Posted on Leave a comment

“วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า” ที่คุณก็ทำได้

วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า

วิธีการรักษาอาการปวดหัวเข่า” ทาง arukou ได้รวบรวมเทคนิคที่คุณเองก็สามารถทำได้ ซึ่งมันสามารถทำได้ง่ายมากๆ อีกทั้งยังมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ อีกด้วย โดยมีวิธีทั้ง 12 วิธีดังนี้

1. ลดน้ำหนัก
เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง จะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงและอาการปวดก็จะลดลงด้วย

2. ท่านั่ง
ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น

3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก
หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่านควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี

4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า
เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น

5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว

6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ
ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ

รักษาปวดเข่ามาก

7. การยืน
ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้

8. การเดิน
ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดกระชับพอดี

9. ใช้ไม้เท้า
โดยเฉพาะ ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้า ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด

10. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น

11. การออกกำลังกายวิธีอื่น
ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น ไม่ ควร ออกกำลังกายที่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็ว ๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาดได้และมีโอกาส เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้

12. ถ้ามีอาการปวด
ให้พักการใช้ข้อเข่า และ ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน หรือ ใช้ยานวดร่วมด้วยก็ได้

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้
จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ เพื่อลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร จึงถือว่าแนวทางรักษาข้างต้นเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น และ ยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ บรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10 -15 ปี เป็นต้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“วิธีแก้ปวดเข่า” ที่คุณเองก็ทำได้

วิธีแก้ปวดเข่า

สำหรับใครที่ญาติผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยาย คุณปู่คุณย่า มีอาการ ปวดเข่า ปวดขา ปวดตามข้อ รักษายังไงก็รักษาไปหาย ไปหาหมอ หมอก็ให้ยามาทาน พอไม่ทานก็รู้สึกปวดเหมือนเดิม จะลุกจะนั่งจะเดินจะเหิน ก็ต้องทำอย่างช้าๆระมัดระวัง ไม่เหมือนสมัยยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ที่จะลุกจะนั่งได้ตามใจ เพราะร่างกายของกลุ่มผู้สูงอายุเกิดการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ จึงทำให้ปวดหัวเข่า ปวดขา วันนี้ทาง arukou จึงมีวิธีการรักษาอาการปวดเข่า ปวดขา มาบอกทุกท่าน

สัญญาณอันตรายของโรคข้อเข่า

  1. มีการบวมและร้อนของข้อเข่าหรือบริเวณรอบ ๆ ข้อ
  2. มีกล้ามเนื้อต้นขาลีบ มีอาการชาหรืออ่อนแรงของขา
  3. มีการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนังบริเวณขา หรือ เท้า เมื่อเวลาเดินนาน ๆ
  4. มีอาการข้อติดหรือข้อขัด เคลื่อนไหวข้อไม่เต็มที่ อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  5. มีอาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
  6. มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
  7. อายุมากขึ้น ทำให้ระบบกล้ามเนื้อของร่างกายเสื่อมลงขาดความยืดหยุ่น เอ็นหลวม มวลกระดูกลดลง
  8. การยกของหนัก
  9. นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ เป็นเวลานาน
  10. เดินขึ้นลงบันไดบ่อย
  11. น้ำหนักมากเกินไป จนทำให้ส่วนช่วงล่าง ตั้งแต่ก้น จนถึงเท้า ของเรารับน้ำหนักไม่ไหว
  12. ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ
  13. เล่นกีฬาหักโหม
  14. หกล้มกระแทกบ่อยๆ
  15. อาหารการกิน
วิธีแนะนำในการแก้ปวดเข่า

วิธีแนะนำในการแก้ปวดเข่า

  1. ลดน้ำหนัก เพราะเมื่อ เดิน จะมีน้ำหนักลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้า วิ่ง น้ำหนักจะลงที่เข่าเพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว (การถีบจักรยาน เข่าจะรับน้ำหนักเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับน้ำหนักน้อยลง ทำให้เข่าเสื่อมช้าลงด้วย
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
  3. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มี รู ตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่านควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน ไม่ควรนั่งยอง ๆ เพราะผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาได้ไม่ดี
  4. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมาก ข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
  6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นก็ให้ขยับเปลี่ยนท่า หรือ เหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  7. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ไม่ควร ยืนเอียงลงน้ำหนักตัวบนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะจะทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่าเกิดอาการปวดได้
  8. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ไม่ควร เดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมาก หรือ ทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และ อาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
  9. ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย ( สูงไม่เกิน 1 นิ้ว ) หรือ ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และ มีขนาดที่พอเหมาะเวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป
  10. ควรใช้ไม้เท้า เมื่อจะยืนหรือเดิน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการปวดมากหรือมีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยลดน้ำหนักตัวที่ลงบนข้อเข่า และ ช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม วิธีถือไม้เท้าในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือในข้างที่ถนัด
  11. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้น
  12. วิธีออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายแบบที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนักที่เข่า มากนัก เช่น เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นลีลาศ เต้นแอโรบิก เป็นต้น

สูตรสมุนไพรแก้ปวดเข่าได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

ใช้สมุนไพรพอก ทา ประคบ ดื่ม เช่นการดื่มชาเขียว 4 แก้วต่อวัน จะสามารถลดความเสี่ยงโรคข้ออักเสบได้ , การดื่มชาคาโมมายล์ช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อบริเวณข้อต่อ , การพอกด้วยขิงจะช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดข้อได้ , การประคบเย็น จะลดอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน และอาการบวมได้ , การประคบร้อน จะช่วยลดอาการปวดเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ความร้อนจะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อได้

สูตรการทำสมุนไพรพอกด้วยขิง

1. เลือกเหง้าขิงสดมีความหนาประมาณ 3 นิ้ว 1 เหง้า
2. ปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วนำไปบดให้ละเอียด
3. นำขิงที่บดละเอียดดีแล้วไปผสมกับน้ำมันมะกอก คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. จากนั้นนำไปพอกบริเวณที่รู้สึกปวด ห่อไว้ด้วยผ้าพันเคล็ด (ace bandage) หรือผ้ากอซทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างน้ำออก
5. ทำได้บ่อยครั้งจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“รักษาอาการปวดเข่า” ด้วยวิธีต่างๆ ที่ควรรู้

รักษาอาการปวดเข่า

การเกิดโรคเกี่ยวกับข้อเข่าต่างๆ เป็นกระบวนการเสื่อมของกระดูกอ่อนตรงบริเวณผิวข้อ ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อเข่า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากที่ข้อเข่า ส่วนใหญ่มักปวดมากเวลาเดิน เดินขึ้นบันได ถ้าเป็นมากจะมีการโก่งของข้อเข่าร่วมด้วย การป้องกันคือการชะลอไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นซึ่งก็คือการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการที่งอเข่ามากๆนั้นจะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อกระดูกอ่อนที่ผิวข้อ และในกรณีที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้ว กระดูกที่งอกอยู่รอบๆข้อจะไปกดเบียดเส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆข้อทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักจะไปเพิ่มแรงกระทำต่อบริเวณข้อเข่า ในวัยกลางคนที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปที่ยังออกกำลังหนักๆเช่น การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกเช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่าค่อนข้างสูง และการวิ่งหรือเล่นกีฬาหนักๆ ก็เพิ่มแรงกระทำที่ข้อเข่าซึ่งจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ไวขึ้น ดังนั้นควรเปลี่ยนประเภทของกีฬาเป็นประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น  cross trainer ซึ่งเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ซึ่งดีกว่าการใช่ลู่วิ่ง
  3. การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าขาจะช่วยพยุงข้อเข่าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น 
  4. ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยๆ ยังไม่มีการผิดรูปมากนัก การใช้ยากลุ่ม glucosamine ก็จะมีประโยชน์และชะลอการเสื่อมของข้อได้ในระยะยาว และยากลุ่มนี้ก็ไม่มีผลเสียและไม่มีอันตรายต่อร่างกาย

โรคข้อเข่าต่างๆ เป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี

  1. การรักษาทั่วไป
  2. การรักษาโดยการให้ยารับประทาน
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาอาการปวดเข่าทั่วไป

  1. ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเข่าเสื่อม เช่นการยกของหนัก การนั่งพับเพียบ การนั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ เพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับลเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรนั่งเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
  2. การลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดอาการปวดเข่า และช่วยชะลอเข่าเส่อมได้
  3. การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารทำได้โดยการยืน มือเกาะกับพนักเก้าอี้ ย่อตัวลงให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนท่าตรง ทำซ้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำโดยนั่งเก้าอี้ เหยียดเท้าข้างหนึ่งและเกร็งไว้ 10 วินาที แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วๆ หรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง
  4. เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะรองด้วยพื้นกันกระแทก
  5. ให้พักเข่าหากมีอาการปวดเข่า
  6. ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุก อย่าหยุดใช้งานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  7. เวลาขึ้นบันไดให้ใช้ข้อที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อน เวลาลงให้ก้าวเท้าข้างที่ปวดลงก่อน มือจับราวบันไดทุกครั้ง
  8. ประคบอุ่นเวลาปวด
  9. ทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อ และข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูป รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ

การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลัง หรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า

  1. นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ข้อเท้าทั้ง2 ข้าง ยกขึ้นลงให้ทำวันละ 1-3 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที
  2. นั่งพักบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งบนพื้น อีกข้างหนึ่งพักบนเก้าอี้ กดเท้าที่พักบนเก้าอี้นาน 5-10 วินาที แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำ 10 ครั้งให้ทำวันละ 3 ครั้ง
  3. นอนหงาย หรือนั่ง หาหมอนรองข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนรอง ให้เข่าติดพื้นให้นับ 5-10 วินาที ทำวันละ 3 เวลาทำสลับข้าง
  4. นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้ฝ่าเท้าข้างหนึ่งแล้วดึงขึ้นในขณะที่เท้าถีบลง ให้เท้าสูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงไว้ 5-10 วินาทีพัก 1 นาทีทำซ้ำ 3 เวลา
  5. ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมา และเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้า ให้นับ 5-10 วินาที ทำข้างละ 10 ครั้งทำวันละ 3 เวลา หากแข็งแรงให้ถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า
  6. ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงจากพื้น 1 ฟุตเกร็งกล้ามเนื้อไว้ นับ 1-10 สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา
  7. ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วยืนขึ้นทำ 5-10 ครั้ง วันละ 3 เวลา

รักษาอาการปวดเข่าโดยการใช้ยา

หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดเข่า จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้

  1. ยาแก้ปวด เป็นยาที่ลดอาการปวด แต่ไม่ได้แก้อักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยาพารา
  2. ยาแก้อักเสบ steroid ใช้กันมากทั้งชนิดฉีดและรับประทาน เนื่องจากมีผลข้างเคียงจึงไม่แนะนำให้ใช้
  3. ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้นแต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร
  4. ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้า ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
  5. การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม

เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงมีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

รักษาอาการปวดเข่าด้วยการการผ่าตัด

ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลดี โรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดก็มีได้หลายวิธีดังนี้

  1. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเอาสิ่งสกปรที่เกิดจากการสึกออกมาเ
  2. การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออก ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
  3. การผ่าตัดใส่ข้อเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“โรคปวดเข่า” อย่าละเลยควรรีบแก้

โรคปวดเข่า

โรคปวดเข่าพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป และในคนสูงอายุ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยเหตุที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลา รวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว การชะลอความเสื่อมเป็น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและความสามารถปฏิบัติได้ หากได้รับการแนะนำในเรื่องการใช้เข่าให้ถูกต้อง การบำรุงรักษาสุขภาพ และการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าจะช่วยขจัดปัญหาอาการปวดเข่าเรื้อรัง และการติดยาของผู้ป่วยได้

ในปัจจุบันนี้ โรคปวดเข่า โรคข้อสะบ้าเสื่อม โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคทั้งหลายที่เกี่ยวกับข้อนี้ เป็นโรคที่คุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ รองลงมาจากเรื่องของปวดหลัง ของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่ ศูนย์โรคปวดหลัง รพ.ลานนา เราจึงเพิ่มศักยภาพฯ รับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม,ข้อสะโพกเทียม,ผ่าตัดเข่าผ่านกล้อง เข้ามาเสริมทีม ขยายออกมาเป็นศูนย์โรคปวดเข่า เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเข่าโดยเฉพาะ ขณะนี้ก็มีผู้เข้ามารับบริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก ผ่าตัดเข่าผ่านกล้องแบบแผลเล็กกับเราแล้วหลายราย ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ

ส่วนสาเหตุของการเกิด โรคปวดเข่า นั้นมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะด้วยอายุ ที่ทำให้เสื่อมตามวัย เช่นผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน กระดูกพรุนทำให้ทรุด หรือการใช้งานที่ผิดวิธี ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เช่นการนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า จากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออาจเกิดข้อถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบติดแข็ง รวมถึงข้อเสื่อมที่เกิดหลังจากอุบัติเหตุ เส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้อที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อ

อาการโรคปวดเข่า

สาเหตุของโรคปวดเข่า

  1. น้ำหนักตัวมาก
  2. อายุเกิน 40 ปี
  3. การยืน หรือนั่งงอเข่านาน ๆ
  4. การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอก หรือโค้งเข้าใน
  5. จากสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรง เช่น ได้รับบาดเจ็บ
  6. ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น ขาดอาหาร หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ
  7. โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ฯลฯ

อาการของโรคปวดเข่า

  1. ปวดรอบเข่า นั่งแล้วลุกลำบาก หรือปวดมากเวลาเดิน
  2. บวม และร้อนรอบเข่า
  3. เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ งอ และเหยียดไม่สุด เวลาเคลื่อนไหวข้อจะมีเสียงดัง
  4. สภาพเข่าโก่ง หรือโค้งผิดรูปมากขึ้น

        อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะแรกมักจะเป็นๆ หายๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้น และปวดตลอดเวลา การวินิจฉัยโรคข้อเข่านั้น ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติ และการตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ เพราะในหัวเข่าของคนสูงอายุทั่วไปเมื่อถ่ายเอ็กซเรย์ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเข่าแคบลง และมีหินปูนจับอยู่ตามขอบของข้อได้โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด  

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

ปวดเข่ารักษา ก่อนดีกว่าปล่อยไว้เรื้อรัง

ปวดเข่ารักษา

ในบรรดาสาเหตุของข้ออักเสบนับร้อยนั้น สาเหตุที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด เห็นจะเป็นข้ออักเสบเนื่องจากอุบัติเหตุ ข้ออักเสบจากภาวะข้อเสื่อมข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้ออักเสบจากโรคเกาต์ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การติดเชื้อ โรคภูมิแพ้บางชนิด โรคผิวหนังและโรคอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีการอักเสบบวม ปวดเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของภาวะข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนประสิทธิภาพการใช้งานของข้อลงอย่างน่าเสียดาย

ต้นตอของอาการปวดเข่า

เมื่อมีอาการปวดบวมบริเวณข้อการสรุปเอาเองว่ามีสาเหตุมาจาก วัย หรือ “สงสัยว่าข้อจะเสื่อม” อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริง อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากข้อเสื่อมนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุของอาการปวดข้อเท่านั้นที่สำคัญสาเหตุส่วนมากไม่เกี่ยวข้องกับวัยหรืออายุเลย

“อาการปวดข้อโดยมากเป็นผลมาจากภาวะการอักเสบของข้อ” คำว่าข้ออักเสบเป็นคำที่ค่อนข้างกว้าง และเมื่อเรากล่าวถึงข้อ เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระดูกสองหรือสามชิ้น แต่หมายความถึง ส่วนประกอบของข้อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน หมอนรองข้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณข้อ การจะวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบจึงไม่ง่ายนัก ประกอบกับสาเหตุของข้ออักเสบที่เป็นไปได้นั้นมีอยู่มากกว่าร้อยชนิด”

รักษาปวดเข่า

รู้ก่อน รักษาก่อนดีที่สุด

“การใส่ใจดูแลข้อเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นมาเป็นเรื่องสำคัญมากต่อสุขภาวะของข้อในระยะยาว” นพ. วศินกล่าว “เมื่อมีการอักเสบของข้อและมีอาการปวดสิ่งที่หลายคนมักทำก็คือรอดูอาการหรือรอให้หายไปเอง บางรายรับประทานยาบรรเทาปวดซึ่งช่วยให้ทุเลาลงได้จึงเลื่อนการพบแพทย์ออกไป ตรงนี้สำคัญเพราะเท่ากับว่าต้นตอของปัญหาไม่เคยได้รับการแก้ไขเลย”

ยกตัวอย่างเรื่องข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักมาก ภาวะข้อเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายโดยอาจมีการลอกหลุด หรือบางลงจนมีอาการปวดหรือข้อไม่อาจเคลื่อนไหวได้อย่างลื่นไหล คล่องแคล่ว และเต็มองศาการเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม

“เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการข้อติด ปวดบวม พักแล้วก็ไม่หาย สิ่งที่แรกที่แพทย์จะทำคือหาสาเหตุที่แท้จริงโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรืออื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้การรักษาตรงตามขั้นตอนและสาเหตุอย่างแท้จริงอย่าง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะข้อเสื่อมและมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ป่วยก็จะได้รับคำแนะนำเพื่อช่วยลดน้ำหนักลงซึ่งก็จะช่วยในการบรรเทาอาการปวดลงได้”

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อน แพทย์ก็จะช่วยเหลือและแนะนำวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างเช่นการใช้ยาบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบไปพร้อม ๆ กับการแก้ไขไปถึงต้นเหตุซึ่งอาจเป็นโรคเรื้อรังหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อเนื่องมายังข้อการฉีดยา การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู การใช้อุปกรณ์ประคองข้อการถนอมการใช้ข้อ การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น แต่หากอาการของผู้ป่วยหนักหนาสาหัสจริง ๆ แพทย์ก็จะเลือกใช้การผ่าตัด

แนวทางการรักษาอาการปวดเข่า

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมีผลอย่างยิ่งต่อการรักษาอาการปวดเข่าจากข้อเข้าเสื่อม พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวันมี ดังนี้

  •  การบริหารข้อเข่า การบริหารข้อเข่าที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และสามารถทรงตัวได้ดีขึ้นเวลายืนหรือเดิน           
  • การควบคุมน้ำหนักตัว ในขณะที่เดินจะมีน้ำหนักกดลงที่ข้อเข่าแต่ละข้าง ประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว เมื่อวิ่งน้ำหนักตัวจะกดลงที่ข้อเข่าเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐานจะทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของข้อเข้าจะช้าลงไปด้วยเมื่ออาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัด

พักการใช้ข้อเข่า ในระยะแรก ควรพักข้อเข่าไว้ก่อนอย่าเพิ่งลงน้ำหนักมากในข้อเข่าข้างที่ปวดการประคบความเย็น ในระยะที่มีการอักเสบแบบเฉียบพลันประมาณ ในช่วง 1-2 วันแรก ควรประคบด้วยความเย็นเพื่อลดอาการอักเสบ และอาการบวม โดยใช้แผ่นประคบเย็น (Cold pack) หรือใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ พับเป็นแผ่นแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นไว้เมื่อนำมาใช้ให้ห่อด้วยผ้าขนหนู ที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ นำมาประคบข้อเข่าประมาณ 20 นาทีวันละ 2 ครั้งการประคบความร้อน เมื่อพ้นระยะการอักเสบแบบเฉียบพลันไปแล้ว ประมาณวันที่ 3 เป็นต้นไป โดยการใช้การต้มน้ำร้อนใส่ในกระเป๋าน้ำร้อน หรือขวดแบนนำมาห่อด้วยผ้าขนหนูบิดหมาด ๆ ห่อ 2-3 ชั้น นำมาประคบรอบ ๆ เข่า ประมาณ 20 นาที วันละ 2-3 ครั้งการใช้ อุปกรณ์พยุงข้อเข่า ในช่วงที่มีอาการปวด บวม และอักเสบมาก อาจใช้อุปกรณ์พยุงข้อเข่า (Knee support) หรือ ผ้ายืด (Bandage) ช่วยรัดข้อเข่าให้กระชับ ในขณะนั่ง ยืน หรือเดิน นานๆ เพื่อช่วยลดการเสียดสีและการเคลื่นไหวที่มากเกินไปของข้อเข่าได้แต่ไม่ควร ใส่ตลอดทั้งวัน ควรถอดออกบ้างเป็นระยะๆ

รักษาด้วยยา

            ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamolยาแก้อักเสบ steroid เมื่อสมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความ นิยม ลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อนยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยมการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อย ทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก

การผ่าตัด 

การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะผ่าเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจากการสึกออกมาการผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบัน นิยมลดลงการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (TKR) คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายจากอาการปวด ผู้ป่วยสามารถใช้ ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี


Posted on Leave a comment

“อาการปวดเข่า” ต่างๆที่คุณต้องเจอ

อาการปวดเข่า

อาการปวดเข่า“เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิต ประจำวันได้ตามปกติ โดยปกติข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลารวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยองๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว
ผู้ ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเข่าเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งมาที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่อาการปวดเข่าชนิดเฉียบพลัน เกิดขึ้นทันทีทันใดมักเกิดจากการกระทบกระแทก บาดเจ็บ อุบัติเหตุ เช่น เอ็นฉีกขาดกระดูกอ่อนฉีกขาดส่วนในรายที่เกิดอาการปวกเข่าชนิดเรื้อรังมัก เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาจเกิดจากโรคข้ออักเสบอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

อาการปวดเข่าที่อาจรู้สึกได้มีกี่แบบ ?

นี่เป็นตัวอย่างโรคที่พบได้บ่อยที่ทำให้มีอาการปวด

ปวดแบบโรคข้อเข่าเสื่อม  

เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนที่ทำให้ข้อเข่าสามารถขยับได้อย่างสะดวกมีการแตกออก หลังจากนั้นคุณอาจเริ่มมีอาการปวดเข่าหลังจากการขยับร่างกาย ต่อมาจะเริ่มรู้สึกว่าปวดบ่อยขึ้นและอาจมีอาการข้อยึดหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือหลังจากการนั่งนาน ๆ อาจมีอาการบวม หรือมีเสียงกร๊อบแกร๊บเวลาที่คุณเดิน

ปวดแบบเข่านั่งวิ่ง

หรือที่รู้จักในชื่อของ ‘เข่านักวิ่ง’ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการปวดเข่า โดยอาการปวดมักเกิดขึ้นบริเวณด้านหลังหรือใต้ข้อเข่าและอาจรู้สึกว่าเป็นทั่วเข่าได้ คุณอาจรู้สึกปวดและข้อยึดหลังจากนั่งนานๆ อาการปวดนี้มักจะแย่ลงหลังจากการเดินขึ้นลงบันไดหรือหลังจากการวิ่ง

ปวดแบบหมอนรองข้อเข่าขาด

หมอนรองข้อเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ทำหน้าที่ช่วยรองรับน้ำหนัก หมอนรองข้อเหล่านี้อาจมีการฉีกขาดได้เนื่องจากการบาดเจ็บ อาการปวดอาจเป็นได้ทั้งน้อยและมาก และอาจมีอาการแย่ขึ้นเมื่อยืดเข่า และอาจมีอาการเข่าติดได้

รูปแบบของอาการปวดเข่า

ปวดแบบการบาดเจ็บของเอ็นยึดข้อ

ในเข่ามีเอ็นยึดข้ออยู่ทั้งหมด 4 เส้น เอ็นเหล่านี้เป็นเนื้อเยื่อที่ความแข็งแรงทำหน้าที่ยึดกระดูกเข้าด้วยกัน โดยวางตัวอยู่ด้านใน ด้านนอก และภายในข้อเข่า หากมีการตึงหรือทำให้เอ็นเหล่านี้ฉีกขาดจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา และคุณอาจจะได้ยินเสียงตอนขาด การบาดเจ็บเหล่านี้อาจไม่ทำให้ปวด ขึ้นอยู่กับว่าเกิดกับเส้นเอ็นเส้นไหน อาการอื่นที่อาจเป็นได้คือรู้สึกขาไม่ค่อยมั่นคงเวลาลงน้ำหนัก

อาการปวดเข่ามีได้หลายประเภทและเกิดได้ในหลายภาวะ หากคุณมีอาการปวดเข่าควรปรึกษาแพทย์และอธิบายอาการให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องและเริ่มต้นการรักษาที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่า

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

ปวดเข่าสาเหตุ ที่คุณควรรู้

ปวดเข่าสาเหตุ

เช้าวันนี้ อาจมีใครหลายคนที่ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกสดชื่นจากการได้พักผ่อน จนกระทั่งนาทีที่จะลุกจากเตียงนั่นเอง ความรู้สึกปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อสะโพกก็แล่นเข้ามาแบบเฉียบพลัน

เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยปกติข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกือบตลอดเวลารวมทั้งอุปนิสัยของคนไทยที่ใช้เข่าในท่าพับงอ เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งยองๆ จึงเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็ว

ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเข่าเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งมาที่ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่อาการปวดเข่าชนิดเฉียบพลัน เกิดขึ้นทันทีทันใดมักเกิดจากการกระทบกระแทก บาดเจ็บ อุบัติเหตุ เช่น เอ็นฉีกขาดกระดูกอ่อนฉีกขาดส่วนในรายที่เกิดอาการปวกเข่าชนิดเรื้อรังมักเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาจเกิดจากโรคข้ออักเสบอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

เมื่อรู้สึกปวดข้อ คนส่วนใหญ่มักบรรเทาความกังวลใจด้วยการให้เหตุผลกับตัวเองว่า “สงสัยเพราะเราอายุมากขึ้น เรื่องปวดข้อก็น่าจะเกิดขึ้นบ้างเป็นธรรมดา”จนเวลาผ่านไปเป็นปี ๆ อาการปวดข้อกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เมื่อมีอาการก็รับประทานยาบรรเทา กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วปวดจนทนไม่ไหวก็งดไปและเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่กับมัน

ต้นตอของการปวดเข่า

เมื่อมีอาการปวดบวมบริเวณข้อการสรุปเอาเองว่ามีสาเหตุมาจาก วัย หรือ “สงสัยว่าข้อจะเสื่อม” อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริง อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากข้อเสื่อมนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุของอาการปวดข้อเท่านั้นที่สำคัญสาเหตุส่วนมากไม่เกี่ยวข้องกับวัยหรืออายุเลย

“อาการปวดข้อโดยมากเป็นผลมาจากภาวะการอักเสบของข้อ” นพ. วศินอธิบาย “คำว่าข้ออักเสบเป็นคำที่ค่อนข้างกว้าง และเมื่อเรากล่าวถึงข้อ เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะกระดูกสองหรือสามชิ้น แต่หมายความถึง ส่วนประกอบของข้อทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน หมอนรองข้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณข้อ การจะวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ข้ออักเสบจึงไม่ง่ายนัก ประกอบกับสาเหตุของข้ออักเสบที่เป็นไปได้นั้นมีอยู่มากกว่าร้อยชนิด”


ในบรรดาสาเหตุของข้ออักเสบนับร้อยนั้น สาเหตุที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด เห็นจะเป็นข้ออักเสบเนื่องจากอุบัติเหตุ ข้ออักเสบจากภาวะข้อเสื่อมข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้ออักเสบจากโรคเกาต์ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การติดเชื้อ โรคภูมิแพ้บางชนิด โรคผิวหนังและโรคอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีการอักเสบบวม ปวดเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของภาวะข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนประสิทธิภาพการใช้งานของข้อลงอย่างน่าเสียดาย

ต้นตอการปวดเข่า

อาการปวดเข่าพบได้หลายรูปแบบ

นักกีฬาหลายประเภทมักจะมีปัญหาบาดเจ็บที่ข้อเข่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักฟุตบอลระดับซุปเปอร์สตาร์ทั้งหลายอย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าในกรณีเส้นเอ็นด้านข้างฉีกขาดส่วนใหญ่มักเกิดจากการกระทบกระแทกจากการแข่งกีฬาฟุตบอล บาสเก็ตบอลและจากการแข่งสกีเช่นเดียวกับกรณีการบาดเจ็บของเอ็นทางด้านหน้าที่มักเกิดขึ้นจากการสะดุดล้มจังหวะที่เปลี่ยนความเร็วกระทันหัน ส่วนเอ็นทางด้านหลังแตกต่างกันออกไป
เนื่องจากค่อนข้างแข็งแรงกว่าทางด้านหน้า การฉีกขาดอาจเกิดจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี


Posted on Leave a comment

สมุนไพรคลายกล้ามเนื้อเข่า ขา หาง่ายและสรรพคุณเยี่ยม

สมุนไพรคลายกล้ามเนื้อเข่า

ปวดเมื่อยทีไรมักจะนึกถึงยานวด ยากิน ลอง 11 สมุนไพร ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แถมยังหาทำได้ง่ายอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้นมักเกิดกับกลุ่มคนทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุซะเป็นส่วนใหญ่  และการรักษาที่ง่ายที่สุดคือ การกินยา แต่ถ้ามีอาการปวดเมื่อยบ่อยๆ แล้วกินยาทุกครั้งอาจทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีในร่างกายได้ ยิ่งการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ที่ต้องเจอกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทุกวันด้วยแล้ว เราขอสนับสนุนให้หันมาใช้สมุนไพรใกล้ตัวเพื่อเป็นทางเลือกใหม่กันดีกว่า ว่าแต่จะมีสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่รู้จักกันสักกี่ชนิด 

สาเหตุของอาการปวดเมื่อยเข่า ขา หรือกล้ามเนื้อทุกส่วน

สาเหตุของอาการปวดเมื่อยนั้น สามารถแยกสาเหตุของอาการปวดเมื่อย ได้ 5 สาเหตุ คือ สาเหตุจากกล้ามเนื้อ สาเหตุจากเส้นเอ็น สาเหตุจากเส้นประสาทกดทับ สาเหตุจากข้อกระดูกและสาเหตุจากเส้นเลือด ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุการปวดเมื่อยมี ดังนี้

  1. การปวดเมื่อยสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อของมนุษย์ทำงานหนักมาก ทำให้เกิดอาการล้า และกล้ามเนื้อเกิดการหด เกร็ง ในการปวดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ ที่มีอาการหนักก็จะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังศอกและเอว เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน การยกของหนักในท่ายกที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและเกิดการอักเสบ หรือฉีกได้
  2. การปวด การเมื่อย ที่มีสาเหตุมาจากเส้นเอ็น อาการปวดจากเส้นเอ็นจะเกิดกับส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบ่อย เช่น หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เป็นต้น สาเหตุของการปวดเอ็น คือ อาการอักเสบของเส้นเอ็น
  3. การปวด การเมื่อย จากสาเหตุของเส้นประสาทถูกกดทับ อาการปวดที่มาจากเส้นประสาทจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้าว อาการที่พบบ่อย คือ บริเวณกระดูกคอ สันหลัง นอกจากคอ หลังและเอวแล้ว หากเกิดอาการเส้นประสาททับหมอนรองกระดูก จะเกิดอาการปวดหลังมาก อาการปวดจะร้าวไปถึงขา ต้องพักผ่อนมากๆ
  4. การปวด สาเหตุจากข้อกระดูก ข้อกระดูกที่ทำให้ปวดมากที่สุด คือ ข้อเข้า เนื่องจากอาการข้อเข่ามีเสื่อมได้ง่าย เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีการรับแรงกระแทกมากที่สุด การปวดข้อ นั้นอาจะเกิดได้หลายสาเหตุนอกจากการเสื่อมของข้อกระดูก เช่น โรคเก๊าท์ การติดเชื้อที่ข้อกระดูก โรคอื่น เช่น โรครูมาตอยด์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมอาหาร ช่วยลดอาหารปวดข้อได้มาก
  5. การปวด การเมื่อย สาเหตุจากเส้นเลือด ความผิดปรกติของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง ทำให้ปวดตัว ลักษณะของการปวดจะแตกต่างกันออกไป ต้อเส้นเลือดตีบ ทำให้เลือดเดินทางไปกล้ามเนื้อลำบาก อาการปวด อาการเมื่อย จะเกิดที่กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ  ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ แต่เลือดไปเลี้ยงขาไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปไม่ไหว เกิดอาการปวด และอาการปวดจะค่อยๆลดลงเมื่อเลือดเดินทางได้สะดวก

สมุนไพรที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อเข่า ขา หรือกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย

สมุนไพรคลายกล้ามเนื้อ
  1.  เถาเอ็นอ่อน ถือเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออันดับต้นๆ ที่ใช้รักษาและบรรเทาอาการปวดเมื่อยกันมาตั้งแต่โบราณ ช่วยคลายอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ขัดยอก บำรุงเส้นเอ็นได้ดีมาก ส่วนใหญ่จะเอาเถามาต้มกิน 
  2. โคคลาน มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ บรรเทาอาการเส้นตึง ครั่นตัว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ รวมทั้งยังช่วยบำรุงเลือด แก้กระษัย แก้โรคผิวหนัง 
  3. ดีปลี นอกจากดีปลีจะเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้เส้นเอ็นได้แล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่นแก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต 
  4. โด่ไม่รู้ล้ม ช่วยแก้อาการปวดบวม คลายเส้น บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือแก้อาหารปวดหลัง ปวดเอวได้เป็นอย่างดี 
  5. หญ้าหนวดแมว มีสรรพคุณบรรเทาอาการความดันโลหิตและโรคเบาหวาน และยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย หรือรักษาโรคปวดข้อ ไขข้ออักเสบได้อีกด้วย 
  6. ทองพันชั่ง สามารถใช้รักษาไขข้ออักเสบ ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด และแก้อาการอักเสบ บำรุงร่างกาย
  7. ไพล ใช้เป็นยาช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม หรือข้อเท้าแพลง ช่วยลดอาการอักเสบ ปวดบวม เส้นตึง เมื่อยขบ รวมถึงเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกายด้วย 
  8. กลิ้งกลางดง หรือเรียกว่าสบู่เลือด หรือกระท่อมเลือดก็ได้ นอกจากเป็นสมุนไพรช่วยบำรุงกำลังแล้ว ยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ด้วย 
  9. กวาวเครือแดง ช่วยทั้งบำรุงกระดูกและฟัน ลดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
  10. เถาเมื่อย ตามตำรายาไทยเป็นสมุนไพรที่ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน และหากนำมาผสมกับเถาเอ็นอ่อนต้มน้ำใช้ดื่มจะใช้เป็นยาแก้เมื่อยที่ดียิ่งขึ้น 
  11. เสม็ดแดง จัดเป็นสมุนไพรที่คนมักนิยมใช้ใบสดมาตำแล้วพอกบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ และอาการปวดบวมได้ดีมากสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแต่ละชนิดที่เรานำมาบอกเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายนั้น บางชนิดหลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อเลย แต่เรารับรองว่าทุกชนิดสามารถทำให้ร่างกายกลับมากระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง มีพลังที่จะใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติโดยไม่รู้สึกปวดเมื่อยอีก และปัจจุบันก็มีผู้ผลิตยาสมุนไพรนำมาแปรรูปเป็นยาแคปซูลให้เราได้ใช้กันง่ายขึ้นด้วยละ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

“ยาแก้ปวดเข่า” ต่างๆ ที่คุณควรทราบ

ยาแก้ปวดเข่า คือ

อาการปวดข้อเป็นอาการของโรคข้อซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อใหญ่ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวมากหรือข้อที่รับน้ำหนักมาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า  โรคนี้เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่บุปลายกระดูกข้อ เป็นเหตุให้ผิวของกระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพจากผิวเรียบมัน กลายเป็นผิวขรุขระ เป็นผลให้การเคลื่อนไหวของข้อมีการติดขัดและเสียไป การเสื่อมจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา ไม่มีทางกลับคืนเป็นปกติเหมือนเดิม และยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเพียงการใช้ยาแก้ปวด และปรับพฤติกรรมเพื่อชะลอการเสื่อมของข้อ

ยาแก้ปวดที่ใช้ได้แก่ แอสไพริน พาราเซตามอล และยากลุ่มที่มีฤทธิ์แก้ปวดแก้อักเสบซึ่งเรียกว่าเป็นกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), ไดโคลฟีแนค (diclofenac), เซเลคอกซิบ (celecoxib) ยาเหล่านี้ต้องรับประทานหลังอาหารทันที เพราะยามีฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น  โอมีพราโซล (omeprazole), แพนโตพราโซล (pantoprazole), ราบีพราโซล (rabeprazole) ร่วมไปด้วยเพื่อเป็นการป้องกันฤทธิ์ระคายกระเพาะอาหารที่ไม่พึงประสงค์ ยาที่ใช้ป้องกันนี้ต้องกลืนทั้งเม็ดขณะท้องว่าง นั่นคือต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30นาที ถึง 1 ชั่วโมง และรับประทานยาแก้ปวดแก้อักเสบหลังอาหารทันที

ปัจจุบันมียาที่มีฤทธิ์คล้ายเป็นอาหารสำหรับกระดูกอ่อน คือ กลูโคซามีน (glucosamine) ยานี้มีทั้งที่เป็นผงละลายน้ำก่อนดื่ม และที่เป็นแคปซูล ต้องรับประทานยานี้ตอนท้องว่าง และเป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีจึงจะเห็นผล คือจะมีอาการปวดข้อน้อยลง ผู้ที่แพ้อาหารทะเลต้องระวังการใช้กลูโคซามีนเพราะอาจเกิดอาการแพ้กลูโคซามีนได้

นอกจากยาแก้ปวดแล้ว ผู้ป่วยควรลดน้ำหนัก เพราะการมีน้ำหนักมากเกิน ข้อจะต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และมีผลทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ การนั่งท่ายอง การคุกเข่า การวิ่งจ๊อกกิ้ง การยกของหนัก อย่างไรก็ตามควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการออกกำลังกายที่ทำได้คือ การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน การยกหรือขยับข้อเข่าหรือข้อสะโพกเป็นเวลา 20-30 นาทีทุกวัน

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมแบ่งกว้าง ๆ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาแก้ปวด และยาลดอาการปวดแบบออกฤทธิ์ช้า

ยาข้อเข่า

1. กลุ่มยาแก้ปวด

 ยากลุ่มนี้จะช่วยลดอาการปวด แต่เป็นการลดปวดชนิดที่ไม่ได้ช่วยซ่อมแซมโครงสร้างของข้อ ควรใช้เพียงแค่บางครั้งคราวเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน ปวดข้อเท้าพลิก รักษาอาการปวดได้ แต่ไม่ได้ชะลอการเสื่อมของข้อ

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่

  • ยาพาราเซตามอล ลดอาการปวดได้ แต่ได้เฉพาะอาการที่ไม่รุนแรงโดยทั่วไป เป็นยาที่ไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และไม่มีผลต่อการทำงานของไต ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 กรัม
  • ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซ็น ยาไดโคลฟีแนค ทำให้ลดอาการบวม ลดอาการปวดและขัด ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีในการลดอาการปวดและการอักเสบ ควรกินในช่วงที่มีอาการมาก เช่น ข้อบวมอักเสบ แต่ไม่ควรกินติดต่อในระยะยาวเพราะจะมีผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีผลต่อการทำงานของตับและไต ทำให้เลือดออกง่าย และอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ ดังนั้นควรใช้ยาประเภทนี้เฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น
  • ยาลดอาการปวดที่เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน จะใช้เฉพาะในรายที่มีอาการปวดมากเท่านั้น ยาในกลุ่มนี้ทำให้ง่วงซึมและคลื่นไส้ได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการติดยาอีกด้วย ยาประเภทนี้คนอยู่ในการควบคุมของแพทย์
  • ยานวดเฉพาะที่ เช่น ยานวดที่เป็นยากลุ่มต้านการอักเสบ ยาที่สกัดจากพริกไทย เป็นต้น ช่วยลดอาการปวดได้เฉพาะที่ในระยะสั้น แต่อาจจะทำให้มีการแสบร้อนหรือระคายเคืองผิวหนังได้
  • การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าข้อในระยะที่ข้ออักเสบมาก ๆ โดยเฉพาะข้อเข่า เมื่อมีการอักเสบมากๆ ภายในข้อจะมีน้ำอักเสบจำนวนมากตามไปด้วย ทำให้ปวดขัดและตึงในข้อ แพทย์จึงจำเป็นต้องดูดน้ำอักเสบเหล่านี้ออกจากข้อ และฉีด สเตียรอยด์เข้าข้อเพื่อระงับอาการอักเสบและลดความเจ็บปวด

2. ยาลดอาการปวดแบบออกฤทธิ์ช้า

ในทางการแพทย์เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า SYSADOA (symptomatic slow-acting drugh for osteoarthritis) ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการอักเสบในข้อ รวมถึงบางตัวมีข้อมูลว่า มีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อน หรือกระตุ้นการซ่อมแซมกระดูกอ่อนส่วนที่เสื่อมได้ ปัญหาการใช้ยากลุ่มนี้คือ ราคายาค่อนข้างแพง และต้องใช้ระยะยาวราว 3- 6 สัปดาห์กว่าจะออกฤทธิ์ และไม่ใช่ยาแก้ปวดโดยตรง จึงนำไปใช้รักษาอาการปวดอย่างอื่นไม่ได้

นอกจากนี้ผลการรักษายังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เช่น ยังมีปัญหาว่าการศึกษาที่ทำแล้วพบว่ายาได้ผลดีนั้นได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตยานั้นๆ แต่หากเป็นการศึกษาที่ทำโดยบริษัทอื่นอื่นๆ ยาชนิดนั้นกลับไม่ได้ผลดี นั่นจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงสาเหตุของผลการศึกษาที่แตกต่างว่าเป็นที่ “ตัวยา” หรือเป็นที่ “งานวิจัย” ที่ให้ผลการศึกษาแตกต่างกัน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในระยะยาว

ยาในกลุ่มนี้มีทั้งรูปแบบฉีดและกิน

  • กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate)เชื่อว่ามีผลกระตุ้นกระดูกอ่อนให้สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน พบว่ายาชนิดนี้มีใช้กันมากในประเทศแถบยุโรป แต่ทางสหรัฐอเมริกายังถือเป็นกลุ่มอาหารเสริม รายงานการศึกษาว่า หลังผู้ป่วยได้รับยาชนิดนี้เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ในขนาดวันละ 1,500 มิลลิกรัม เมื่อติดตามผลทางภาพเอกซเรย์พบว่ากระดูกอ่อนไม่บางลง แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากอาจต้องระวังการใช้ยาชนิดนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีการทดลองฉีดกลูโคซามีนขนาดสูงเข้าหลอดเลือดในสัตว์ทดลอง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ แต่ยังไม่พบรายการว่าเกิดจากการกินยาชนิดนี้ ส่วนผู้ที่แพ้อาหารทะเลอาจแพ้ยากลุ่มนี้ได้ เพราะผลิตจาก ไคติน (chitin)ที่ได้จากเปลือกปูและหอยนางรม
  • คอนดรอยติน (Chondroitin)บางครั้งผสมมากับกลูโคซามีนในลักษณะของอาหารเสริม มีแหล่งผลิตแตกต่างกันไป ทำให้ผลการรักษาต่างกันได้ ข้อพึงระวังคือ คอนดรอยตินมีลักษณะโมเลกุลคล้ายเฮปาริน (heparin) จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ใช้แอสไพริน เพราะอาจมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ปัญหาเลือดหยุดยากได้ บางครั้งคอนดรอยตินก็ผลิตจากเนื้อวัว จึงอาจมีปัญหากับผู้ที่เคร่งครัดกับหลักศาสนาบางศาสนาได้ ข้อเสียของยากลุ่มนี้คือ ต้องกินเป็นเวลานานและราคาสูง
  • ยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพื่อฟื้นฟูและบำรุงข้อ ถือเป็นวิวัฒนาการการรักษาชนิดใหม่ของข้อเข่าเสื่อม ด้วยการฉีดสารที่มีโมเลกุล มีความหนักและมีความเหนียวใกล้เคียงสารน้ำหล่อลื่นในเข่า เข้าไปในเข่าเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในเขาที่เสื่อม เพราะในข้อที่เสื่อมนั้นน้ำเลี้ยงข้อเข่ามักจะเสื่อมสภาพด้วย การเติมสารเหล่านี้เข้าไปจะช่วยหล่อเลี้ยงข้อเข่าให้เคลื่อนไหวดีขึ้นได้ ผู้ป่วยบางคนที่มาให้หมอดูแลมักเรียกวิธีการนี้ว่า “ฉีดจาระบีเข้าเข่า”การใช้ยาชนิดนี้อาจชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าออกไปได้

ปัจจุบันผลการรักษายังไม่ชัดเจน โดยบางการศึกษาก็บอกว่าช่วยลดอาการปวดได้มากกว่ายาหลอก บางการศึกษาบอกว่าไม่ได้ลดอาการปวดมากกว่าอย่าหลอก แต่ไม่มีการศึกษาใด ๆ เลยที่บอกว่าสามารถชะลอการเสื่อมของข้อได้จริง

อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้ว่า เครื่องรถยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้ว ถ้าจะใช้น้ำมันเครื่องวิเศษอย่างไร ผิวของเครื่องยนต์ก็ยังอยู่ในสภาพเดิม หมอจึงอยากให้ใช้ความระมัดระวังในการรักษา และหยุดคิดสักนิดว่า ของแพงหรือของใหม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป

ปัจจุบันน้ำเลี้ยงข้อเทียมที่มีขายในเมืองไทยมีหลายชนิด แต่ราคาค่อนข้างสูงถึงสูงมาก ถ้าเป็นชนิดดีๆ ราคาอาจสูงถึงเข็มละ 4,000 – 6,000 บาท และต้องฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมสัปดาห์ละครั้ง การฉีดจำนวน 3 – 5 ครั้งจะบรรเทาอาการได้ประมาณ 6 – 12 เดือน ถ้าในช่วงนี้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเต็มที่ เช่น บริหารสร้างความเข้มแข็งให้กล้ามเนื้อรอบรอบ ๆ ข้อ ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงที่กดลงไปยังข้อ ผู้ป่วยบางรายที่ฟื้นฟูสภาพเขาได้ การรักษาวิธีนี้ก็จะคุ้มค่ามาก เพราะอาการต่าง ๆ ดีขึ้นจนไม่จำเป็นต้องฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมอีก

  • ยาอื่น ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคข้อเสื่อม ได้แก่ ยาไดอาเซอรีน (Diacerein) สารสกัดจากผลอะโวคาโดและถั่วเหลือง (Avocado / Soybean Unsaponifiable)

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี

Posted on Leave a comment

คุณควรรรู้ ปัจจัยที่ทำให้ปวดข้อเข่า

ปวดเข่า ทำไง

อาการปวดข้อสามารถมีผลต่อบริเวณต่างๆ มากมายของร่างกาย เช่น นิ้วมือ ข้อมือ นิ้วเท้า หรือเข่า และมักจะมีอาการขยับข้อได้ไม่เต็มที่ (ฝืดข้อ) กดเจ็บ และบวม อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม (ข้ออักเสบชนิดที่พบบ่อยที่สุด) อาจจะมีอาการอักเสบของข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าร่วมอยู่ด้วย และเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน 
ยกตัวอย่างเช่น ในโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อน (เนื้อเยื่อลักษณะเหมือนฟองน้ำที่หุ้มข้อ) ถูกทำลาย และความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองลดลง ทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อนั้นสึกและบางลงตามกาลเวลา การเสียดสีของกระดูกที่ถูกเปิดออกทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการปวด และกระดูกจะงอกเข้าไปในข้อ ทำให้ข้อฝืด และเคลื่อนไหวลำบาก 
ประเภทของข้อต่อที่มักจะได้รับผลกระทบจากอาการปวด คือ ข้อต่อบริเวณกระดูกก้นกบกับกระดูกเชิงกราน เข่า สะโพก และหัวไหล่ ข้อต่อกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน จะอยู่ตรงบริเวณระหว่างกระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกเชิงกราน จะอยู่ต่ำกว่ากระดูกสันหลังส่วนเอว และอยู่เหนือกระดูกก้นกบ ซึ่งรองรับน้ำหนัก ของร่างกายส่วนบนทั้งหมดไปยังเชิงกราน สะโพก และขา อาการปวดข้อสะโพกสามารถเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และสั้น (เฉียบพลัน) หรือเรื่อยๆ และยาวนาน (เรื้อรัง) อาการปวดข้อไหล่ค่อนข้างที่จะรุนแรงน้อยกว่า (ปวดจี๊ดน้อยกว่า) และเป็นการปวดจากอาการอักเสบ หรืออาการเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ และความตึงของกล้ามเนื้อระหว่างคอ และไหล่ ในบรรดาข้อต่อทั้งหมด ข้อเข่าน่าจะเป็นข้อที่พบว่าสึกหรอบ่อยที่สุด และมีอาการปวดได้ง่ายที่สุด

ปวดข้อเข่า ทำไง

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ปวดข้อเข่า

สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดข้ออาจเกิดจาก ข้อเสื่อม แพลง หรือร้าวจากการได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดอาการปวดข้อได้แก่ ข้อต่อที่สึกหรอ (เสียหาย / แตกหัก) มาจากการบาดเจ็บ หรือจากการผ่าตัด ความบกพร่องทางพันธุกรรม โครงสร้างทางกายวิภาคของข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ และโรคอ้วน เนื่องจากข้อต่อต้องแบกรับแรงกระแทกจากน้ำหนักส่วนเกิน

  1. อายุที่มากขึ้น
  2. น้ำหนักตัวมาก เช่น เป็นโรคอ้วน
  3. การใช้งานข้อเข่าที่มาก และเกิดอาการเจ็บเข่า
  4. ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด
  5. ประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า
  6. โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์ 
  7. เพศ จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
  8. พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น มักจะมีลักษณะที่มีความเสื่อมของข้อทั่วตัวเช่น มือ นิ้ว กระดูกสันหลัง เข่า เป็นต้น

ข้อต่ออาจจะกลายเป็นตะปุ่มตะป่ำบริเวณรอบๆ กระดูก ก่อตัวขึ้นเป็นปุ่มกระดูกที่เรียกว่า osteophytes (กระดูกงอก)เมื่อกระดูกหนาขึ้น และขยายมากขึ้น ข้อต่อจะมีอาการฝืด เจ็บปวด และขยับลำบาก นอกจากนี้ยังอาจเกิดการสะสมของของเหลวในข้อต่อเนื่องจากการอักเสบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการบวม ระดับของอาการปวดข้ออาจจะแตกต่างกันไปได้ตั้งแต่ ไม่บ่อยนัก ถึงขั้นรุนแรงและยากที่จะจัดการ

อาการยังสามารถรวมถึงความรู้สึกชาเฉียบพลัน หรือปวดเสียวคล้ายเข็มทิ่ม (ยิบๆ ซ่าๆ) เป็นไข้ เคลื่อนไหวได้น้อยลง และอาการฝืดในข้อที่ได้รับผลกระทบ อาการอื่นๆ ของอาการปวดข้ออาจจะเป็นอาการข้อติด และขาดความลื่น คือการที่ข้อติดอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือคุณรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ในข้อขณะที่กำลังทำท่าบางท่าอยู่

ปวดข้อเข่าทำให้เกิดเข่าเสื่อมได้ และสามารถเกิดได้กับคนอายุน้อย

ข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และอาการเจ็บเข่า  สามารถเกิดได้ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่ามาก่อนส่งผลให้แนวแกนรับน้ำหนักข้อเข่าผิดปกติไป มีกระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บ และเกิดอาการ เจ็บเข่า มีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคกระดูกตายบริเวณข้อเข่า (osteonecrosis) ซึ่งส่งผลต่อมาทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี