Posted on Leave a comment

“ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า” อาการที่ควรรู้ และหายเองได้หรือไม่?

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า” เป็นอาการ เส้นเอ็นหลังเข่าอักเสบ อาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนรักสุขภาพ​ โดยเฉพาะคนที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายเป็นประจำ ก็มักจะเกิดอาการเอ็นอักเสบกันบ่อย ๆ หรือในกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือทำงานหนัก ๆ กลุ่มนี้ก็เสี่ยงกับอาการเส้นเอ็นอักเสบให้ทรมานร่างกายเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้เราเข้าใจกับอาการเส้นเอ็นอักเสบมากขึ้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ จะได้รู้วิธีป้องกันและรักษาเส้นเอ็นอักเสบได้อย่างตรงจุด

ปวดเส้นเอ็นหลังหัวเข่า เกิดจากอะไร

เส้นเอ็นอักเสบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Tendinitis เส้นเอ็นอักเสบคืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นในส่วนของเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น มักจะพบผิวเอ็นขรุขระ เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบและหนาตัว ทำให้แรงเสียดทานมีมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บปวดบริเวณที่เอ็นเสียดสีกับกระดูกหรือปลอกหุ้มเอ็น รวมไปถึงบริเวณที่เอ็นเกาะกระดูก ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการบาดเจ็บ บวม แดง ร้อน อาจมีก้อนนูน ๆ ตามเส้นเอ็น รู้สึกปวดตื้อ ๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้น ๆ มีการเคลื่อนไหวร่างกายสะดุด และอาจพบอาการข้อติดได้ในบางราย

เส้นเอ็นหลังหัวเข่า หรือเอ็นไขว้หลังข้อเข่าบาดเจ็บ ฟื้นตัวเองได้แต่ต้องใช้เวลา

ภาวะเอ็นอักเสบที่เกิดจากการใช้งานร่างกายมากเกินไป มักจะรักษาด้วยการพัก คือหยุดพักการใช้งานบริเวณที่เจ็บปวดนั้น ๆ เพื่อป้องกันการอักเสบมากขึ้น รวมทั้งอาจจะบรรเทาอาการปวดด้วยการประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้ยาทาบรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ ร่วมด้วย และหากมีอาการปวดมาก แนะนำให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดยึดพันให้พอแน่น หรือวางสำลีกดลงตรงที่ปวดแล้วพันแผลเพื่อล็อกไม่ให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้น ๆ เคลื่อนไหวเยอะก็ได้ 

อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ควรพบแพทย์ เพราะอาการเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังอาจพบหินปูนหรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็นได้ เคสแบบนี้จำเป็นต้องเข้ารับการเอกซเรย์และวิธีรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กายภาพบำบัด ฉีดยาสเตียรอยด์ แต่หากเป็นกรณีเส้นเอ็นฉีกขาดแล้ว แพทย์จะต้องใช้วิธีผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น

เส้นเอ็นหลังเข่าอักเสบ

ความแข็งแรงของข้อเข่า หลัก ๆ จะมาจากเส้นเอ็นไขว้หน้าและหลัง เส้นเอ็นข้างเข่าทั้งด้านในและด้านนอก และกล้ามเนื้อรอบเข่า การบาดเจ็บของเส้นเอ็นไขว้หลังอย่างเดียวนั้นค่อนข้างพบได้น้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างอื่น ๆ 

ในรายที่บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา แนวทางการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจะพิจารณาทำในรายที่ข้อเข่าไม่หลวมซึ่งต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ หากเลือกในแนวทางนี้ วิธีการดูแลมีดังนี้ครับ

  1. การบาดเจ็บในช่วงแรกควรที่จะต้องพักการใช้งานของขาข้างนั้น อาจจะใช้ผ้ายืดพันรอบเข่าเพื่อลดอาการบวม ร่วมกับการยกขาสูงและใช้น้ำแข็งประคบใน 24 ชั่วโมงแรก และอาจจะทานยาลดอาการปวด อาการอักเสบ
  2. ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์แรก อาจจะต้องใช้เหล็กประคองข้อเข่า (Hinge knee brace) เพื่อไม่ให้มีการขยับมากร่วมกับการใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดินเพื่อลดแรงที่มากระทำต่อข้อเข่า
  3. พอพ้นช่วงที่มีอาการปวดมากมาสักระยะหนึ่งประกอบเส้นเอ็นเริ่มที่จะติดแล้วใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็เป็นช่วงเวลาที่จะเริ่มทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงเพื่อช่วยพยุงและรับแรงต่าง ๆ โดยให้เน้นที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps muscle) โดยอาจจะเริ่มจากการเกร็งกล้ามเนื้อโดยยังไม่ต้องยกขาลอย แล้วค่อยเพิ่มมาเป็นการยกขาให้เข่าเหยียดตรงค้างไว้ แล้วอาจจะลองเพิ่มนำ้หนักไว้ที่ปลายเท้าต่อไป โดยรวมแล้วระยะเวลาในการกายภาพบำบัดจะประมาณอีก 2 เดือน

เส้นเอ็นอักเสบ ป้องกันได้ไหม

ในกรณีที่ไม่ได้มีอาการเส้นเอ็นอักเสบจากโรคข้อหรือโรคประจำตัวใด ๆ แต่เกิดจากการใช้งานร่างกายหนักเกินไป เราก็สามารถป้องกันอาการเอ็นอักเสบได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อ-ข้อต่อที่ไม่ถูกต้อง เช่น ออกกำลังกายไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะการออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายไม่พร้อม คือร่างกายยังแข็งแกร่งไม่พอ กล้ามเนื้อและข้อต่อยังไม่พร้อมกับการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือการไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายรับไม่ไหว กระทั่งเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบขึ้นมา

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี