Posted on Leave a comment

“อาหารเสริมข้อเข่า” ที่ควรทานสำหรับผู้ป่วยข้อเข่า

อาหารเสริมข้อเข่า

หากเกิดโรคเกี่ยวกับข้อเข่าแล้ว มันเป็นอาการป่วยเรื้อรังที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากการรักษาโดยแพทย์ ผู้ป่วยอาจเลือกรับประทานอาหารบางชนิด เพื่อบำรุงร่างกายและบรรเทาอาการต่าง ๆ จากข้อเข่าเสื่อม เช่น อาการปวด บวม อักเสบ และข้อต่อกระดูกติดขัด รวมทั้งอาจหลีกเลี่ยงอาหารในกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้อาการทรุดหนักลง ซึ่งสามารถศึกษาได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้

อาหารบรรเทาอาการโรคข้อเข่า

แม้อาหารจะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการใด ๆ โดยตรง แต่อาหารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีบรรเทาอาการต่าง ๆ ของข้อเข่า เพราะผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารนานาชนิดที่ส่งผลดีต่อร่างกายจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยสารอาหารเหล่านั้นอาจช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดการอักเสบ และช่วยเสริมสร้างข้อกระดูกให้แข็งแรงได้

โดยสารอาหารและตัวอย่างอาหารที่อาจช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม ได้แก่

  1. วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงเอ็นข้อต่อ ผู้ป่วยข้ออักเสบควรบริโภควิตามินซีประมาณ 90 มิลลิกรัม/วันในเพศชาย และประมาณ 75 มิลลิกรัม/วันในเพศหญิง ตัวอย่างอาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้ม สับปะรด ฝรั่ง บรอกโคลี มะเขือเทศ มะละกอสุก กะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ เป็นต้น
  2. วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างความแข็งแรงขอๆงกระดูก ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้ทางผิวหนังจากการรับแสงแดด โดยควรรับแสงแดดอ่อน ๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดจ้า หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ สามารถรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูงได้จากอาหารจำพวกนม ไข่ ปลาซาดีน และอาหารทะเล
  3. สารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) เช่น เควอซิทิน (Quercetin) และแอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบคล้ายยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน โดยอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ได้แก่ เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ
  4. เบตาแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยขจัดสารอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนทำลายข้อต่อกระดูกต่าง ๆ โดยอาหารที่มีเบตาแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอท แคนตาลูป ใบสะระแหน่ ผักปวยเล้ง และหน่อไม้ฝรั่ง  
  5. กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้อต่อกระดูก และลดอาการข้อติดขัดในตอนเช้า โดยอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน
  6. คอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type II) หรือคอลลาเจนชนิดที่ 2 คือ โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน ซึ่งปัจจุบันมีการสกัดคอลลาเจนจากกระดูกอ่อนอกไก่เพื่อนำมาใช้รักษาอาการปวดข้อต่อที่เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ โดยอาจมีกลไกที่ช่วยต้านอาการปวดและบวมจากการอักเสบ ทั้งนี้ ยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรับประทานคอลลาเจนที่สกัดมาจากกระดูกอ่อนของอกไก่ อย่างคอลลาเจนไทพ์ทู ลิขสิทธิ์ยูซีทู (UC–II) พบว่าดังกล่าวช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการข้อยึดติดได้ โดยมีประสิทธิภาพทางการรักษามากกว่ากลูโคซามีนและคอนดรอยตินทั่วไปเมื่อบริโภคในระยะเวลาที่เท่ากัน
  7. สมุนไพรและเครื่องเทศบางชนิด เช่น ขิงและขมิ้น อาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและช่วยลดอาการปวดหรืออาการติดขัดบริเวณข้อต่อกระดูก แต่ขิงอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาวาร์ฟาริน หรืออาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย และแสบร้อนกลางอกได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคเสมอ
  8. น้ำมันมะกอก อาจนำมาใช้ทดแทนไขมันชนิดอื่น ๆ เช่น น้ำมันจากเนย เพราะน้ำมันมะกอกปริมาณ 3½ ช้อนโต๊ะ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ใกล้เคียงกับยาไอบูโพรเฟน 200 มิลลิกรัม หรือยาในกลุ่ม NSAIDs ได้ แต่ขณะเดียวกัน น้ำมันชนิดนี้ก็ให้พลังงานสูงถึง 400 แคลอรี่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวได้ ผู้ป่วยจึงควรบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่พอดี
  9. โยเกิร์ต ของหวานยอดฮิตในหมู่สาว ๆ คงหนีไม่พ้นโยเกิร์ต เพราะไม่เพียงแต่มีรสชาติอร่อยถูกปากเท่านั้น แต่การทานโยเกิร์ตสามารถช่วยป้องกันการเกิด โรคกระดูกเสื่อม ได้อีกด้วย เนื่องจากในโยเกิร์ตอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น วิตามินบี2 วิตามินบี12 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสซียม วิตามินดี ธาตุแมกนีเซียม เป็นต้น อย่างไรก็ดีผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก ดังนั้นผู้หญิงวัยดังกล่าวควรทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมสูง ซึ่งการทานโยเกิร์ตสามารถตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว
  10. ผักตระกูลกะหล่ำ ผักในตระกูลกะหล่ำอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินบี6 โฟเลต ธาตุเหล็ก ธาตุแมงกานีส และธาตุที่จำเป็นต่อการ เสริมสร้างมวลกระดูก ให้แข็งแรงอย่างแมกนีเซียม ฟอสฟอรัสและแคลเซียม อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมที่ช่วยลดความดันโลหิตเช่นกัน
  11. กล้วย กล้วยเป็นหนึ่งในอาหารที่สามารถช่วยป้องกันการเกิด โรคกระดูกเสื่อมข้อเข่าเสื่อม ได้ ซึ่งการทานกล้วยเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง โดยกล้วยอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม และธาตุแมกนีเซียม ซึ่งช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของโครงสร้างกระดูก อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจ และ หลอดเลือดตีบตัน
  12. ถั่วฝัก ถั่วฝักไม่เพียงแต่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารต่อต้านอนุมูลอิสระเท่านั้น แต่ยังมีวิตามินดีและธาตุแคลเซียมสูงอีกด้วย โดยเฉพาะถั่วเลนทิลที่ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดถั่วที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกเสื่อมได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ถั่วยังเป็นแหล่งของโฟเลตซึ่งนอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของเม็ดเลือดแดงแล้ว ก็ยังมีส่วนช่วยในการ บำรุงรักษากระดูก อีกด้วย
  13. ถั่วอัลมอนด์ ถั่วที่นิยมนำมาเป็นส่วนหนึ่งของขนมหวานอย่าง ถั่วอัลมอนด์ ถูกจัดว่าเป็นแหล่งของแมงกานีส วิตามินอี ไบโอติน คอปเปอร์และไบโอฟลาวิน ซึ่งสารอาหารดังกล่าวมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมวลของกระดูกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ถั่วอัลมอนด์จึงมักถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูอาหารในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
  14. ถั่วงอก คุณทราบหรือไม่ว่าถั่วงอกมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพคุณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ ไทอามีน คอปเปอร์ เหล็ก แมงกานีส ฟอสฟอรัส วิตามินดี ฯลฯ ซึ่งนอกจากจะช่วย ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม แถมยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจอีกด้วย

จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่า อาหารบางชนิดมีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิด โรคกระดูกพรุน ดังนั้นหากไม่อยากให้โรคดังกล่าวถามหา คุณก็ควรหมั่นทานอาหารตามที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือจะลองหาพวก อาหารเสริมบำรุงกระดูก มารับประทานลดความเสี่ยง เพียงเท่านี้โอกาสที่คุณจะเป็นโรคกระดูกพรุนต้องลดลงอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยต้องการบริโภคสารอาหารบางอย่างในรูปแบบอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพราะการบริโภคในปริมาณหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้เมื่อใช้ร่วมกับยาบางชนิด หรือเมื่อผู้ป่วยกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อยู่

โรคเกี่ยวกับข้อเข่ากับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

แม้การเลือกบริโภคอาหารบางชนิดอาจช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมได้ แต่ยังมีอาหารชนิดอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะอาจส่งผลให้อาการกำเริบขึ้นได้ ซึ่งอาหารต้องห้ามดังกล่าว ได้แก่

  1. เกลือ หากบริโภคเกลือในปริมาณมาก จะทำให้เซลล์เก็บน้ำไว้มากเกินไปจนร่างกายบวมน้ำ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรลดการใช้เกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
  2. น้ำตาล อาจกระทบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งทำให้การอักเสบทวีความรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก คุกกี้ หรือขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ
  3. แป้งขัดขาว อาจกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย และทำให้อาการปวดข้อต่อกระดูกรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำจากแป้งขัดขาว เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ซีเรียล ธัญพืชต่าง ๆ ที่ขัดขาว
  4. อาหารทอด เช่น เฟรนช์ฟราย โดนัท เพราะมีไขมันอิ่มตัวปริมาณมาก ซึ่งอาจเพิ่มการอักเสบภายในร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงควรเลือกบริโภคอาหารอบแทนอาหารที่ใช้น้ำมันทอด
  5. เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูง เพราะการปรุงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย และอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งสาร AGEs มักอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยการย่าง ปิ้ง หรือทอด ที่ใช้อุณหภูมิสูง
  6. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะอาจกระตุ้นอาการต่าง ๆ ให้รุนแรงขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อใช้ร่วมกับยาหรือการรักษาอื่น ๆ ของโรคข้ออักเสบ

arukouthailand ผลิตภัณฑ์ซัพพอร์ตเข่า คุณสามารถปรึกษาเกี่ยวกับเข่าของคุณกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี