Posted on Leave a comment

สิ่งที่ควรรทราบเกี่ยวกับ “หมอนรองข้อเข่า” บาดเจ็บ

หมอนรองข้อเข่า

ข้อเข่าบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นมากกว่าผู้สูงอายุ โครงสร้างในข้อเข่าที่มักมีปัญหาบ่อยๆ ได้แก่ เอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament) เอ็นไขว้หลัง (Anterior cruciate ligament) และหมอนรองข้อเข่า ส่วนใหญ่มักมีสามาเหตุมาจากการเล่นกีฬาที่ต้องอาศัยความเร็ว มีการชน หรือกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล รักบี้ ซึ่งทำให้เกิดแรงเฉือน (Shear force) ต่อข้อเข่าการทำความเข้าใจสาเหตุและอาการ จะช่วยให้ช่วยสังเกตตัวเองและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องได้ทันท่วงที

หมอนรองข้อเข่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?

หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับแรงกระแทกของร่างกาย ขณะยืน เดิน วิ่ง หรือกิจกรรมที่มีน้ำหนักกดลงบนข้อเข่า วางตัวอยู่ระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง เป็นโครงสร้างพิเศษเพราะมีสองชิ้นต่อข่อเข่าหนึ่งข้าง โดยหมอนรองข้อเข่าด้านใน (Medial Meniscus) เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนหมอนรองข้อเข่าด้านนอก (Lateral meniscus) เป็นรูปวงกลมเกือบสมบูรณ์ หมอนรองข้อเข่าทั้งสองนี้มีเลือดมาเลี้ยงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน ไล่จากขอบด้านนอกเข้ามาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีอาการบาดเจ็บในบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะเย็บเพื่อซ่อมแซม และหากบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเป็นบริเวณที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะตัดส่วนนั้นออกเลย

โดยหน้าที่หลักของหมอนรองกระดูกข้อเข่ามีด้วยกัน 3 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง (Shock absorber)
  2. เพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า (Load transferring)
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนของข้อเข่าให้ราบรื่น (Join lubrication)

สาเหตุหลักของการบาดเจ็บมักเกิดจากการบิดหมุน งอเข่า และมีน้ำหนักกดลงมาในเวลาเดียวกัน มักพบว่าสัมพันธ์กับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา โดยในประชากร 1,000 คนสามารถมีผู้ที่หมอนรองเข่าบาดเจ็บได้ถึง 6 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนที่สูงมาก หากมีอาการบาดเจ็บและฝืนใช้งานเข่าซ้ำๆ แรงกระแทกและการเสียดสีกันของกระดูกทั้งสองชิ้นจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือพัฒนาไปเป็นข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ (Osteoarthritis knee) ได้

หมอนรองข้อเข่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?

อาการและอาการแสดงของหมอนรองกระดูกข้อเข่าบาดเจ็บ

อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บมีความหลากหลาย ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ จึงขอยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้

  1. มีอาการปวดและบวมเพียงเล็กน้อยหลังจากประสบอุบัติเหตุ 1-2 วัน ไม่แสดงอาการปวดเฉียบพลัน หรือมีเสียงดังลั่นในข้อเข่าทันทีขณะเกิดอุบัติเหตุเหมือนเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่า (Anterior cruciate ligament) ฉีก นอกจากนี้มักจะทุเลาได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์แม้จะไม่ได้รับการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่ทราบว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ไม่ได้ไปรับการรักษาอย่างถูกต้อง จนนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ข้อสังเกตสำคัญคือเมื่องอหรือหมุนเข่าอาการจะดีขึ้น แต่เมื่องอและหมุนเข่าพร้อมกันจะมีอาการปวดมากขึ้น ในผู้ป่วยบางราย การงอและหมุนเข่าร่วมกับการลงน้ำหนักจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมาก
  2. ข้อเข่าฝืด รู้สึกติดขัดเวลาเคลื่อนไหว เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่ามักติดอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง (True locking) ร่วมกับมีอาการปวดรุนแรง เมื่อขยับไปมาจะสามารถขยับได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว อาการปวดลดลง และกลับมาติดในท่าใดท่าหนึ่งอีก สลับกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากหมอนรองข้อเข่ามีการฉีกขาดรุนแรงและเข้าไปขวางในข้อเข่า เมื่อขยับไปมาจึงสามารถเข้าที่และกลับเข้าไปขวางในข้อเข่าได้ใหม่

การรักษาเป็นอย่างไร

เบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ตลอดจนใช้การเอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะมีความแม่นยำถึง 80 – 90 % ส่วนการวางแนวทางการรักษาของแพทย์นั้นอยู่ภายใต้ปัจจัยที่หลากหลาย หากอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือรอยฉีกยาวไม่เกิน 1 เซ็นติเมตรและอยู่ในส่วนที่มีเลือดหล่อเลี้ยงซึ่งสามารถหายเองได้ แพทย์จะแนะนำให้พักการเคลื่อนไหว ควบคู่ไปกับการประคบเย็น การรับประทานยา และกายภาพบำบัด แต่หากพบว่าเกิดการบาดเจ็บในระดับรุนแรง การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกในการรักษาอาการดังกล่าว โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้อง เทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคใหม่ที่ลดขั้นตอนและร่นระยะเวลาการรักษาได้มาก สามารถทำได้ทั้งเย็บซ่อมแซมส่วนที่ฉีกขาด หรือตัดเล็มส่วนที่เสียหายออก

หรืออธิบายแบบง่ายๆ การรักษาหมอนรองข้อเข่าฉีกในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

  1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด มักจะใช้เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง และการฉีกขาดขอหมอนรองเข่าที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองเข่า (Degenerative tear) เอง มักจะมุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าให้แข็งแรงด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นพยุงข้อเข่า และรักษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยไว้
  2. การรักษาแบบผ่าตัด สามารถทำได้ 2 แบบดังที่กล่าวไปแล้วคือ ตัดส่วนที่ฉีกออก หรือเย็บซ่อมแซมส่วนที่ฉีก ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการฉีกขาด ในปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดพัฒนาไปมาก สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้ ทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อย ผลการผ่าตัดดี และระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นลงมาก เหลือเพียง 1-2 วันเท่านั้น

ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็กเจ็บน้อย

ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องนั้น อาจใช้เวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วัน โดยหลังจากนั้นอาจะใช้ไม้เท้าพยุงเดินต่อเนื่องไปอีก 1 – 2 สัปดาห์ ซึ่งหากประกอบอาชีพที่ไม่ต้องเดินหรือเคลื่อนไหวมากนัก คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้ทันที พร้อม ๆ กับการทำกายภาพบำบัดตามท่วงท่าที่แพทย์แนะนำซึ่งคนไข้นั้นสามารถทำได้ที่บ้านด้วยตัวเอง

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี