ 10 นาที แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่ใหญ่หรืออยู่ลึก (อย่างไหล่หรือสะโพก) ก็ต้องประคบกันนานถึง 20 นาที
  • ระหว่างประคบเย็นเอ็นที่อักเสบ ให้ยกส่วนนั้นสูงไว้ และพันทับให้แน่นกระชับด้วยผ้ายืดพันแผล สองจุดนี้จะทำให้ลดการอักเสบได้อย่างเห็นผลยิ่งขึ้น
  • อย่าลืมห่อน้ำแข็งด้วยผ้าบางๆ ก่อนประคบเย็น จะได้ไม่เกิดอาการข้างเคียง อย่างผิวไหม้เพราะความเย็น

3.กินยาแก้อักเสบ

 อีกวิธีสู้โรคเอ็นอักเสบ ก็คือกินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปนี่แหละ ยากลุ่ม NSAIDs อย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) แล้วก็นาพรอกเซน (Aleve) ช่วยเพลาๆ ปฏิกิริยาตอบโต้ที่ร่างกายมีต่ออาการอักเสบได้ ทำให้ลดบวมลดปวด แต่ยากลุ่ม NSAIDs นั้นมักทำให้ปวดท้อง (ส่งผลต่อตับและไตบ้าง) เพราะงั้นจะดีกว่าถ้าคุณไม่กินต่อเนื่องนานเกิน 2 อาทิตย์ ไม่ว่าจะบาดเจ็บตรงไหนก็ตาม

  • ถ้าไม่อยากกินยา ก็ลองทาครีมหรือเจลแก้อักเสบลดปวดดูตรงบริเวณที่เป็น ถ้าเป็นตื้นๆ แถวบริเวณผิวหนัง ยาก็ยิ่งซึมและเห็นผลดีกว่า
  • อย่าพยายามกินยาแก้ปวด (acetaminophen) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (cyclobenzaprine) เพื่อรักษาโรคนี้ เพราะไม่ได้ช่วยเรื่องการอักเสบเลย

4.ยืดเส้นยืดสายเอ็นที่อักเสบเบาๆ

 ถ้าเป็นอาการกล้ามเนื้อหรือเอ็นยึดปานกลางถึงไม่มากนัก การยืดเส้นยืดสายจะช่วยได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และเพิ่มความคล่องตัว ให้คุณขยับเขยื้อนได้มากขึ้น โรคเอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันก็ยืดเส้นยืดสายได้ (ขอแค่อาการปวดบวมอักเสบไม่มากนัก) และช่วยป้องกันไม่ให้อาการอักเสบเรื้อรังรุนแรงไปกว่าเดิม ระหว่างที่ยืดเส้น ให้ออกท่าทางช้าๆ แต่มั่นคง และค้างไว้ประมาณ 20 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3 – 5 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง

  • สำหรับคนที่เป็นโรคเอ็นอักเสบเรื้อรังหรืออยากยืดเส้นเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ ให้ประคบร้อนตรงบริเวณที่เป็นก่อนยืดเส้น จะได้เป็นการวอร์มอัพกล้ามเนื้อกับเอ็นให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
  • ข้อควรระวังคืออาการปวดของโรคเอ็นอักเสบจะยิ่งแย่ตอนกลางคืน และหลังคุณออกท่าออกทางหรือทำกิจกรรม

5.ใส่ตัวซัพพอร์ตเข่า Arukou ช่วย

 ถ้าคุณเป็นโรคเอ็นอักเสบที่หัวเข่า ข้อศอก หรือข้อมือ ให้ใช้ที่ซัพพอร์ตเข่า ที่ขยับเขยื้อนได้ง่ายหน่อย เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนนั้นขยับเขยื้อนมากไปหรือกระทบกระเทือน การใส่ผ้ายืดรัดข้อยังช่วยเตือนใจคุณให้เพลาๆ กิจกรรมนั้นๆ ลงหน่อย และไม่หักโหมทำงานหรือออกกำลังกายมากเกินไป

  • แต่ก็อย่ารัดหรือยึดบริเวณที่อักเสบแน่นเกินไปจนขยับไม่ได้ เพราะเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อรอบๆ ต้องขยับได้บ้าง เลือดถึงจะไหลเวียนไปเลี้ยงสม่ำเสมอและหายดี
  • นอกจากใส่ที่รัดแล้ว ให้ลองหาเฟอร์นิเจอร์ในห้องทำงานแบบ ergonomics ที่ปรับให้เหมาะสมตามสรีระและการใช้งานของคุณดู ถ้าจำเป็นก็ต้องปรับหมดทั้งเก้าอี้ คีย์บอร์ด และระดับโต๊ะหรือหน้าจอคอม ข้อกับเอ็นของคุณจะได้ไม่รับภาระหนักอย่างที่เคย

ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ก่อน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื้อรังและบานปลายในอนาคต

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี